ภาษาป่า
ภาษาป่า เป็นภาษาดั้งเดิมของชาวไทซองที่อาศัยอยู่แถบบริเวณคลองระบม-คลองสียัด ในเขตอำเภอสนามชัยเขตและอำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา และภาษานี้เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาชองในแถบจังหวัดจันทบุรี ภาษาป่านี้ชาวเชื่อว่าเป็นภาษาที่สามารถสื่อสารกับสัตว์ได้ แต่ปัจจุบันไม่มีใครพูดแล้ว น้อยคนนักที่จะรู้ และจำได้ไม่กี่คำ คำเหล่านี้หลงเหลืออยู่ในพิธีกรรมการแต่งงานของชาวไทซอง (ชอง) ที่เรียกว่า ผีตาร๊อต ภาษาป่าไม่มีอักษรเป็นของตนเอง สำเนียงการพูดของคนบ้านป่าคล้ายคนจันทบุรี เดิมรุ่นปู่ย่าตายาย ใช้ภาษาป่าพูดคุย แต่ในรุ่นพ่อแม่ ลูก (อายุประมาณ 70–80 ปี) ไม่มีการสอน อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยกลาง ภาษาป่าจึงหายไปนับสิบปี
ภาษาป่า (ไทซอง) | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย |
ภูมิภาค | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
จำนวนผู้พูด | ภาษาตาย (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | ไม่มี |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
ตัวอย่างคำภาษาป่า
แก้ภาษาป่า | ภาษาชอง | ภาษาไทย | |
---|---|---|---|
1 | ชอ | ชอ | สุนัข |
2 | แกร๊ต | แลก | ไก่ |
3 | คยาง | กยาง | เต่า |
4 | ป๊าว | ป้าว | กระบือ |
5 | ก้าน | คร่าญ | เหล้า |
6 | ม๊อก | ย่าทวด |
ปัจจุบัน
แก้แม้ภาษาป่าจะสูญหายไปแล้ว แต่สำเนียงของชาวบ้านป่าเมื่อพูดภาษาไทย ยังใกล้เคียงกับภาษาถิ่นเมืองจันท์ แต่คำลงท้ายไม่พูด "ฮิ" แต่จะลงท้ายด้วย "โต้" หรือ "แต้" เช่น ไปไหนมาโต้ หรือ ไปไหนมาแต้ ในแถบหมู่บ้านท่าคาน และหมู่บ้านกรอกสะแก จะมีสำเนียงเหน่อมากขึ้นไปอีก แต่ปัจจุบันก็เริ่มหายไปเพราะพูดไทยกลางกัน
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- วิบูลย์ เข็มเฉลิม. วิถีคนป่าตะวันออกผืนสุดท้าย (กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) หน้า 69-71