การยอมจำนน
(เปลี่ยนทางจาก ยอมจำนน)
การยอมจำนน เป็นการกระทำที่ทหาร ชาติ หรือผู้เข้าร่วมสงครามอื่น ๆ ยุติการต่อสู้ และยอมถูกจับเป็นเชลย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจด้วยตัวเองหรือได้รับคำสั่งจากนายทหารที่มียศสูง กว่า สัญลักษณ์ทั่วไปสำหรับการยอมจำนน คือ ธงขาว โดยการชูมือขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่มีอาวุธ
เมื่อ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยอมจำนน ทั้งสองฝ่ายอาจตกลงให้การยอมจำนนนั้นมีเงื่อนไข เช่น ฝ่ายหนึ่งจะยอมจำนนก็ต่อเมื่อผู้ชนะยอมทำตามสัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในขณะที่การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไข เป็นการบ่งชี้ว่า ฝ่ายที่ชนะจะปฏิบัติต่อฝ่ายที่แพ้นอกเหนือจากสัญญาใด ๆ ยกเว้นกฎแห่งสงครามเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับรองจากอนุสัญญาเฮก (1907) และอนุสัญญาเจนีวา
รายชื่อการยอมจำนน
แก้- การยอมจำนนของญี่ปุ่น
- ตราสารยอมจำนนของญี่ปุ่น
- พิธียอมจำนนของสงครามโลกครั้งที่สองในเขตสงครามจีน
- การสงบศึกกัสซีบีเล
- ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี
- การยอมจำนนของเยอรมนีที่ลุนบวร์คฮีธ
- การยอมจำนนที่เปเรโวโลชนา
- การยอมจำนนที่แคมป์รีลีส
- ตราสารยอมจำนนของปากีสถาน
- การยอมจำนนของอาร์เจนตินาในสงครามฟอล์กแลนด์
- กรณีทาเคนากะ
- สนธิสัญญามิตรภาพและพันธมิตร
- สนธิสัญญาชาติวา
- ยุทธการที่เอเดรียโนเปิล (ค.ศ. 1829)
- การยอมจำนนที่สเตตติน
รูปภาพ
แก้-
ไคเทิลลงนามในตราสารยอมจำนนกองทัพเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน
-
การยอมจำนนของทหารสหราชอาณาจักรต่อหน่วยทหารญี่ปุ่นในยุทธการที่สิงคโปร์
-
ผู้แทนจากจักรวรรดิญี่ปุ่นในพิธียอมจำนน บนเรือรบยูเอสเอส มิสซูรี (BB-63)
-
การสงบศึกกัสซีบีเล ระหว่างอิตาลีกับฝ่ายอังกฤษ-อเมริกัน ค.ศ. 1943
-
Lt. Gen. A. A. K. Niazi ลงนามตราสารยอมจำนนของปากีสถานในธากา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1971 หลังจากชัยชนะของอินเดียในสงครามอินเดีย-ปากีสถาน ค.ศ. 1971
-
นายพลอัลเฟรด โยเดิลลงนามยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขในเมืองแรมส์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945
-
การยอมจำนนของนายพลโรเบิร์ต อี. ลีในสงครามกลางเมืองอเมริกา
-
การยอมจำนนของทหารญี่ปุ่นต่อหน่วยทหารออสเตรเลียในกรณีทาเคนากะ
-
การยอมจำนนของฝรั่งเศสต่อสหราชอาณาจักรที่มอนทรีออล