ชายแดนเยอรมันภายใน
ชายแดนเยอรมันภายใน (เยอรมัน: Innerdeutsche Grenze ออกเสียง: [ˈɪnɐdɔʏtʃə ˈgʁɛntsə] or Deutsch-deutsche Grenze ออกเสียง: [ˈdɔʏtʃˌdɔʏtʃə ˈgʁɛntsə]; initially also Zonengrenze ออกเสียง: [ˈtsɔnənˌgʁɛntsə]) เป็นชายแดนระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี(เยอรมนีตะวันออก, GDR) และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี(เยอรมนีตะวันตก, FRG) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1990 ไม่รวมถึงกำแพงเบอร์ลินที่มีลักษณะที่คล้ายกันและแยกออกจากกัน ชายแดนมีความยาวประมาณ 1,393 กิโลเมตร(866 ไมล์) และได้ลากจากทะเลบอลติกลงมายังประเทศเชโกสโลวาเกีย
ชายแดนเยอรมันภายใน Innerdeutsche Grenze | |
---|---|
เยอรมนีเหนือและกลาง | |
ป้ายที่บ่งบอกถึงชายแดนที่ Schlagsdorfทำโดย หน่วยยามชายแดนสหพันธ์ | |
ประเภท | ระบบป้องกันชายแดน |
ความสูง | สูงถึง 4 เมตร (13 ฟุต) |
ข้อมูล | |
ควบคุมโดย | |
สภาพ | เสียหายยับเยินเป็นส่วนใหญ่, บางส่วนได้เก็บรักษาไว้เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์ |
ประวัติศาสตร์ | |
สร้าง | ค.ศ. 1952 |
สร้างโดย | เยอรมนีตะวันออก |
การใช้งาน | ค.ศ. 1952–90 |
วัสดุ | เหล็ก, คอนกรีต |
รื้อถอน | ค.ศ. 1990 |
การต่อสู้/สงคราม | สงครามเย็น |
ข้อมูลสถานี | |
กองทหารรักษาการณ์ | ตะวันออก:
ตะวันตก: |
ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม ค.ศ. 1945 เป็นเขตแดนระหว่างเขตยึดครองตะวันตกและเขตยึดครองของโซเวียตทางด้านตะวันออกของอดีตนาซีเยอรมนี ได้ถูกสร้างขึ้นให้เป็นหนึ่งในเขตแดนที่มีป้อมปราการที่แข็งแกร่งที่สุดในโลก ซึ่งถูกกำหนดโดยแนวรั้วและกำแพงเหล็กสูงที่ยาวอย่างต่อเนือง ลวดหนาม สัญญาณเตือนภัย คูน้ำต่อต้านยานพาหนะ หอสังเกตการณ์ กับดักหนามแหลมแบบอัตโนมัติและทุ่นระเบิดสนาม มันถูกลาดตะเวนโดยหน่วยทหารยามของเยอรมนีตะวันออกที่ติดอาวุธจำนวน 50,000 นาย ซึ่งต้องเผชิญหน้ากับทหารยามของเยอรมนีตะวันตก บริติช และสหรัฐจำนวนหนึ่งหมื่นนาย[1] ในบริเวณแนวหลังชายแดนแต่ละฝั่งจะมีกองกำลังทหารมากกว่าล้านนายจากองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(เนโท) และกติกาสัญญาวอร์ซอ(วอร์ซอแพ็ก) คอยประจำการณ์อยู่
ชายแดนนี้เป็นการแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ทางกายภาพของคำเปรียบเทียบของเซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล คำว่า ม่านเหล็ก ที่แบ่งแยกโซเวียตและค่ายตะวันตกในช่วงสงครามเย็น มันเป็นเขตแดนรอยต่อระหว่างระบบเศรษฐกิจสองระบบคือระบบทุนนิยมและระบบสังคมนิยม การก่อตั้งโดยเยอรมนีตะวันออกในช่วงปี ค.ศ. 1952 ถึงปลายปี ค.ศ. 1980[2] ป้อมปราการนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อหยุดยั้งการอพยพครั้งใหญ่ของพลเมืองชาวเยอรมนีตะวันออกไปยังทางตะวันตก ประมาณผู้คน 1,000 คนที่ถูกกล่าวว่าเสียชีวิตจากความพยายามที่จะข้ามมันในช่วงตลอด 45 ปีที่มีอยู่[3] เป็นสาเหตุทำให้เกิดการยุ่งเหยิงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างกว้างขวางแก่ทั้งสองฝ่าย ชาวเยอรมนีตะวันออกที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ก็ประสบกับข้อจำกัดที่เข้มงวดมาก[4]
กำแพงเบอร์ลินที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือกำแพงกั้นที่แยกออกจาก มีความซับซ้อนที่น้อยกว่า และปิดกั้นพรมแดนที่สั้นกว่าโดยล้อมรอบเบอร์ลินตะวันตก มีความยาวมากกว่า 155 กิโลเมตร(96 ไมล์) ถึงทางด้านตะวันออกของชายแดนเยอรมันภายใน เบอร์ลินซึ่งอยู่ในเขตโซเวียตทั้งหมดได้ถูกแบ่งแยกออกเป็นสี่ส่วนด้วยกันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดังนั้นการสร้างดินแดนส่วนแยกล้อมรอบโดยเยอรมนีตะวันออกที่มีความแนวราบอย่างใกล้ชิดกับ(แต่ไม่เป็นส่วนหนึ่งของ)เยอรมนีตะวันตก
เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้ประกาศให้ทำการเปิดกำแพงเบอร์ลินและชายแดนเยอรมันภายใน ในวันต่อมา ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนล้านคนได้หลั่งไหลเข้าสู่ตะวันตกเพื่อเป็นการหาสู่กัน หลายแสนคนได้ย้ายไปทางตะวันตกอย่างถาวรในอีกหลายเดือนต่อมา เมื่อมีการเปิดให้ข้ามมากขึ้นและความสัมพันธ์ระหว่างชุทขรที่ถูกแบ่งแยกเป็นแนวยาวได้ถูกจัดตั้งขึ้นอีกครั้ง เนื่องจากการควบคุมชายแดนกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย ชายแดนภายในเยอรมันยังไม่ถูกทอดทิ้งจนถึงวันที่ 1 กรกฏาคม ค.ศ. 1990[5] 45 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่วันที่ก่อตั้งขึ้นและเพียงสามเดือนก่อนที่เยอรมนีจะรวมประเทศอย่างเป็นทางการซึ่งเป็นการสิ้นสุดของการแบ่งแยกเยอรมนี
ซากเล็กๆของป้อมปราการชายแดนเยอรมันภายใน เส้นทางของมันได้ถูกประกาศว่าเป็นส่วนหนึ่งของแนวสีเขียวยุโรป(European Green Belt)ที่เชื่อมโยงถึงอุทยานแห่งชาติและเขตอนุรักษ์ธรรมชาติตามแนวม่านเหล็กเก่าจากวงกลมอาร์กติกถึงทะเลดำ พิพิธภัณฑ์และอนุสรณ์สถานหลายแห่งตามแนวชายแดนเก่าเพื่อระลึกถึงการแบ่งและรวมประเทศเยอรมนี และในบางสถานที่ยังคงรักษาส่วนที่เหลือของป้อมปราการไว้[6]
เขตการปกครองที่ติดพรมแดน
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Faringdon (1986), pp. 282–84.
- ↑ Faringdon (1986), p. 284.
- ↑ McDougall (2004), p. 40.
- ↑ Czuczka (2000-01-13).
- ↑ The Record (1990-07-02).
- ↑ Cramer (2008), pp. 8–9.