ภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซาน

ภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซาน เป็นภาษาแอราเมอิกของชาวยิวสมัยใหม่ เริ่มแรกใช้พูดในหมู่บ้านสามแห่งใกล้อักเราะฮ์ในเคอร์ดิสถานอิรัก[2] ชื่อเรียกในภาษาของตนคือ ลิซานิด ญานัน หมายถึง ภาษาของเรา และชื่อที่คล้ายกันยังพบในภาษาย่อยแอราเมอิกใหม่ยิวภาษาอื่นด้วย (ภาษาลิซาน ดิดัน, ภาษาลิซานิด โนซาน)[3][4][5][6] [7][8]

ภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซาน
לשניד דינן Lišānîd d-Jānān
ประเทศที่มีการพูดเคอร์ดิสถาน
ภูมิภาคเยรูซาเลม เดิมมาจาก Bijil ในประเทศอิรัก
จำนวนผู้พูด20 คน  (2004)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3bjf

ภาษานี้เกือบสูญหายแล้ว โดยมีผู้พูดอยู่ในวัยชราประมาณ 20 คนใน ค.ศ. 2004[6]

จุดกำเนิดและการใช้ในปัจจุบัน

แก้

ภาษาของชาวยิวในภาคเหนือของอิรัก ตุรกีตะวันออกและตะวันตกเฉียงเหนือของอิหร่านเป็นภาษาแอราเมอิกใหม่หลากหลายสำเนียง ควายุ่งยากในบริเวณนี้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และการจัดตั้งรัฐอิสราเอลเมื่อ พ.ศ. 2494 ทำให้ชาวยิวในบริเวณนี้ลดลง

ผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่คนสุดท้ายตายเมื่อ พ.ศ. 2541 ผู้พูดเป็นภาษาที่สองที่เหลืออยู่มีอายุมากกว่า 70 ปี โดยเขาเหล่านั้นพูดภาษาฮีบรูหรือภาษาเคิร์ดเป็นภาษาแม่ บางส่วนพูดภาษาอาหรับหรือภาษาแอราเมอิกสำเนียงอื่น จึงถือว่าภาษานี้เป็นภาษาตายโดยสมบูรณ์ ไม่มีหลักฐานที่เชื่อมโยงภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซานเข้ากับภาษาแอราเมอิกใหม่สำเนียงอื่น มีความใกล้เคียงกับภาษาลิซานิด โนซาน ที่ใช้พูดทางตะวันออกเฉียงใต้ของบาร์ซาน ไม่มีข้อมูลหรือเอกสารที่เขียนด้วยภาษานี้

อ้างอิง

แก้
  1. ภาษาแอราเมอิกใหม่ยิวบาร์ซาน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Sabar, Ariel (2008-09-16). My Father's Paradise: A Son's Search for His Jewish Past in Kurdish Iraq. Algonquin Books of Chapel Hill. ISBN 978-1-56512-490-5.
  3. Sabar, Y. (1984). "The Arabic Elements in the Jewish Neo-Aramaic Texts of Nerwa and ʿAmādıya, Iraqi Kurdistan". Journal of the American Oriental Society. 104 (1): 201–211. doi:10.2307/602651. JSTOR 602651.
  4. MUTZAFI, H. (2002). "Barzani jewish neo-aramaic and its dialects". Mediterranean Language Review. 14: 41–70.
  5. Mutzafi, H. (2008). "Trans-Zab Jewish Neo-Aramaic". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 71 (3): 409–431. doi:10.1017/S0041977X08000815. S2CID 162155580.
  6. 6.0 6.1 MUTZAFI, H. (2004). "Two texts in Barzani Jewish Neo-Aramaic". Bulletin of the School of Oriental and African Studies. 67 (1): 1–13. doi:10.1017/s0041977x04000011. S2CID 162990434.
  7. Sabar, Yona (September 1974). "Nursery Rhymes and Baby Words in the Jewish Neo-Aramaic Dialect of Zakho (Iraq)". Journal of the American Oriental Society. American Oriental Society. 94 (3): 329–336. doi:10.2307/600067. ISSN 0003-0279. JSTOR 600067.
  8. Khan, Geoffrey (2004-05-15). Jewish Neo-Aramaic Dialect of Sulemaniyya and Salabja [Halabja], The. Brill. ISBN 90-04-13869-2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้