ภาษามอแกน (อังกฤษ: Moken) หรือภาษามอเก็น ภาษาเมาเก็น ภาษาบาซิง หรือ เซลุง, ซาลอง, ซะโลน และชาวเกาะ เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเชียน ภาษากลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิกซึ่งพูดกันทางใต้ของประเทศพม่าลงมา ตั้งแต่เมืองมะริดลงมาทางใต้ พบมากในบริเวณเกาะของพม่าภาคใต้และคาบสมุทรเมกุย (ประมาณ 7,000 คน) ไปจนถึงจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ ของประเทศไทย

ภาษามอแกน
ประเทศที่มีการพูดจังหวัดระนอง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ ในประเทศไทยและทางใต้ลงมาจากมะริด ในประเทศพม่า
จำนวนผู้พูด7,000 คน (ปี ค.ศ. 1994) เฉพาะประเทศพม่า  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3mwt

ใกล้เคียงกับภาษามอเกลน และมีความสัมพันธ์กับภาษาอูรักลาโอ้ย เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม เป็นชาวประมง ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในเรือ นับถือความเชื่อดั้งเดิมหรือเป็นมุสลิม

อ้างอิง แก้

  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.