มะเร็งรังไข่ (อังกฤษ: ovarian cancer) คือมะเร็งที่เกิดกับรังไข่[1][2] ในระยะแรกส่วนใหญ่จะมีอาการน้อยมากหรือไม่มี ถ้ามีมักเป็นอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น ท้องอืด ปวดท้องน้อย กินอาหารลำบาก ปัสสาวะบ่อย[3] อาการเหล่านี้มักสับสนกับโรคหรือภาวะอื่นได้ง่าย ตำแหน่งที่มะเร็งมักแพร่กระจายไปได้แก่เยื่อบุช่องท้อง ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ ต่อมน้ำเหลือง ปอด และตับ[4][5]

มะเร็งรังไข่
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แสดงให้เป็นเนื้องอกรังไข่ชนิดเมือกที่มีความเป็นเนื้อร้ายต่ำ
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10C56
ICD-9183, 220
ICD-O:varied
DiseasesDB9418
MedlinePlus000889
eMedicinemed/1698
MeSHD010051

สตรีที่มีการตกไข่มากครั้งตลอดวัยเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่า สาเหตุของความเสี่ยงในกรณีนี้เช่น ไม่มีบุตร มีประจำเดือนตั้งแต่อายุน้อย หรือประจำเดือนหมดช้า ความเสี่ยงอื่นเช่นการจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนหลังหมดประจำเดือน การใช้ยากระตุ้นการเจริญพันธุ์ และความอ้วน[1][6] ปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงเช่น การใช้ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมน การทำหมัน และการให้นมบุตร[6] ผู้ป่วยประมาณ 10% มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงจากพันธุกรรม โดยสตรีที่มีการกลายพันธุ์ที่ยีน BRCA1 หรือ BRCA2 มีความเสี่ยงประมาณ 50% ที่จะเกิดโรค มะเร็งรังไข่ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือมะเร็งเยื่อบุ คิดเป็น 95% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด มะเร็งรังไข่ชนิดเยื่อบุแบ่งออกได้อีกเป็นห้าชนิดย่อยหลักๆ โดยชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือชนิดน้ำใสความรุนแรงสูง เชื่อว่าเนื้องอกเหล่านี้เจริญมาจากเซลล์ที่ปกคลุมผิวของรังไข่[7] แต่บางประเภทก็อาจเจริญมาจากท่อนำไข่[8] มะเร็งรังไข่ชนิดอื่นๆ ที่พบ่อยรองลงมาเช่นเนื้องอกของเซลล์สืบพันธุ์ต้นกำเนิดและเนื้องอกของเซลล์โครงสร้างต่อมเพศ เป็นต้น[7] การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ยืนยันได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ ซึ่งส่วนใหญ่ได้จากการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อออก[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Ovarian Cancer Prevention (PDQ®)". NCI. December 6, 2013. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.
  2. ‘ WHISPER OF OVARY ’ รู้ทัน มะเร็งรังไข่
  3. 3.0 3.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NCI2014TxPt
  4. "Treating advanced ovarian cancer". www.cancerresearchuk.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-19. สืบค้นเมื่อ 2015-05-16.
  5. Ruddon, Raymond W. (2007). Cancer biology (4th ed.). Oxford: Oxford University Press. p. 223. ISBN 9780195175431.
  6. 6.0 6.1 "Ovarian Cancer Prevention (PDQ®)". NCI. 2014-06-20. สืบค้นเมื่อ 1 July 2014.
  7. 7.0 7.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ WCR2014
  8. Piek JM, van Diest PJ, Verheijen RH (2008). "Ovarian carcinogenesis: an alternative hypothesis". Adv. Exp. Med. Biol. Advances in Experimental Medicine and Biology. 622: 79–87. doi:10.1007/978-0-387-68969-2_7. ISBN 978-0-387-68966-1. PMID 18546620.