มหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องประดับของสตรีชาวอินเดีย ซึ่งสวมคู่กับส่าหรี โดยสวมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ตรงศีรษะก็ทำเป็นรูปนกยูงไว้ตัวหนึ่ง ซึ่งส่วนประกอบก็เต็มไปด้วยของมีค่ามากมาย ในสมัยพุทธกาลมีผู้ครอบครองมหาลดาปสาธน์ 3 คน คือ นางวิสาขา มัลลิกา ภรรยาของพันธุลเสนาบดี และลูกเศรษฐี ณ พาราณาสี[1]

ที่มาของคำ

แก้

มหาลดาปสาธน์ มาจากคำว่า[2][3]

  • มหา ว. ใหญ่, ยิ่งใหญ่, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส
  • ลดา [ละ-] น. เครือเถา, เครือวัลย์; สาย
  • ประสาธน์ [ปฺระสาด] (แบบ) ก. ทําให้สําเร็จ. น. เครื่องประดับ

ลักษณะ

แก้

มหาลดาปสาธน์ของนางวิสาขา

แก้

มหาลดาปสาธน์ของนางวิสาขานั้น ธนญชัยเศรษฐี (บิดา) สั่งให้ช่างทองและช่างออกแบบทำเครื่องประดับโดยใช้ทองคำ 1,000 แท่ง เพชร 4 ทะนาน แก้วมุกดา 11 ทะนาน แก้วประพาฬ 20 ทะนาน แก้วมณี 33 ทะนาน และใช้เงินจำนวนหนึ่ง

มหาลดาปสาธน์สวมตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ลูกดุมวงแหวนด้วยทองคำ ห่วงสำหรับลูกดุมทำด้วยเงิน สวมที่กลางกระหม่อมหนึ่งวง ที่หลังหู 2 วง ที่ข้างเอวสองข้างอีก 2 วง ที่ข้อศอกทั้งสองข้าง 2 วง ที่ขาสองข้าง 2 วง ที่เครื่องประดับยังทำเป็นนกยูงรำแพนตังหนึ่ง ขนปีกทำด้วยทอง จะงอยปากทำด้วยแก้วประพาฬ ตาสองข้างทำด้วยแก้วมณี สร้อยคอและแววหางทำด้วยแก้วมณี ก้านขนนกยูง ทำด้วยเงิน ขาทำด้วยเงิน โดยนกยูงตั้งอยู่กลางกระหม่อมผู้สวม[4]

มหาลดาปสาธน์ของภรรยาพันธุลเสนาบดี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Trang Suwannasilp. มหาลดาปสาธน์ : เครื่องประดับอันทรงค่าของนางวิสาขา. 2 กุมภาพันธ์ 2556
  2. เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ ของนางวิสาขา เป็นอย่างไรครับ. Madchima
  3. ราชบัณฑิตยสถาน, ศูนย์สารสนเทศ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2552
  4. โอม รัชเวทย์. นางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐี (ฉบับการ์ตูน) : ชุดการ์ตูนพุทธศาสนา ลำดับที่ 24 . พฤษภาคม 2552. อมรินทร์คอมมิกส์. ISBN 978-974-592-774-2