ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี

ตราสารยอมจำนนของเยอรมนี เป็นเอกสารทางกฎหมายที่ส่งผลให้เกิดการวางอาวุธโดยไร้เงื่อนไขของแวร์มัคท์ ถือเป็นจุดสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ตราสารดังกล่าวลงนามที่กรุงเบอร์ลินในเวลา 21.20 น. ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ระหว่างผู้แทนสามเหล่าทัพของกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ (OKW), ผู้แทนกำลังรบต่างแดนสัมพันธมิตร และผู้แทนกองบัญชาการสูงสุดกองทัพแดง โดยมีสหรัฐและฝรั่งเศสเป็นสักขีพยาน ตราสารยอมจำนนดังกล่าวมีสามภาษา แต่เฉพาะฉบับภาษาอังกฤษและภาษารัสเซียที่มีอำนาจใช้บังคับ

ตราสารยอมจำนนฉบับที่ลงนามในแรมส์ ฉบับนี้ถือเป็นฉบับที่ไม่สมบูรณ์

วันที่ 8 พฤษภาคม ถือเป็นวันแห่งชัยชนะในทวีปยุโรปในชาติตะวันตก แต่โซเวียตเลือกเฉลิมฉลองในวันที่ 9 พฤษภาคม วันดังกล่าวในเยอรมนีเป็นที่รู้จักกันว่าวันแห่งการยอมจำนน[1]

เบื้องหลัง แก้

การร่างข้อความในตราสารยอมจำนนเริ่มขึ้นโดยผู้แทนสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และสหราชอาณาจักรที่คณะกรรมการที่ปรึกษายุโรป (EAC) ตลอดปี ค.ศ. 1944 และเมื่อวันที่ 3 มกราคม ปีเดียวกัน คณะกรรมการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงของ EAC ได้เสนอให้การยอมจำนนของเยอรมนีควรจะบันทึกในเอกสารยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขเพียงฉบับเดียว[2]

คณะกรรมการเสนอต่อไปว่าตราสารยอมจำนนนั้นควรจะได้รับการลงนามโดยผู้แทนจากกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์ การพิจารณาเบื้องหลังข้อเสนอแนะดังกล่าวเพื่อเป็นการป้องกันมิให้เกิดตำนานแทงข้างหลังซ้ำอีก ซึ่งเป็นแนวคิดที่ก่อตัวขึ้นในเยอรมนีหลังจากความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นับตั้งแต่การยอมจำนนเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งได้รับการลงนามโดยผู้แทนของรัฐบาลเยอรมัน และวงการทหารในภายหลังอ้างว่ากองบัญชาการทหารสูงสุดไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบในความพ่ายแพ้ในครั้งนั้น

เงื่อนไขการยอมจำนนของเยอรมนีนั้นได้รับการอภิปรายเป็นครั้งแรกที่การประชุม EAC ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1944

วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1945 EAC ได้จัดการประชุมร่วมกับผู้แทนเชโกสโลวาเกีย เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบิร์ก นอร์เวย์ ยูโกสลาเวีย และกรีซเกี่ยวกับประเด็นของตราสารยอมจำนนนี้ รัฐบาลเช็กเสนอว่าตราสารควรจะมีข้อความซึ่งต่อต้านการได้มาซึ่งดินแดนด้วยกำลัง และกล่าวถึงความรับผิดชอบของรัฐเยอรมนีต่อสงคราม รัฐบาลเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ด้วยความกังวลถึงสถานะของตนในฐานะชาติฝ่ายสัมพันธมิตรเล็ก ๆ แนะนำว่า ตราสารยอมจำนนควรจะกล่าวยอมรับถึงการควบคุมเยอรมนีในส่วนของชาติขนาดเล็กโดยเฉพาะ รัฐบาลนอร์เวย์ต้องการให้ตราสารมีการอ้างอิงโดยเฉพาะถึงการยอมจำนนของกองทัพเยอรมันในนอร์เวย์ รัฐบาลยูโกสลาเวียประกาศเจตนาที่จะระงับการแนะนำใด ๆ จนกว่าจะมีความตกลงจากรัฐบาลสมานฉันท์ระหว่างโจซิป โบรซ ติโต และนายกรัฐมนตรีอีวาน รัฐบาลกรีกเสนอให้รวมข้อเรียกร้องให้กองทัพเยอรมันที่ยังอาจหลงเหลืออยู่ในดินแดนกรีก ณ ขณะที่มีการยอมจำนน ให้ยอมจำนนยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่รัฐบาลกรีก[3]

พิธีการยอมจำนน แก้

การยอมจำนนในแรมส์ แก้

 
นายพลอัลเฟรด โยเดิลลงนามยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขในเมืองแรมส์ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945

ตราสารยอมจำนนฉบับแรกถูกลงนามที่แรมส์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อเวลา 2.41 น. ของวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 พิธีลงนามมีขึ้นในอาคารเรียนอิฐแดงซึ่งใช้เป็นกองบัญชาการสูงสุดกำลังรบนอกประเทศสัมพันธมิตร (SHAEF)[4] และจะมีผลเมื่อเวลา 23.01 น. ตามเวลายุโรปกลาง ของวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945[5]

การยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของแวร์มัคท์ถูกลงนามโดยพลเอกอาวุโสอัลเฟรด โยเดิล ในนามของกองบัญชาการใหญ่แห่งแวร์มัคท์และในนามผู้แทนของประธานาธิบดีเยอรมนีคนใหม่ จอมพลเรือคาร์ล เดอนิทซ์ ส่วนของฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกถูกลงนามโดย พลโทวัลเตอร์ เบเดล สมิธ ส่วนของสหภาพโซเวียตลงนามโดยพลตรีอีวาน ซูสโลปารอฟ

การยอมจำนนในเบอร์ลิน แก้

 
ไคเทิลลงนามในตราสารยอมจำนนกองทัพเยอรมันในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 8-9 พฤษภาคม 1945

เนื่องจากพิธีการในแรมส์จัดขึ้นโดยฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกโดยไม่ได้ตกลงกับกองบัญชาการทหารโซเวียต ไม่นานหลังจากมีการลงนามยอมจำนนแล้ว ฝ่ายโซเวียตได้ประกาศว่าผู้แทนโซเวียตในแรมส์ พลเอกซูสโลปารอฟ ไม่มีอำนาจที่จะลงนามในตราสารนี้[6] ยิ่งไปกว่านี้ สหภาพโซเวียตยังพบอีกว่าตราสารซึ่งลงนามในแรมส์มีข้อความแตกต่างไปจากร่างที่เตรียมไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งได้รับการรับรองโดยประเทศยิ่งใหญ่ทั้งสาม[6] ที่สำคัญ บางส่วนของกองทัพเยอรมันปฏิเสธที่จะยอมวางอาวุธและยังคงทำการสู้รบต่อไปในเชโกสโลวาเกีย โดยได้มีการประกาศในสถานีวิทยุเยอรมันว่าเยอรมนีตกลงสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตก มิใช่กับฝ่ายโซเวียต[6]

ฝ่ายโซเวียตแย้งว่าการยอมจำนนนั้นควรจะจัดขึ้นอย่างเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และไม่ควรมีพิธีในดินแดนของผู้ยึดครอง แต่ในสถานที่ซึ่งการรุกรานของเยอรมนีเริ่มต้นขึ้นมา: ในเบอร์ลิน[6] ฝ่ายโซเวียตยืนกรานว่าการยอมจำนนในลงนามในแรมส์นั้นควรจะถูกพิจารณาว่าเป็น "พิธีสารชั้นต้นของการยอมจำนน"[7] ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึงตกลงให้มีพิธีการยอมจำนนอีกครั้งหนึ่งในเบอร์ลิน[7] ตราสารยอมจำนนทางทหารได้รับการลงนามไม่นานก่อนเที่ยงคืนของวันที่ 8 พฤษภาคม[8] ณ ที่ทำการทหารสารบรรณโซเวียตในเบอร์ลิน-คาร์ลชอร์สท์ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เยอรมนี-รัสเซียเบอร์ลิน-คาร์ลชอร์สท์

เชิงอรรถ แก้

  1. Grosshistoricher Weltatlas, 1965 edition See end of World War II map
  2. Memorandum by the Working Security Committee, January 3, 1944, Foreign Relations of the United States 1944, vol I, p. 101
  3. Report of the Allied Consultation Committee to the European Advisory Commission, March 14, 1945 Foreign Relations of the United States 1945, vol. III, pp. 191-198
  4. I remember the German surrender, Kathryn Westcott, BBC News, May 4, 2005.
  5. Act of Military Surrender Signed at Rheims at 0241 on the 7th day of May, 1945 เก็บถาวร 2009-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Avalon Project, Yale University Law School, © 1996-2007, The Lillian Goldman Law Library in Memory of Sol Goldman.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Pinkus, p. 501-3
  7. 7.0 7.1 Chaney p. 328
  8. Earl F. Ziemke References CHAPTER XV:The Victory Sealed Page 258 second last paragraph

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้