มูกเขา

สปีชีส์ของพืช
มูกเขา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Gentianales
วงศ์: Apocynaceae
สกุล: Hunteria
สปีชีส์: H. zeylanica
ชื่อทวินาม
Hunteria zeylanica
(Retz.) Gardner ex Thwaites
ชื่อพ้อง[1]
ชื่อพ้อง
  • Cameraria zeylanica Retz.
  • Gynopogon lanceolatus Kurz
  • Hunteria africana K.Schum
  • Hunteria corymbosa Roxb.
  • Hunteria lanceolata Wall. ex A.DC.
  • Hunteria legocii Livera
  • Hunteria roxburghiana Wight
  • Tabernaemontana salicifolia Wall. ex A.DC.

มูกเขา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Hunteria zeylanica) หรือ นวล, มูกขาว, ยางขาว[2] เป็นพืชในวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae) กระจายพันธุ์ในแอฟริกาตะวันออก ทางตอนใต้ของโซมาเลียและโมซัมบิกถึงเขตร้อนในทวีปเอเชีย[3] เนื้อไม้ใช้ทำของใช้ ใบใช้รักษาแผลสด ผลสามารถรับประทานได้[4][5]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

มูกเขาเป็นไม้ยืนต้นสูงได้ถึง 20 เมตร มีน้ำยางสีขาว ใบออกเรียงตรงข้ามเป็นรูปรีถึงรูปใบหอก ยาว 4-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลมยาวหรือคล้ายหาง เส้นแขนงใบข้างละ 14-30 เส้น ก้านใบยาว 0.6-1.5 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุก ยาว 1.5-5.7 เซนติเมตร ก้านดอกหนาสั้น กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 1-2 มิลลิเมตร ปลายแหลมยาว ดอกสีขาวมี 5 กลีบ หลอดกลีบยาว 6-9 มิลลิเมตร กลีบรูปขอบขนาน ยาว 2-5 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้มี 5 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นกว่าอับเรณู ไม่มีจานฐานดอก มี 2 คาร์เพล ปลายเชื่อมติดกัน เรียวยาวเป็นก้านเกสรเพศเมีย ยาว 5-6 มิลลิเมตร รวมยอดเกสร ผลคล้ายผลสดติดเป็นคู่ รูปรี ยาว 1.5-3.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีส้ม ภายในมี 2 เมล็ด รูปไข่ ยาว 1-1.5 เซนติเมตร[6]

อ้างอิง แก้

  1. "Hunteria zeylanica". The Plant List. สืบค้นเมื่อ 29 July 2013.
  2. "Hunteria zeylanica". ชื่อพรรณไม้ เต็ม สมิตินันทน์. สืบค้นเมื่อ June 4, 2017.[ลิงก์เสีย]
  3. Schmelzer, Gaby H.; และคณะ. "Medicinal Plants, Volume 1". Google Books. สืบค้นเมื่อ June 4, 2017.
  4. "Hunteria zeylanica". Useful Tropical Plants. สืบค้นเมื่อ June 4, 2017.
  5. "มูกเขา - Hunteria zeylanica". สำนักงานหอพรรณไม้ - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ June 4, 2017.
  6. สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 350, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ