ยับ-ยุม เป็นคำทิเบตแปลว่า พ่อ-แม่ เป็นพุทธศิลป์เชิงสัญลักษณ์พบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย ภูฏาน เนปาล และทิเบต มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปหรือโพธิสัตว์ในสัมโภคกายหรือกายทิพย์ กอดรัดหรือสังวาสกับเทวสตรีซึ่งเป็นชายาของพระองค์บนตัก ตามคติลัทธิตันตระ[1] โดยพระโพธิสัตว์เป็นสัญลักษณ์ของความกรุณา กับพระชายาเป็นปัญญา อุปมาว่ากรุณาคือแขนขา ปัญญาคือดวงตา หากขาดไปสิ่งหนึ่งก็ยากที่จะตรัสรู้ได้[2] มีน้อยครั้งที่จะพบพระพุทธรูปหรือพระโพธิสัตว์นั่งอยู่บนตักของเทวสตรี อย่างนี้เรียกว่า "ยุม-ยับ"[3] การรวมกันของสองเพศเป็นสาธนาหรือหนทางแห่งการหยั่งรู้ในตนอย่างหนึ่งของศาสนาพุทธแบบตันตระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทิเบต การรวมกันระหว่างสองเพศนี้ถือเป็นประสบการณ์ลึกลับอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของตนเอง[4]

พระสมันตภัทระกับพระสมันตภัทรีชายา

ยับ-ยุมเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับอนุตตรโยคะตันตระ บ้างว่าเป็นสนธยาภาษา ตีความว่าบุรุษเพศเชื่อมโยงกับความกรุณาและอุปายะเกาศัลยะ ส่วนอิตถีเพศที่เป็นพระชายาเปรียบดั่งปรัชญา[5]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (26 ตุลาคม 2560). "บางแง่มุมเกี่ยวกับพระคเณศ (อีกเถอะ) : พระคเณศเพศหญิง". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "นัยของพระพุทธรูปปาง "ยับยุม"". สถาพรบุ๊คส์. 12 พฤษภาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Simmer-Brown, J. (2002). Dakini's Warm Breath: The Feminine Principle in Tibetan Buddhism. Shambhala. p. 159. ISBN 978-0-8348-2842-1. สืบค้นเมื่อ 18 January 2020.
  4. Herrmann-Pfandt, Adelheid. "Yab Yum Iconography and the Role of Women in Tibetan Tantric Buddhism." The Tibet Journal. Vol. XXII, No. 1. Spring 1997, pp. 12-34.
  5. Keown, Damien. (2003). A Dictionary of Buddhism, p. 338. Oxford University Press. ISBN 0-19-860560-9.