มหิดล จันทรางกูร
มหิดล จันทรางกูร (เกิด 21 เมษายน พ.ศ. 2483) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม อดีตประธานกรรมการบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข และอดีตกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคมและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ปัจจุบันคือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)[1]
มหิดล จันทรางกูร | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 เมษายน พ.ศ. 2483 |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ (2544–2547) |
ประวัติ
แก้มหิดล จันทรางกูร เกิดวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2483 จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่น 18[2] ต่อมาได้เข้าศึกษาจนจบปริญญาตรีรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[3] จากนั้นได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลในสังกัด กรมไปรษณีย์โทรเลข เพื่อเข้าศึกษาจนจบปริญญาโท จาก สถาบัน École nationale supérieure des télécommunications (ENST ในปัจจุบัน)
การทำงาน
แก้มหิดล จันทรางกูร รับราชการในสังกัดกระทรวงคมนาคม มีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานและบริหารด้านการสื่อสารโทรคมนาคมและด้านกิจการคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะอุตสาหกรรมการบินเป็นอย่างดี ด้วยเป็นหนึ่งในกลุ่มข้าราชการทุนรัฐบาล ผู้บุกเบิกวงการโทรคมนาคมไทยในยุคแรกๆ ของการเริ่มเปิดเสรีของโลก (Global Liberalization) และภายหลังเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาด้านสิทธิการบินของประเทศไทยมาโดยตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม
มหิดลเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)[4] กรรมการองค์กรโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) และได้รับแต่งตั้งเป็นปลัดกระทรวงคมนาคม ในปี 2534 ถึงปี 2543 และได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาแบบแต่งตั้ง ในปี 2535[5] และในปี 2539[6] รวม 2 สมัย
มหิดล ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด ในปี 2539 ถึงปี 2543 และเคยเป็นกรรมการธนาคารเอเชีย
มหิดล ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 14 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก ต่อมาได้ลาออกจากสมาชิกสภาพ ส.ส. ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2547 และต่อมา ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบ 2 กระทรวง ในปี 2548[7] ในสมัยพรรคไทยรักไทยยังเป็นรัฐบาล
ปี 2555 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[11]
- พ.ศ. 2530 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[12]
อ้างอิง
แก้- ↑ "เปิดชื่อ 24 DD – ปธ.บอร์ดการบินไทย ตั้งแต่ก่อตั้ง – ปัจจุบัน (2503-2563)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-28. สืบค้นเมื่อ 2021-03-18.
- ↑ ประวัติสมาคมนักเรียนเก่าเตรียมอุดมศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์[ลิงก์เสีย]
- ↑ รายชื่ิอนิสิตเก่าดีเด่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ BOA9: นายมหิดล จันทรางกูร ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารเอเชีย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 26 หน้า 1 22 มีนาคม พ.ศ. 2535
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ แต่งตั้งชุดใหญ่บำเหน็จ “มหิดล-วรเดช” เป็น ผช.รมต.
- ↑ ตบรางวัลเครือข่าย'แม้ว'ที่รอดคดีซีทีเอ็กซ์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐