ภาษาน่าซี

(เปลี่ยนทางจาก ภาษานาซิ)

ภาษาน่าซีเป็นภาษากลุ่มจีน-ทิเบต มีผู้พูดราว 300,000 คน ในลี่เจียง มณฑลยูนนาน ในพ.ศ. 2543 พบผู้พูดภาษานี้ 308,839 คน ในจำนวนนี้ 100,000 คน พูดได้ภาษาเดียว อีกราว 170,000 คน พูดภาษาจีน ภาษาทิเบต หรือภาษาไป๋ เป็นภาษาที่สอง ผู้พูดเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในยูนนาน ส่วนน้อยอยู่ในทิเบต และมีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้พูดภาษานี้ในพม่า เป็นภาษาที่มีการใช้แพร่หลาย มีราว 75,000 คนที่ใช้ภาษานี้ในรัฐบาลท้องถิ่น โรงเรียน และตลาด สื่อในเขตปกครองตนเองทั้งหมดเป็นภาษาน่าซี ภาษานี้เขียนด้วยอักษรตงบา ซึ่งเป็นอักษรน่าซีชนิดหนึ่ง อักษรละตินหรืออักษรกีบา

ภาษาน่าซี
Naxi
ประเทศที่มีการพูดจีน
ภูมิภาคมณฑลยูนนาน และ ทิเบต
จำนวนผู้พูด308,839 คน (2543)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการสาธารณรัฐประชาชนจีน
รหัสภาษา
ISO 639-3

ภาษานี้มี 3 สำเนียงคือ ลี่เจียง ลาเปา และลูเตียน สำเนียงลี่เจียงที่ใช้พูดทางตะวันตกเป็นสำเนียงมาตรฐาน ผู้พูดภาษานี้เรียกตนเองว่า นาคี ซึ่งใช้แทนชื่อเดิมคือ โมโซ

อ้างอิง แก้

  • Chen Jia-Ying. 1994. "The Naxi language." In Stuart R. Milliken (ed.) , SIL occasional papers on the minority languages of China 1 , 25-35: Summer Institute of Linguistics.
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.) , 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.