ภาษางายู (Ngaju language) หรือ ภาษางายา เป็นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียที่มีผู้พูดในบริเวณแม่น้ำกาปวซ, กาฮายัน, กาตีงัน และเมินตายาในจังหวัดกาลีมันตันกลาง ประเทศอินโดนีเซีย มีความใกล้ชืดกับภาษาบากุมไป ภาษานี้มี 3 ภาษาย่อย—ปูโลเปตัก (Pulopetak), บาอามัง (Ba'amang) และมันตาไง (Mantangai)[2]

ภาษางายู
ประเทศที่มีการพูดอินโดนีเซีย
ภูมิภาคกาลีมันตัน
ชาติพันธุ์ชาวงายู
จำนวนผู้พูด890,000 คน  (2546)[1]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3nij
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

สัทวิทยา แก้

พยัญชนะ แก้

พยัญชนะในภาษางายูมีดังต่อไปนี้

เสียงพยัญชนะงายู[3]
ริมฝีปาก โพรงปาก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก m n ɲ ŋ
หยุด p b t d c ɟ k g
เสียดแทรก s h
เปิด
(ข้างลิ้น)
j w
l
รัว r

สระ แก้

สระในภาษางายูมีดังต่อไปนี้ ทุกตัวยกเว้น ə เป็นเสียงยาวได้[3]

เสียงสระงายู[3]
หน้า กลาง หลัง
ปากห่อ
สูง i u
กลาง e ə o
ต่ำ a

คำศัพท์ แก้

การเปรียบเทียบคำศัพท์ระหว่างภาษาบากุมไป ภาษางายู ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาไทย

ภาษาบากุมไป ภาษางายู ภาษาอินโดนีเซีย ภาษาไทย
Jida Dia Tidak ไม่
Beken Beken Bukan ไม่
Pai Pai Kaki เท้า/ขา
Kueh Kueh Mana อันไหน/ที่ไหน
Si-kueh Bara-kueh Dari mana จากไหน
Hituh Hetuh Sini นี่
Si-hituh Intu-hetuh Di sini ที่นี่
Bara Bara Dari จาก
Kejaw Kejaw Jauh ไกล
Tukep/Parak Tukep Dekat ใกล้
Kuman Kuman Makan กิน
Mihup Mihop Minum ดื่ม
Lebu Lewu Kampung หมู่บ้าน
Batatapas Bapukan Mencuci pakaian ซักเสื้อ

อ้างอิง แก้

  1. ภาษางายู ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. Gordon, Raymond G. Jr. (2005). Ethnologue: Languages of the World (15th ed.). Dallas: Summer Institute of Linguistics.
  3. 3.0 3.1 3.2 Mihing & Stokhof (1977)

ข้อมูล แก้

  • Ashn E. Johannes (1971). An Introduction to Dayak Ngaju Morphology (วิทยานิพนธ์ MA). Malang.
  • Mihing, T. W. J.; Stokhof, W. A. L. (1977). "On the Ngaju Dayak sound system (Pulau Petak dialect)" (PDF). ใน Soepomo Poedjosoedarmo (บ.ก.). Miscellaneous Studies in Indonesian and Languages in Indonesia, Part III. NUSA 4. Jakarta: Universitas Katolik Indonesia Atma Jaya. pp. 49–59.