มาสเตอร์ฟอร์แมต

มาสเตอร์ฟอร์แมต (MasterFormat) คือมาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุดในการเขียนระบุลักษณะเฉพาะสำหรับการออกแบบสิ่งปลูกสร้างในเชิงพาณิชย์โดยส่วนมาก และโครงการในการก่อสร้าง ในพื้นที่แถบอเมริกาเหนือ ซึ่ง มาสเตอร์ฟอร์แมต ได้แสดงรายการและหมวดหมู่ตัวเลขสำหรับใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการในการก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ และกิจกรรมต่าง ๆ โดยมีการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานซึ่งเป็นข้อมูลต่าง ๆ มาสเตอร์ฟอร์แมต ยังช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มสถาปนิก ผู้กำหนด spec ผู้รับเหมางาน และผู้จัดหาวัสดุ ซึ่งช่วยให้กลุ่มคนเหล่านี้สามารถเข้าถึงความต้องการของเจ้าของสิ่งปลูกสร้างได้ รวมถึงปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และใช้งบประมาณตามที่ตั้งไว้

มาสเตอร์ฟอร์แมต คือบัญชีรายการหลักของตัวเลขและหัวข้อหลัก ๆ สำหรับ ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผลการทำงานในการก่อสร้าง ความต้องการ สิ่งปลูกสร้างที่ได้ และกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเข้าสู่การจัดลำดับงานที่เป็นมาตรฐาน โครงการก่อสร้างมีการใช้วิธีการขนส่ง ชนิดของผลิตภัณฑ์ และวิธีการติดตั้งหลายวิธีแตกต่างกันไป โครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์จำเป็นต้องมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง การเรียกกลับข้อมูลต่างๆ แทบจะไม่สามารถทำได้หากปราศจากระบบการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคนไม่เป็นในรูปแบบเดียวกัน มาสเตอร์ฟอร์แมต Numbers and Titles สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการกรอกข้อมูลที่เป็นระบบมาตรฐาน และมีแผนงานในการเรียกเก็บข้อมูลของทั้งระบบในอุตสาหกรรม การก่อสร้าง มาสเตอร์ฟอร์แมต Numbers and Titles จึงเหมาะสำหรับการใช้งานเป็นคู่มือในการดำเนินโครงการ ซึ่งใช้ในการรวบรวมข้อมูลด้านราคา เป็นการอ้างอิงจุดที่สำคัญในการบรรยายลักษณะงาน ใช้เป็นเอกสารในการบันทึกข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ และข้อมูลทางวิชาการอื่น ๆ และนอกจากนี้ยังใช้เป็นสิ่งที่ช่วยในการจำแนกภาพร่างของแต่ละโครงการ และใช้สำหรับการนำเสนอข้อมูลในตลาดการก่อสร้างได้อีกด้วย

รายการสารบัญหมู่มาสเตอร์ฟอร์แมตในปัจจุบัน แก้

เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงมากในบัญชีรายการต่าง ๆ ของ Master Format 2004 Edition สิ่งที่จะกล่าวต่อไป คือการสรุปสารบัญเปรียบเทียบระหว่าง Master Format 2004 Edition และ Master Format 1995 Edition

  • หมู่ 00 ความต้องการของการจัดจ้างและการทำสัญญาจ้าง (Procurement and Contracting Requirements)
  • หมู่ 01 ความต้องการทั่วไป (General Requirements) ขอบเขตการแสดงความต้องการที่ถูกเพิ่มขึ้นมาเพื่อช่วยให้สามารถเขียนแสดงความต้องการในแต่ละรายการ ที่ไปมีส่วนคาบเกี่ยวกับหมวดงานอื่นๆ (เช่น การก่อสร้างพื้นผิว งานด้านโครงสร้าง เป็นต้น) ซึ่งทำให้สามารถผสมผสานคุณลักษณะจำเพาะได้กว้าง และช่วยให้สามารถกำหนดข้อกำหนดในคู่มือโครงการได้
  • หมู่ 02 สภาวะที่มีอยู่ (Existing Conditions) โดยหมวดนี้จะจำกัดไว้เฉพาะ ‘สภาวะที่มีอยู่’ การก่อสร้างที่มีความสัมพันธ์กับรายการต่าง ๆ ของบริเวณก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มต้นการทำงาน ซึ่งได้แก่ สิ่งที่ต้องเลือกเพื่อทำการรื้อออก และทำลาย การดูแลพื้นผิว งานด้านการสืบเสาะอื่น ๆ การสำรวจ การตรวจสอบการปนเปื้อนในบริเวณก่อสร้าง สิ่งที่ต้องทำเพื่อปรับสภาพพื้นที่ รวมทั้งสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้ หัวข้อเรื่องการดำเนินการก่อสร้างในบริเวณก่อสร้างทั้งหมด เช่น เรื่องของประชาชน และเรื่องของพื้นที่ใต้อาคาร รวมทั้งสาธารณูปโภคและ งานด้านทางเดินเท้า ได้ถูกย้ายไปไว้ที่ กลุ่มของบริเวณก่อสร้างและพื้นที่ใต้อาคาร
  • หมู่ 03 งานคอนกรีต (Concrete)
  • หมู่ 04 งานก่ออิฐ (Masonry)
  • หมู่ 05 งานโลหะ (Metals)
  • หมู่ 06 งานไม้ พลาสติก และ ส่วนประกอบอื่น ๆ (Wood, Plastics, and Composites)
  • หมู่ 07 งานฉนวน การป้องกันเรื่องอุณหภูมิ และความชื้น (Thermal and Moisture Protection)
  • หมู่ 08 งานช่องเปิด (Openings) บานประตูและหน้าต่าง บานเกล็ด และลูกกรงเหล็กดัด
  • หมู่ 09 การสิ้นสุดงาน (Finishes)
  • หมู่ 10 ลักษณะพิเศษ (Specialties)
  • หมู่ 11 เครื่องมือ (Equipment)
  • หมู่ 12 เครื่องตกแต่งบ้าน (Furnishings)
  • หมู่ 13 การก่อสร้างพิเศษ (Special Construction)
  • หมู่ 14 เครื่องมือ/ยานพาหนะในการขนส่ง (Conveying Equipment)
  • หมู่ 15 ได้ถูกสำรองไว้สำหรับการขยายขอบข่ายในอนาคต
  • หมู่ที่ 16 ได้ถูกสำรองไว้สำหรับการขยายขอบข่ายในอนาคต
  • กลุ่มย่อย เรื่องการบริการเครื่องมืออำนวยความสะดวก
  • หมู่ 21 การควบคุมเพลิง
  • หมู่ 22 การเดินท่อ
  • หมู่ 23 การให้ความร้อน การไหลเวียนของอากาศ และการติดเครื่องปรับอากาศ
  • หมู่ 25 การควบคุมระบบอัตโนมัติ
  • หมู่ 26 ไฟฟ้า หัวข้อเรื่องไฟฟ้าและแสงสว่าง
  • หมู่ 27 การสื่อสาร
  • หมู่ 28 ความปลอดภัยและการป้องกันในการใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์
  • กลุ่มย่อย เรื่องตำแหน่งที่ตั้ง และพื้นที่ใต้อาคาร
  • หมู่ 31 งานด้านพื้นดิน
  • หมู่ 32 การปรับปรุงภายนอก
  • หมู่ 33 สาธารณูปโภค
  • หมู่ 34 การขนส่ง
  • หมู่ 35 การก่อสร้างทางน้ำและทางทะเล
  • กลุ่มย่อย เรื่องการปฏิบัติการของเครื่องมือต่าง ๆ
  • หมู่ 40 การรวบรวมปฏิบัติการต่าง ๆ
  • หมู่ 41 การปฏิบัติการทางวัสดุและการใช้งานเครื่องมือ
  • หมู่ 42 การปฏิบัติการของเครื่องมือที่ให้ความร้อน การทำความเย็น และการทำให้แห้ง
  • หมู่ 43 การปฏิบัติการของเครื่องมือที่ใช้แก๊ส และของเหลว การทำให้บริสุทธิ์ และเครื่องมือที่ใช้จัดเก็บ
  • หมู่ 44 เครื่องมือที่ใช้ควบคุมมลพิษ
  • หมู่ 45 เครื่องมือทางการผลิตด้านงานอุตสาหกรรมเฉพาะทาง
  • หมู่ 48 การจ่ายไฟฟ้า
  • หมู่ต่าง ๆ ที่ไม่ได้แสดงรายละเอียดไว้ข้างต้นคือกลุ่มที่สำรองไว้เพื่อ เป็นพื้นที่ว่าง สำหรับการพัฒนาและการขยายขอบข่ายในอนาคต เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องใช้ในการขยายศักยภาพของงานในอนาคต จึงไม่แนะนำให้ผู้ใช้งานนำเลขหมู่สำรองเหล่านี้ไปใช้งานเพื่อระบุรายละเอียด Spec ของงานตนเอง

มาสเตอร์ฟอร์แมต รุ่นปี 1995 แก้

รุ่นมาสเตอร์ฟอร์แมตรุ่นปี ค.ศ. 1995 ก่อนการปรับปรุงในรุ่นปี ค.ศ. 2004 มีทั้งหมด 16 ดิวิชัน

  • Division 01 — General Requirements - ความต้องการทั่วไปที่ไม่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างโดยตรง เช่น การสร้างออฟฟิศ หรือบ้านพักคนงานชั่วคราว การสร้างรั้วรอบไซต์
  • Division 02 — Site Construction - สภาพไซต์ก่อสร้าง เช่น งานถม งานขุดดิน รื้อถอนสิ่งก่อสร้างเดิม
  • Division 03 — Concrete - งานคอนกรีต รวมถึง เสา คาน พื้น ฐานราก และสิ่งก่อสร้างคอนกรีต
  • Division 04 — Masonry - งานก่อ รวมถึง งานก่ออิฐ อิฐบล็อก อิฐแก้ว
  • Division 05 — Metals - งานโลหะ
  • Division 06 — Wood and Plastics - งานไม้และพลาสติก
  • Division 07 — Thermal and Moisture Protection - งานฉนวนป้องกันความร้อน ความเย็น และความชื้น
  • Division 08 — Doors and Windows - งานประตูและหน้าต่าง
  • Division 09 — Finishes - งานฟินิช รวมถึง งานผนังยิปซัมภายใน งานฝ้าเพดาน งานกระเบื้อง วัสดุปูทับ ติดตั้งระบบอะคูสติกกันเสียง และงานทาสี
  • Division 10 — Specialties - งานเฉพาะทาง เช่น การติดตั้งพาร์ทิชัน ติดตั้งกระดานดำ
  • Division 11 — Equipment - เครื่องมือ เช่น เครื่องกำจัดขยะ
  • Division 12 — Furnishings - อุปกรณ์ตกแต่ง เช่น มู่ลี่ ผ้าม่าน เฟอร์นิเจอร์
  • Division 13 — Special Construction - งานก่อสร้างพิเศษ เช่น ห้องซาวน่า สระว่ายน้ำ
  • Division 14 — Conveying Systems - ระบบขนส่งภายในอาคาร เช่น ลิฟต์ บันไดเลื่อน คอนเวเยอร์
  • Division 15 — Mechanical - งานเครื่องกล
  • Division 16 — Electrical - งานไฟฟ้า

แหล่งข้อมูลอื่น แก้