เขาอะเราะฟะฮ์

(เปลี่ยนทางจาก ภูเขาอะเราะฟะฮ์)

เขาอะเราะฟะฮ์ (อาหรับ: جَبَل عَرَفَة), เขาอะเราะฟาต (جَبَل عَرَفَات‎) หรือ ญะบะลุรเราะฮ์มะฮ์ (جبل الرحمة)[1] เป็นเนินเขาแกรโนไดออไรต์[2] ที่ห่างจากมักกะฮ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ไปประมาณ 20 กิโลเมตร[3] ตัวภูเขามีความสูงประมาณ 70 เมตร และจุดสูงสุดอยู่ที่ 454 เมตร

เขาอะเราะฟะฮ์
جَبَل عَرَفَة
ผู้แสวงบุญบนภูเขาในระหว่างพิธีฮัจญ์
จุดสูงสุด
พิกัดพิกัดภูมิศาสตร์: 21°21′17″N 39°59′02″E / 21.35472°N 39.98389°E / 21.35472; 39.98389
ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
เขาอะเราะฟะฮ์ตั้งอยู่ในซาอุดีอาระเบีย
เขาอะเราะฟะฮ์
เขาอะเราะฟะฮ์
ที่ตั้งในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ที่ตั้งใกล้มักกะฮ์ แคว้นมักกะฮ์
 ซาอุดีอาระเบีย
ข้อมูลทางธรณีวิทยา
อายุหิน9.13 ± 1.05 ล้านปี
ประเภทภูเขาเนินเขาแกรโนไดออไรต์

รายงานจากธรรมเนียมอิสลามบางส่วน เนินนี้เป็นที่ที่ศาสดามุฮัมมัดยืนและกล่าวคำเทศนาครั้งสุดท้ายที่รู้จักกันในชื่อ คุตบะตุลวิดาอ์'[4] แก่เศาะฮาบะฮ์ มุสลิมบางส่วนเชื่อว่าภูเขาอะเราะฟาตเป็นที่ที่อาดัมกับเอวา (เฮาวาอ์) พบกันอีกครั้งบนโลก หลังตกลงจากสวรรค์ ส่วนชื่อ ญะบัล อัรเราะฮ์มะฮ์ ที่หมายถึง 'ภูเขาแห่งความเมตตา' มาจากความเชื่อว่าเป็นที่ที่ได้รับอภัยโทษจากบาปทั้งปวง

ภูเขานี้เป็นสถานที่สำคัญในช่วงพิธีฮัจญ์ เพราะในวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮ์เป็นวันอะเราะฟะฮ์ เป็นวันที่ผู้ทำพิธีฮัจญ์ออกจากมินามาที่อะเราะฟะฮ์ มีการอ่านคุตบะฮ์ (คำเทศนา) และละหมาดซุฮร์กับอัศร์ในหุบเขา ผู้แสวงบุญจะใช้เวลาทั้งวันในการขอดุอาอ์ให้อัลลอฮ์อภัยบาปของตน[5]

ฮัจญ์ แก้

การทำพิธีที่อะเราะฟะฮ์สิ้นสุดลงเมื่อดวงอาทิตย์ตกดินและผู้แสวงบุญจะเคลื่อนตัวไปยังมุซดะลิฟะฮ์เพื่อละหมาดมัฆริบ ละหมาดอิชาอ์ และพักผ่อนชั่วครู่[6]

พื่้นที่รอบ ๆ เนินเขามีชื่อว่าทุ่งอะเราะฟะฮ์ ซึ้งเป็นพื้นที่สำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะในระหว่างทำฮัจญ์ ผู้แสวงบุญจะใช้เวลาตอนบ่ายในวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮ์ ถ้าไม่มาในบริเวณนี้ในวันที่กำหนดจะทำให้ฮัจญ์ไม่สมบูรณ์[7]

ในวรรณกรรม แก้

ภูเขานี้ได้รับการกล่าวถึงใน มโนสำนึกของฟินเนกัน ของเจมส์ จอยซ์[8]

ภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Saudi Arabia Hajj: Millions at Mount Arafat for ceremonies". BBC. สืบค้นเมื่อ 2019-04-14.
  2. Qureshi, A. A.; Sultan, A.; Rashid, A.; Ali, M.; Waheed, A.; Manzoor, S.; Baloch, M. A.; Matiullah; Batool, S.; Khan, H. A. (September 2012). "Geological and radiological studies of the Mount Arafat, Mekkah, Saudi Arabia". Journal of Radioanalytical and Nuclear Chemistry (ภาษาอังกฤษ). 293 (3): 955–963. doi:10.1007/s10967-012-1776-0. ISSN 0236-5731. S2CID 95942060.
  3. "خرائط Google".
  4. "Sea of people arrive at Mecca and Mount Arafat as Hajj pilgrimage gets underway". Metro (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2018-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-04-14.
  5. "More than 2 million pilgrims complete journey to Mount Arafat for second day of Hajj". Arab News (ภาษาอังกฤษ). 2018-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-04-14.
  6. Peters, F.E., 1996. The Hajj: The Muslim pilgrimage to Mecca and the holy places. Princeton University Press.
  7. Omar, W. (1952), "The Mecca Pilgrimage: Its Epidemiological Significance and Control", Postgraduate Medical Journal, 28 (319): 269–74, doi:10.1136/pgmj.28.319.269, PMC 2530829, PMID 14929743
  8. "Finnegans Wake". www.finwake.com. สืบค้นเมื่อ 2016-07-18.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้