มหาภารตะ (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2556)

มหาภารตะ (อังกฤษ: Mahabharat) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ กำกับโดย อมาน ข่าน มีเค้าโครงเรื่องมาจาก วรรณกรรมภาษาสันสกฤตเรื่อง มหาภารตะ[3][4] ให้เสียงพากย์โดยนักแสดงชั้นนำของอินเดียมากมาย อาทิ อมิตาภ พัจจัน, อชัย เทวคัน, วิทยา พาลัน, ซันนี่ ดอล, อนิล คาปัวร์, แจ็กกี ชรอฟฟ์, มาโนช บัจพายี, ธิบดี พาวัล[5][6][7][8][9][10] ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกจำหน่ายในช่วงเทศกาลคริสต์มาส ตรงกับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 2013 [11] ภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าลงทุนสร้างสูงที่สุดในวงการภาพยนตร์แอนิเมชันของประเทศอินเดีย[12][13]

มหาภารตะ
โปสเตอร์ใบปิดภาพยนตร์
กำกับอมาน ข่าน
อำนวยการสร้าง
นักแสดงนำ
กำกับภาพเซตู
ดนตรีประกอบรเชนทรา ชิพ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายPen India Pvt. Ltd
วันฉาย27 ธันวาคม ค.ศ. 2013 (2013-12-27)
ความยาว125 นาที
ประเทศอินเดีย
ภาษาฮินดี
ทุนสร้าง50 โคร (212.7 ร้อยล้านบาท)[1]
ทำเงินแม่แบบ:Estimation 1.5 โคร (6.4 ล้านบาท)[2]

เนื้อเรื่อง แก้

มหาภารตะ กล่าวถึงสงครามระหว่าง ตระกูลปาณฑพ ซึ่งประกอบไปด้วยพี่น้อง 5 คน พร้อมด้วยพระนางเทราปตี ชายาของพี่น้องทั้งห้า และตระกูลเการพ ซึ่งมีพี่น้องร้อยคน สงครามครั้งยิ่งใหญ่นี้เกิดขึ้นจากความละโมบของกษัตริย์ตระกูลเการพ ที่คิดจะยึดครองดินแดนไว้แต่เพียงฝ่ายเดียว จึงออกอุบายหลอก ยุธิษฐิระ พี่ใหญ่แห่งตระกูลปาณฑพ ผู้ซึ่งหลงใหลในการพนัน ด้วยเกมทอยลูกเต๋าจนเสียพนันทรัพย์สมบัติและดินแดนทั้งหมดที่มีอยู่ รวมถึงการถูกเนรเทศให้ไปอาศัยอยู่ในป่าห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนเป็นเวลา 30 ปี โดยตระกูลเการพสัญญาว่าจะคืนดินแดนให้เมื่อครบกำหนด แต่เมื่อถึงเวลา 13 ปีทางตระกูลเการพกลับผิดสัญญา จึงทำให้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ระหว่างฝ่ายธรรมะกับฝ่ายอธรรม และเมื่อสงครามสิ้นสุดลง เส้นแบ่งระหว่างความดีกับความชั่วกลับเลือนหายไป คนดีก็ไม่ได้ดีไปหมดทุกอย่าง ส่วนคนชั่วก็ไม่ได้ชั่วไปหมดทุกอย่าง เป็นเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? พบกับคำตอบได้ในละครเรื่อง มหาภารตะ

นักแสดงนำ (ให้เสียงพากย์) แก้

อ้างอิง แก้

  1. "'Mahabharat' loses box office battle to 'Dhoom: 3' - Entertainment - DNA". Dnaindia.com. สืบค้นเมื่อ 3 January 2014.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ IBN3daygross
  3. "It took 7 years to make 'Mahabharat': Amaan Khan - Entertainment - DNA". Dnaindia.com. สืบค้นเมื่อ 3 January 2014.
  4. "Animation film Mahabharat's movie trailer out : Bollywood, News - India Today". Indiatoday.intoday.in. 19 November 2013. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  5. "Anil Kapoor at the trailer launch of Mahabharat - | Photo1 | India Today |". Indiatoday.intoday.in. 25 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  6. "Anupam Kher lends voice to 'Shakuni mama' in 'Mahabharat". Ibnlive.in.com. 30 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-03. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  7. "Anil Kapoor recommended Jackie Shroff for 'Mahabharat'". Ibnlive.in.com. 14 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-27. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  8. "Would Salman Khan turn Krishna in Mahabharat 3D?". IMDb. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
  9. "Mahabharat-3D: Amitabh Bachchan to launch first look; Slb's Ram-leela to carry promo : Trade News". IMDb. สืบค้นเมื่อ 17 February 2016.
  10. Photos IndiaMoviesCricketSportsTechAutoWorld (7 October 2013). "Then and now: How Mahabharat has got more slick and grand|Movies News Photos-IBNLive". Ibnlive.in.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-31. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  11. "Mahabharat in 120 min was a daunting task: Director - Times Of India". Timesofindia.indiatimes.com. 20 December 2013. สืบค้นเมื่อ 3 January 2014.
  12. "'Mahabharat' movie trailer: Know what the film has in store for you". Zeenews.india.com. สืบค้นเมื่อ 25 November 2013.
  13. TNN (10 October 2013). "Sunny Deol as Bheem in Mahabharat - Times Of India". Articles.timesofindia.indiatimes.com. สืบค้นเมื่อ 3 January 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้