ภารตมาตา
ภารตมาตา (ละติน: Bhārat Mata, ฮินดี จากสันสกฤต ภารตอัมพา Bhāratamba, भारताम्बा; अम्बा อมฺพา แปลว่า 'มารดา') หรือเรียกกันว่า มารดาอินเดีย (อังกฤษ: Mother India) ในภาษาอังกฤษแบบอินเดีย เป็นบุคลาธิษฐานแห่งชาติของประเทศอินเดีย[1] พระนางมักแสดงออกในลักษณะของสตรีที่ปกคลุมด้วยส่าหรีย้อมสีฝรั่น (Saffron) ถือธงชาติอินเดีย บางครั้งประกบข้างด้วยสิงโตอินเดีย[2]
การสร้างบุคลาธิษฐานให้กับอนุทวีปอินเดียโดยใช้การสร้างพระนางภารตมาตานั้นเริ่มมีในปลายทศวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังกบฏอินเดีย ค.ศ. 1857 (Indian Rebellion of 1857) เพื่อต่อต้านการปกครองของบริเตน แนวคิดภารตมาตาเริ่มเป็นที่รับรู้ของผู้คนในฐานะภาพตัวแทนของดินแดนอินเดียเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1882 ซึ่งวาดโดย พังกิมจันทระ จัฏโฏปาธยาย (Bankimchandra Chatterjee) ในหนังสือ "อานันทมฐะ" (Anand Math) ของเขา[3]
ดูเพิ่ม
แก้- ภารตมาตามนเฑียร
- บังคมาตา (Banga Mata)
- ศรีลังกามาตา (Sri Lanka Mata)
- เตลูกูถัลลี (Telugu Thalli)
- พระสยามเทวาธิราช (Siam Devadhiraj)
- วันเดมาตรัม (Vande Mataram)
อ้างอิง
แก้- ↑ "History lesson: How 'Bharat Mata' became the code word for a theocratic Hindu state".
- ↑ Visualizing space in Banaras: images, maps, and the practice of representation, Martin Gaenszle, Jörg Gengnagel, illustrated, Otto Harrassowitz Verlag, 2006, ISBN 978-3-447-05187-3
- ↑ "Far from being eternal, Bharat Mata is only a little more than 100 years old".