ภาษาโคมิ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ภาษาโคมิ เป็นภาษาของชาวโคมิทางตะวันตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรปในสหพันธรัฐรัสเซีย จัดอยู่ในตระกูลฟินโน-ยูกริก สาขาฟินโน-เปอร์มิก ภาษาโคมิมีสำเนียงต่างๆมากมาย ที่เป็นที่รู้จักกันดีมีสองสำเนียงคือ สำเนียงโคมิ-ไซเรียน ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด ใช้เป็นภาษาเขียนในสาธารณรัฐโคมิ และสำเนียงโคมิ-ยัซวา ซึ่งมีผู้พูดน้อยกว่า อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตเปิร์มและทางใต้ของสาธารณรัฐโคมิ สำเนียง เปอร์มืกหรือโคมิ-เปอร์มืก ใช้พูดในเขตโคมิ-เปอร์มืกซึ่งใช้เป็นภาษาเขียนด้วย
ภาษาโคมิ | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | รัสเซีย |
ภูมิภาค | สาธารณรัฐโคมิและดินแดนเปียร์ม |
จำนวนผู้พูด | 350,000 (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | ยูรัล
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | kv |
ISO 639-2 | kom |
ISO 639-3 | kom – รหัสรวม รหัสเอกเทศ: koi – โคมิ-เปียร์เมียคkpv – โคมิ-ซีเรียน |
ภาษาโคมิถูกจัดเป็นภาษาใกล้สูญพันธ์โดย Atlas of the World's Languages in Danger ของ UNESCO (ค.ศ.2010) |
ระบบการเขียน
แก้ระบบการเขียนของภาษาโคมิต่างจากภาษากลุ่มฟินโน-ยูกริกอื่นๆ ในยุคแรกเขียนด้วยอักษรเปอร์มิกโบราณที่ประดิษฐ์ขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1900 โดยมิชชันนารีสเตปัน ครัป ที่ต่อมากลายเป็นนักบุญในโคมิ อักษรนี้มีลักษณะผสมระหว่างอักษรกรีกกับอักษรซีริลลิก เปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกแบบภาษารัสเซียเมื่อราว พ.ศ. 2100 ในพ.ศ. 2463 เขียนด้วยอักษรโมล็อดซอฟ ที่พัฒนามาจากอักษรซีริลลิก พ.ศ. 2473 เปลี่ยนมาใช้อักษรละติน และกลับมาใช้อักษรซีริลลิกอีกใน พ.ศ. 2483 โดยเพิ่มอักษรพิเศษบางตัว
โคมิ-ไซเรียน
แก้สำเนียงโคมิไซเรียนหรือภาษาไซเรียนเป็นภาษาที่ใช้พูดโดยชาวโคมิ-ไซเรียนในสาธารณรัฐโคมิและบางส่วนของรัสเซียมีข้อโต้แย้งว่าภาษาไซเรียนควรเป็นภาษาเอกเทศหรือเป็นสำเนียงของภาษาโคมิ ในปี พ.ศ. 2537 มีผู้พูดราว 285,000 คน
ภาษาโคมิ-ไซเรียนเขียนด้วยอักษรเปอร์มิกโบราณตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 19 และเปลี่ยนมาใช้อักษรซีริลลิกเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 22 ภาษานี้มีสำเนียงต่างๆกัน 10 สำเนียง สำเนียงปรีซืกตืฟคาร์สกี ที่ใช้พูดในบริเวณ ซืกตืฟคาร์เป็นสำเนียงมาตรฐาน
อ้างอิง
แก้- ↑ Rantanen, Timo; Tolvanen, Harri; Roose, Meeli; Ylikoski, Jussi; Vesakoski, Outi (2022-06-08). "Best practices for spatial language data harmonization, sharing and map creation—A case study of Uralic". PLOS ONE (ภาษาอังกฤษ). 17 (6): e0269648. Bibcode:2022PLoSO..1769648R. doi:10.1371/journal.pone.0269648. PMC 9176854. PMID 35675367.
- ↑ Rantanen, Timo, Vesakoski, Outi, Ylikoski, Jussi, & Tolvanen, Harri. (2021). Geographical database of the Uralic languages (v1.0) [Data set]. Zenodo. https://doi.org/10.5281/zenodo.4784188