มวยไทย ชูชัย (ญี่ปุ่น: ムエタイ チューチャイ; อังกฤษ: Muay Thai Chūchai) หรือ ชูชัย เป็นนักมวยไทยจากการ์ตูนเรื่อง ทาคาคาเอะ!! ราเม็งแมน เขียนโดย ยูเดะทามาโกะ ซึ่งเป็นผู้เขียนเรื่องคินนิคุแมน

มวยไทย ชูชัย
ตัวละครใน ราเม็งแมน
มวยไทย ชูชัย นักมวยไทยจากการ์ตูนเรื่อง ทาคาคาเอะ!! ราเม็งแมน
ประวัติ
ญาติเป็นหนึ่งในเพื่อนสนิทของวิคทอรี่ ราเม็งแมน
ชื่อชูชัย (Chūchai)
ชื่อในวงการมวยไทย ชูชัย
สัญชาติ ไทย
ท่าไม้ตายCharanbō
Spinning Scarecrow of Siam
L Express to Chiang Mai - สายด่วนสู่เชียงใหม่
Yashi Wari Batto (Palm Tree Splitting Unsheathing)
Sayuu Kumo Ken (Left and Right Cloud Fist)
Chūchai San-dan Keri (Chūchai's Third Rank Kick)
Emerald Rocket - จรวดมรกต

ประวัติตามท้องเรื่อง

แก้

มวยไทย ชูชัย เป็นผู้ใช้วิชามวยไทยที่ทรงพลัง เพื่อพี่น้องที่หิวโหยของเขา ชูชัยมีส่วนร่วมในการแข่งขันของจักรพรรดิ หว่อง (อังกฤษ: Emperor Wong) และเขาก็ได้พบกับราเม็งแมนในครั้งนั้น ต่อมาชูชัยได้ปรากฏตัวขึ้นอีกครั้งในฐานะของสหายของราเม็งแมน และเป็นหนึ่งในสหายเพียงไม่กี่รายที่เป็นพันธมิตรแทนที่จะเป็นคู่แข่งกัน ชูชัยมีคุณสมบัติที่เรียกว่า นิคุทาอิ เมนุกิ คาตานะ (ญี่ปุ่น: 肉体麺打斬刀; อังกฤษ: Noodle Body Blade) ซึ่งเป็นการสับร่างกายของศัตรูให้เหมือนกับเป็นก๋วยเตี๋ยวราเม็ง ทว่า เขาเคยใช้ท่าไม้ตายนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ตามเนื้อเรื่องระบุว่า ชูชัยเคยถูก อี้ ปิง ขง (อังกฤษ: Yii Ping Kong) จากซาอุดิอาระเบียเล่นงาน ก่อนที่ชูชัยจะถูก โกมุเคน โชวริว (อังกฤษ: Gomuken Chouryuu) สังหารลงในเวลาต่อมา

การปรากฏตัวในสื่ออื่น

แก้

นอกจากนี้ มวยไทย ชูชัย ยังมีบทบาทในการ์ตูนแอนิเมชันเรื่อง ทาคาคาเอะ!! ราเม็งแมน (ญี่ปุ่น: 闘将!!拉麺男; อังกฤษ: Tatakae!! Ramenman)[1] ซึ่งออกฉายครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ณ วันที่ 10 มกราคม — 11 กันยายน ค.ศ. 1988 ด้วยเช่นกัน (ชาวญี่ปุ่นผู้ให้เสียงพากย์มวยไทย ชูชัย คือ ฮิเดะยุกิ โฮะริ)

การตอบรับ

แก้
 
มวยไทย ชูชัย ตัวละครการ์ตูนเรื่อง ทาคาคาเอะ!! ราเม็งแมน ในรูปแบบของหุ่นไวนีล

ครั้งหนึ่งมีการผลิตหุ่นไวนีล มวยไทย ชูชัย ขึ้นเพื่อเป็นของเล่นสำหรับเด็ก จัดจำหน่ายโดยบริษัทบันได (ในปี ค.ศ. 1987) เช่นเดียวกับตัวละครอื่น ๆ ในราเม็งแมนด้วยเช่นกัน[2] (ปัจจุบัน หุ่นไวนีล มวยไทย ชูชัย ถือเป็นของสะสมเกี่ยวกับมวยไทยอีกหนึ่งรายการที่หายากมาก)

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้