มอแกลน หรือ สิงบก[1] หรือ มอแกนตามับ[2][3] เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่พูดภาษาในภาษาออสโตรนีเซียน ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางตอนใต้ของประเทศไทย เฉพาะในประเทศไทยจะเรียกรวม ๆ อย่างไม่จำแนกว่า ชาวเล เดิมเรียกว่า ชาวน้ำ[2] ส่วนในพม่าจะเรียกรวมกับมอแกนว่า ซลัง (Selung, Salone, Chalome)[4] และในมาเลเซียจะเรียกว่า โอรังเลาต์ (Orang Laut) แปลว่า "คนทะเล"[5]

มอแกลน
ประชากรทั้งหมด
2,500–4,500 คน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต
ภาษา
ภาษามอแกลน, ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาไทย
ศาสนา
ศาสนาพุทธ

ปัจจุบันชาวเลทั้งสามกลุ่มประสบปัญหาการเป็นคนไร้รัฐ ปัญหาด้านความมั่นคงในที่อยู่ และเผชิญวิกฤตทางด้านวัฒนธรรมและภาษาที่กำลังถูกกลืน[6][7]

ประวัติ แก้

แต่เดิมชาวเลทั้งสามกลุ่มอันได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ยมีบรรพบุรุษเป็นชาวมลายูดั้งเดิม[2][3] อาศัยและเดินทางไปมาระหว่างชายฝั่งทะเลตะวันตกของไทยและหมู่เกาะมะริดในพม่ามานานนับศตวรรษก่อนการออกโฉนด โดยมีภาษา วิถีชีวิต และวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง[8] แต่หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี พ.ศ. 2547 ทำให้ชาวไทยและชาวโลกรู้จักชาวเลในทะเลอันดามัน เพราะหลังจากเหตุการณ์นั้นก็มีการฉวยโอกาสออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนกับชุมชนชาวเลดั้งเดิมที่อาศัยอยู่เป็นเวลาช้านานแต่ไม่มีการออกเอกสารสิทธิ์จึงทำให้มีเอกชนเข้าครอบครองแทนที่[9] เรือดั้งเดิมที่ชาวมอแกลนใช้ออกหาปลาในอดีตเป็นเรือขุด เสริมกราบด้วยไม้กระดาน ใช้แจว บ้างติดใบเรือเช่นเดียวกับอูรักลาโว้ย[10] แต่ปัจจุบันชาวมอแกลนตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งมาช้านานกว่าศตวรรษ[2] หันมาประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง รับจ้าง หรือทำสวน[11]

ในประเทศไทยมีชาวมอแกลนอาศัยอยู่ราว 2,500[12] บ้างว่า 3,700 คน[5] และ 4,500 คน[1] ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่งของจังหวัดพังงาและตอนบนของเกาะภูเก็ต ได้แก่ เกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี บ้านทุ่งน้ำดำ อำเภอตะกั่วป่า บ้านลำปี อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา และบ้านแหลมหลา อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต[1][11]

วัฒนธรรม แก้

ชาวมอแกลนใช้ภาษาที่จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ใกล้เคียงกับมอแกนและสามารถสื่อสารกันได้ ขณะที่ภาษาอูรักลาโว้ยจะต่างจากกลุ่มอื่นค่อนข้างมาก[11][10] แต่มอแกลนจะได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยมากกว่ามอแกน[12] และทั้งสามภาษาไม่มีอักษรเป็นของตัวเอง[2] และปัจจุบันชาวเลทั้งสามกลุ่มกำลังเผชิญวิกฤตทางวัฒนธรรมและภาษาที่กำลังถูกกลืน[6][7]

ตัวอย่างคำ[10]
มอแกน มอแกลน อูรักลาโว้ย คำแปล
ญำจอน ญำจอน มากั๊ดหน่าซี่ กินข้าว
หล่าเกาปิต๊ะ เกาตำไล้ ปีดีฮา จะไปไหน
ป่าเหลว ยีไร้ ป่าช้า

ชาวมอแกลนแต่ดั้งเดิมนับถือผีบรรพบุรุษ เน้นการบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีการตั้งศาลหรือศาลาขนาดย่อมเรียกว่า "หลาทวด"[11][10] และมีพิธีกรรมลอยเคราะห์ด้วยเรือเช่นเดียวกับชาวอูรักลาโว้ยต่างกันเพียงวัสดุและรูปแบบเรือ[13] รวมทั้งมีการแสดงรองเง็งตามโอกาสสำคัญ[14] แต่ในปัจจุบันชาวมอแกลนมีการปรับตัวเข้ากับสังคมสมัยใหม่ มีการรับวัฒนธรรมและภาษาจากไทยเข้าผสมกับวัฒนธรรมเดิม ปัจจุบันส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ[2][12] มีจำนวนน้อยที่เข้ารีตศาสนาคริสต์[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "ชนชาติมอแกน". คณะกรรมการสรรหามิชชันนารีไทย. 29 สิงหาคม 2556. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "ชาวเลชนเผ่าเร่ร่อนแถบอันดามัน". พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-11. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 "10 คำถามที่ถูกถามบ่อย". โครงการพิพิธภัณฑ์ชนเผ่าออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Anderson, John (1890). The Selungs of the Mergui Archipelago. London: Trübner & Co. pp. 1–5.
  5. 5.0 5.1 ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. "ชาวเลอันดามัน ชาติพันธุ์ที่ถูกลืม". สารคดี. 32, 371 (มกราคม 2559): หน้า 93
  6. 6.0 6.1 นฤมล อรุโณทัย และพลาเดช ณ ป้อมเพชร (8 สิงหาคม 2550). "คลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลง การฟื้นฟูชุมชนชาวเลหลังสึนามิ". ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 "ชาวเล (มอแกน..มอแกลน..อูรัคลาโวย) แห่งอันดามัน". มูลนิธิชุมชนไท. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-11. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ทักษะวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย ผู้กล้าแห่งอันดามัน". ห้องสมุดมั่นพัฒนา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-09. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. "ชาวเลอันดามัน ชาติพันธุ์ที่ถูกลืม". สารคดี. 32, 371 (มกราคม 2559): หน้า 97
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. "ชาวเลอันดามัน ชาติพันธุ์ที่ถูกลืม". สารคดี. 32, 371 (มกราคม 2559): หน้า 95
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 "กลุ่มชาติพันธุ์ "ชาวเล" ในประเทศไทย". มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 "ชาวมอแกลน". โครงการนำร่องอันดามัน. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล. "ชาวเลอันดามัน ชาติพันธุ์ที่ถูกลืม". สารคดี. 32, 371 (มกราคม 2559): หน้า 73
  14. "รองแง็ง เรื่องเล่าจากชาวมอแกลน". สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. 20 มิถุนายน 2554. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)