มัสยิดลาลา มุสทาฟา พาชา

มัสยิดลาลา มุสทาฟา พาชา (กรีก: Τέμενος Λαλά Μουσταφά Πασά Temenos Lalá Moustaphá Pasá, ตุรกี: Lala Mustafa Paşa Camii) เดิมคือ อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส (Cathedral of Saint Nicholas) และต่อมาคือ เซนต์โซเฟีย (อายาโซฟยา) มัสยิดแห่งมากูซา (Saint Sophia (Ayasofya) Mosque of Mağusa) เป็นสิ่งก่อสร้างยุคกลางที่ใหญ่ที่สุดในฟามากุสตา, ประเทศไซปรัส ถูกสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1298 ถึง ป. ค.ศ. 1400 โดยเคยเป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกใน ค.ศ. 1328 ตัวอาสนวิหารถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิดหลังจากจักรวรรดิออตโตมันยึดเมืองฟามากุสตาใน ค.ศ. 1571 และยังคงเป็นมัสยิดถึงปัจจุบัน ตัวมัสยิดได้ชื่อนี้จากลาลา มุสทาฟา พาชา มหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิออตโตมัน ที่รับใช้สุลต่านมูรัดที่ 3 และนำกองทัพออตโตมันไปต่อสู้กับชาวเวนิสที่ไซปรัสใน ค.ศ. 1954

جامع لالا مصطفى باشا
มัสยิดลาลา มุสทาฟา พาชา
Lala Mustafa Paşa Camii / Τέμενος Λαλά Μουσταφά Πασά
ศาสนา
ศาสนา
เขตอำเภอฟามากุสตา โดยนิตินัย
อำเภอกาซีมากูดา โดยพฤตินัย (Gazimağusa District)
ปีที่อุทิศค.ศ. 1328
สถานะเป็นมัสยิด
ที่ตั้ง
ที่ตั้งฟามากุสตา
ประเทศไซปรัส โดยนิตินัย
นอร์เทิร์นไซปรัส โดยพฤตินัย
มัสยิดลาลา มุสทาฟา พาชาตั้งอยู่ในประเทศไซปรัส
มัสยิดลาลา มุสทาฟา พาชา
ที่ตั้งของอาสนวิหารเซนต์โซเฟียในประเทศไซปรัส
พิกัดภูมิศาสตร์35°07′30″N 33°56′34″E / 35.12490°N 33.94268°E / 35.12490; 33.94268
สถาปัตยกรรม
รูปแบบกอทิก
ลงเสาเข็มค.ศ. 1298
หอคอย1

ประวัติ แก้

 
ประตูตะวันตก สร้างเสร็จประมาณ ค.ศ. 1311

ช่วงต้น แก้

อาสนวิหารถูกสร้างตั้งแต่ ค.ศ. 1298 ถึง 1312 และพรมน้ำพระพิพัฒน์สัตยาใน ค.ศ. 1328 จารึกบนครีบยันที่ประตูทิศใต้ระบุเวลาก่อสร้างใน ค.ศ. 1311[1] "หลังจากกรณีที่บิชอปคนปัจจุบันมีการฉ้อฉลในเรื่องทุนบูรณะ"[2] บิชอปกายแห่งไอเบลิน (Bishop Guy of Ibelin) ทำพินัยกรรมสำหรับการก่อสร้างอาสนวิหารไป 20,000 เบซันต์ (bezant)[3] ราชวงศ์ลูซิยง (House of Lusignan) ได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์แห่งไซปรัสในอาสนวิหารเซนต์โซเฟีย (ปัจจุบันคือมัสยิดเซลีมีเย) ที่นิโคเซีย และปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์เยรูซาเลม ณ อาสนวิหารนักบุญนิโคลัส ฟามากุสตา[4][5]

ตัวอาคารถูกสร้างในรูปแบบแรยอน็อง ซึ่งไม่ค่อยพบนอกฝรั่งเศส แม้ว่า "ได้คำนึงถึงสิ่งก่อสร้างในไรน์ลันท์ก็ตาม"[6] ต่อมาช่วงหนึ่งหลัง ค.ศ. 1480 มีการเพิ่มห้อง Loggia Bembo ในบริเวณฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของอาสนวิหาร ซึ่งดูเด่นจากเสาหินอ่อน[7]

สมัยออตโตมัน แก้

 
มินาเรตของมัสยิดที่มีรูปแบบกอทิก

หอส่วนบนของอาสนวิหารสองอันที่เสียหายจากแผ่นดินไหว ถูกทำลายอย่างหนักในช่วงทิ้งระเบิดของออตโตมันใน ค.ศ. 1571 และไม่ได้รับการซ่อมแซม ท้ายที่สุด ไซปรัสตกอยู่ภายใต้การควบคุมของออตโตมันในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1571 และอาสนวิหารถูกเปลี่ยนไปเป็นมัสยิด และเปลี่ยนชื่อเป็น "เซนต์โซเฟีย มัสยิดแห่งมากูซา".[8]

รูปปั้นเกือบทั้งหมด, ไม้กางเขน, กระจกสี, เฟรสโก และภาพวาดถูกลบหรือแปะทับ เช่นเดียวกันกับสุสานส่วนใหญ่และแท่นบูชา แต่ยังคงรักษาโครงสร้างกอทิก และมีสุสานบางส่วนที่ทางเดินทิศเหนือ

ภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Published by Camille Enlart in the nineteenth century and revisited in Franke, Arne. “St Nicholas in Famagusta: A New Approach to the Dating, Chronology and Sources of Architectural Language.” In Medieval and Renaissance Famagusta: Studies in Architecture, Art and History, 75–91 (Farnham: Ashgate, 2012).
  2. Eileen Davey. Northern Cyprus: a traveller's guide. I. B. Tauris Publishers, 1994. Page 97.
  3. Adrian J. Boas. Crusader Archaeology: the Material Culture of the Latin East. Routledge (UK), 1999. Page 49.
  4. "Lala Mustafa Pasha Mosque (St Nicholas Cathedral) - Famagusta, Cyprus". Cypnet.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2013-10-06.
  5. "Northern Cyprus, Magusa, Enkomi". Ministry of Economy and Tourism / North Cyprus. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2007. สืบค้นเมื่อ 2013-10-06.
  6. Nicola Coldstream. Medieval Architecture. Oxford University Press, 2002. Page 13.
  7. Lucchese, Vincenzo. “Famagusta from a Latin Perspective: Venetian Heraldic Shields and Other Fragmentary Remains.” In Medieval and Renaissance Famagusta: Studies in Architecture, Art and History, 167–86. Farnham: Ashgate, 2012.
  8. LALA MUSTAFA PASHA MOSQUE เก็บถาวร มีนาคม 7, 2004 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้