ภาษาโทรจัน เป็นภาษาโบราณใช้พูดในเมืองทรอย ซึ่งถูกทำลายลงเมื่อราว 657 ปีก่อนพุทธศักราช ในสงครามโทรจัน เป็นภาษาที่ไม่มีการบันทึกไว้เลย มีการพบตราประทับภาษาฮิตไตน์ในบริเวณกรุงทรอยเมื่อ พ.ศ. 2538 มีอายุราว 732 ปีก่อนพุทธศักราช และพบจดหมายภาษาลูเวีย ภาษาลูเวียเป็นภาษากลางในจักรวรรดิฮิตไตน์ ซึ่งอาจสืบทอดมาสู่กรุงทรอยได้ทางหนึ่ง หลักฐานของชาวกรีกแสดงหลักฐานเกี่ยวกับภาษาในกรุงทรอย ดังนี้

  • ในวรรณคดี “อีเลียด” แสดงถึงการพูดภาษาที่แตกต่างกันและต้องการล่าม
  • ในเรื่องของเทพีอะโฟรไดท์ แสดงประวัติของเธอในการล่อลวงเจ้าชายอันคีเชสแห่งโทรจัน โดยเจ้าชายกล่าวอ้างว่ามาจากดินแดนเพื่อนบ้านคือฟริเจีย แต่พูดได้สองภาษา พูดภาษาของตนได้ดีพอๆกับภาษาฟริเจีย

อย่างไรก็ตามในวรรณคดีอีเลียด ชาวทรอยได้สนทนาโต้ตอบกับชาวกรีกได้อย่างไม่ยากเย็นนัก แต่อาจเกิดจากการปรับเปลี่ยนของผู้เขียนและผู้แปลในยุคต่อมาก็ได้

ทฤษฎีลูเวีย

แก้

ไม่มีหลักฐานเพียงพอสำหรับการกำหนดภาษาของทรอยจนกระทั่ง พ.ศ. 2538 เมื่อพบตราประทับในยุคฮิตไตต์ตอนปลาย อายุราว 732 ปีก่อนพุทธศักราช แสดงว่าลูเวียในสมัยโบราณรู้จักกันในชื่อทรอย และภาษาลูเวียนี้เคยเป็นภาษากลางของจักรวรรดิฮิตไตต์ ชื่อของชาวทรอยในอีเลียดอย่างน้อย 9 คนไม่ใช่ภาษากรีก และน่าจะเป็นภาษาในเอเชียไมเนอร์ก่อนเปลี่ยนไปใช้ภาษากรีก[1] นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ยอมรับว่าภาษาลูเวียเป็นภาษาของทรอย [2] แต่บางคนมีความเห็นว่าภาษาลูเวียอาจจะเป็นภาษาราชการ โดยมีภาษาอื่นๆใช้พูดในชีวิตประจำวัน .[3]

อ้างอิง

แก้
  1. H. von Kamptz. Homerische Personennamen. Gottingen, 1982, pp. 380-382.
  2. Quoted from Latacz, p. 116.
  3. Ibidem.
  • Dalby,Andrew. 2006. Rediscovering Homer.Norton, New York, London ISBN=0393057887 pp. 129-133.
  • Latacz, Joachim . 2004.Troy and Homer: towards a solution of an old mystery. Oxford University Press, Oxford ISBN=0199263086, pp. 49-72.
  • Ross, Shawn A., "Barbarophonos: Language and Panhellenism in the Iliad," Classical Philology 100 (2005), pp. 299–316.
  • Watkins, Calvert (1986), "The language of the Trojans" in Troy and the Trojan War: a symposium held at Bryn Mawr College, October 1984 ed. M. J. Mellink. Bryn Mawr.