ภาษาม้งเขียว หรือ ภาษาม้งจั๊ว (Hmong Njua) ภาษาม้งตะวันตก มีผู้พูดทั้งหมด 1,290,600 คน พบในจีน 1,000,000 คน (พ.ศ. 2525) ซึ่งรวมชาวบูนูที่เป็นชนกลุ่มเย้าแต่พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่ 29,000 คนเข้าไปด้วย ในบริเวณกุ้ยโจว เสฉวน และยูนนาน พบในลาว 145,600 คน (พ.ศ. 2538)ทางภาคเหนือ พบในพม่า 10,000 คน (พ.ศ. 2530) พบในไทย 33,000 คน ในจังหวัดตาก น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เชียงราย พะเยา เลย สุโขทัย แพร่ กำแพงเพชร อุทัยธานี พบในเวียดนาม ทางภาคเหนือ พบได้บ้างในจังหวัดทางภาคใต้ เช่น จังหวัดดั๊กลัก มีผู้พูดภาษานี้ในฝรั่งเศสและสหรัฐด้วย

ภาษาม้งเขียว
Hmong Njua
Hmoob Ntsuab
ประเทศที่มีการพูดจีน, เวียดนาม, ลาว, ไทย และสหรัฐ
ชาติพันธุ์ชาวม้ง
จำนวนผู้พูด1,290,600 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ม้ง-เมี่ยน
รหัสภาษา
ISO 639-2hmn
ISO 639-3blu

เข้าใจกันได้กับภาษาม้งขาว จัดอยู่ในตระกูลภาษาม้ง-เมี่ยน ภาษากลุ่มม้ง เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา มีวรรณยุกต์ 3 เสียง

อ้างอิง แก้

  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.