มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์

ระวังสับสนกับ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่กว่าแต่ตั้งในท้องที่เดียวกัน

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์
Manchester Metropolitan University
คติพจน์Many Arts, Many Skills (หลากศิลป์ หลากทักษะ)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2535 ได้รับพระบรมราชโองการให้เป็นมหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2513 ก่อตั้งเป็นวิทยาลัยเทคนิค
ที่ตั้ง, ,
53.47053, −2.23872
วิทยาเขตในเมืองและนอกเมือง
สีน้ำเงิน เขียวหยก เลือดหมู และเหลือง
                
เครือข่ายยูนิเวอร์ซิตีอัลเลียนซ์
สมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ
สมาคมมหาวิทยาลัยภาคตะวันตกเฉียงเหนือ
สมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สมาคมมหาวิทยาลัยยุโรป
เว็บไซต์www.mmu.ac.uk

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ หรือ มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์เมโทรโพลิทัน (Manchester Metropolitan University, ชื่อย่อ: MMU) เป็นมหาวิทยาลัยเน้นด้านการสอน[1]ของรัฐในสหราชอาณาจักร มีชื่อเสียงด้านการออกแบบและการจัดการ ตั้งอยู่ติดกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ เมืองแมนเชสเตอร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2513 ในฐานะวิทยาลัยโพลีเทคนิคแมนเชสเตอร์ ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2535[2]

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์จัดเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ (new universities) ร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นอีกหลายแห่ง และเป็นมหาวิทยาลัยที่กำลังพัฒนาด้านการวิจัยจนได้ทุนวิจัยจากสภาการอุดมศึกษาแห่งอังกฤษเป็นลำดับที่สี่[1] นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยได้เป็นสมาชิกสมาคมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สมาคมมหาวิทยาลัยยุโรป สมาคมมหาวิทยาลัยเครือจักรภพ และสมาคมมหาวิทยาลัยภาคตะวันตกเฉียงเหนืออีกด้วย

ประวัติ

แก้

มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2513 ในฐานะวิทยาลัยโพลีเทคนิคแมนเชสเตอร์ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีวิทยาลัยโพลีเทคนิคแมนเชสเตอร์ ได้มีการจัดตั้งสถาบันช่างกลแมนเชสเตอร์ (พ.ศ. 2367) และวิทยาลัยการออกแบบแมนเชสเตอร์ (พ.ศ. 2381) เพื่อบริการแก่นักเรียนนักศึกษาผู้ที่จะเตรียมตัวทำงานในเมืองอุตสาหกรรม[2] ครั้นต่อมาได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยครู (พ.ศ. 2421) วิทยาลัยคหกรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2423) และวิทยาลัยการพาณิชย์ (พ.ศ. 2432) ขึ้น จนในที่สุดจึงได้มีการรวบรวมสถาบันเหล่านี้เข้าเป็นวิทยาลัยโพลิเทคนิค ครั้นมีการตราพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาและการศึกษาต่อเนื่อง พ.ศ. 2535 (Further and Higher Education Act 1992) วิทยาลัยโพลิเทคนิคจึงแปรสภาพเป็นมหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์ เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2535[3]

ที่ตั้ง

แก้

ในชั้นเดิม มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์มีวิทยาเขต 7 แห่ง โดยมี 5 แห่งในจังหวัดแมนเชสเตอร์ (ออลเซนส์, ไอทูน, ดิดบรี, เอลิซาเบธ กาสเคลล์ และโฮลลิงส์) และอีก 2 แห่งในจังหวัดเชชเชอร์ (อัลซาเกอร์ และ ครูว์) ต่อมามหาวิทยาลัยได้ขายพื้นที่ทำการสอนบางส่วนให้เอกชนนำไปพัฒนา และได้ย้ายมาอยู่ที่วิทยาเขตออลเซนส์ วิทยาเขตครูว์ และปัจจุบันกำลังพัฒนาวิชาเขตเบอร์ลีย์ที่ชานเมืองแมนเชสเตอร์[4]

วิทยาเขตออลเซนตส์

แก้
 
อนุสาวรีย์จอห์น ดาลตัน หล่อโดยวิลเลียม ทีด (William Theed) นอกอาคารถนนเชเชอร์

วิทยาเขตออลเซนตส์ (All Saints Campus) เป็นที่ตั้งหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วยอาคารคณะมนุษยศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (อาคารเจฟฟรีย์ แมนตัน (Jeoffrey Manton) และอาคารมาเบล ไทล์โคต (Mabel Tylecote))[5] นอกจากนี้ยังมีคณะอื่น ๆ เช่น

คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ตั้งที่อาคารจอห์น ดาลตัน[6] ตามชื่อของนักฟิสิกส์ผู้เสนอแนวคิดด้านอะตอม ประกอบด้วยสี่ภาควิชา คือ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การดูแลสุขภาพ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีดิจิทัล ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ด้านหลังอาคารจอห์น ดาลตัน เป็นอาคารเจดีซึ่งเป็นอาคารปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย[7]

คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ใช้ชื่อ วิทยาลัยศิลปกรรมแมนเชสเตอร์) มีที่ตั้งในวิทยาเขตออลเซนตส์ ประกอบด้วยสี่ภาควิชาคือ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์) ภาควิชาศิลปะ ภาควิชาการออกแบบ ภาควิชาสื่อ[8] พร้อมด้วยหอศิลป์เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าชม[9]

มหาวิทยาลัยได้สร้างอาคารมูลค่า 75 ล้านปอนด์ สำหรับคณะบริหารธุรกิจและนิติศาสตร์ซึ่งย้ายจากวิทยาเขตไอทูนซึ่งยกเลิกไป[10] อาคารใหม่เมื่อสร้างเสร็จจะรองรับนักศึกษาได้ 5,000 คน พร้อมคณาจารย์-เจ้าหน้าที่อีก 250 คน[11]

ภายในวิทยาเขตออลเซนตส์ มีห้องสมุดเซอร์ เคนเนท กรีน เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย เน้นด้านศิลปะและการออกแบบ ภายในห้องสมุดนอกจากหนังสือแล้วยังมีส่วนจัดแสดงงานศิลปะ อาทิ บัตรอวยพรยุคสมเด็จพระราชาธิบดีเอ็ดเวิร์ด และสมเด็จพระราชีนีนาถวิกตอเรีย[12] ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์ช่วยจัดทำรายการบรรณานุกรมโดยโครงการบรรณานุกรมเบอร์มิงแฮม[13] นอกจากนี้ หลังจากการเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ มหาวิทยาลัยได้เข้าร่วมกลุ่มห้องสมุดการศึกษาแห่งแมนเชสเตอร์ หรือในปัจจุบันได้ขยายเป็นกลุ่มห้องสมุดเพื่อการศึกษาภาคตะวันตกเฉียงเหนือ[14]

 
อาคารจอห์น ดาลตัน

นอกจากคณะวิชาที่กล่าวมาแล้ว ยังมีคณะคหกรรมศาสตร์โฮลลิงส์ ทำการสอนด้านอาหาร สิ่งทอ และการโรงแรม

วิทยาเขตเชชเชอร์

แก้

นอกจากวิทยาเขตออลเซนตส์ที่ตั้งใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์แล้ว มหาวิทยาลัยยังเปิดสอนคณะครุศาสตร์ที่วิทยาเขตเชชเชอร์และวิทยาเขตเบอร์ลีย์[15] ยิ่งไปกว่านั้น วิทยาเขตเชชเชอร์ยังเป็นที่ตั้งของสาขาวิชาธุรกิจ ศิลปะร่วมสมัย วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย และสหศาสตรศึกษา[16]

วิทยาเขตเบอร์ลีย์

แก้

มหาวิทยาลัยได้มีโครงการจัดตั้งวิทยาเขตเพิ่มเติมที่เบอร์ลีย์ฟีลด์ ใจกลางเมืองแมนเชสเตอร์ สำหรับใช้ทำการสอนด้านครุศาสตร์และสร้างหอพักนักศึกษาเพิ่มเติมให้ได้ตามความต้องการ[17]

ส่วนงาน

แก้

มหาวิทยาลัยประกอบด้วยคณะวิชาทั้งหมด 7 คณะ ได้แก่[18]

  • คณะบริหารธุรกิจและนิติศาสตร์
  • คณะครุศาสตร์
  • คณะสุขภาพ จิตวิทยา และสังคมสงเคราะห์
  • คณะคหกรรมศาสตร์โฮลลิงส์
  • คณะมนุษยศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และสังคมศาสตร์
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ (วิทยาลัยศิลปกรรมแมนเชสเตอร์)
  • คณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Manchester Metropolitan University". สืบค้นเมื่อ 24 June 2012.
  2. 2.0 2.1 "About Manchester Metropolitan University". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-30. สืบค้นเมื่อ 30 August 2012.
  3. http://www.mmu.ac.uk/news/articles/156/ เก็บถาวร 2014-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 20th November 2014
  4. "Campus Redevelopments". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 15 February 2011.
  5. "The Faculty of Humanities, Languages and Social Science". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-21. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  6. "Faculty of Science and Engineering". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
  7. "IRM". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-11. สืบค้นเมื่อ 26 April 2012.
  8. "The Faculty of Art and Design". MMU. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  9. "The Holden Gallery". MMU. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  10. "Accounts 0066" (PDF). Manchester Metropolitan University.
  11. "Campus Redevelopment". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-26. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  12. "MMU special collections; reading room and gallery". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-10. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  13. Rogerson, Ian (1978) "Library", in: The Making of a Polytechnic Building: All Saints Building. Manchester: Manchester Polytechnic; pp. 34–36
  14. "NoWAL". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-16. สืบค้นเมื่อ 2015-02-08.
  15. "The Faculty of Education". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  16. "MMU Cheshire". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-21. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  17. "Birley Fields Proposals". MMU. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 16 February 2012.
  18. "University Structure". mmu.ac.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-09. สืบค้นเมื่อ 8 February 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

เว็บไซต์มหาวิทยาลัยนครแมนเชสเตอร์