ฟุตบอลในประเทศตุรกี

ฟุตบอล เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศตุรกี โดยเริ่มเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิออตโตมัน[1] การแข่งขันฟุตบอลนัดแรกของประเทศจัดขึ้นที่ซาโลนิกาใน ค.ศ. 1875 จากการแนะนำของผู้อาศัยชาวอังกฤษ[2] ในปัจจุบัน ระบบลีกฟุตบอลตุรกีมีลีกอาชีพ 5 ระดับ โดยหนึ่งในนั้นเป็นลีกฟุตบอลหญิง

ฟุตบอลในประเทศตุรกี
ประเทศตุรกี
องค์กรบริหารดูแลสหพันธ์ฟุตบอลตุรกี
ทีมชาติฟุตบอลทีมชาติตุรกี
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
ซือเปร์ลีก
ทีเอฟเอฟ เฟิสต์ลีก
ทีเอฟเอฟ เซคันด์ลีก
ทีเอฟเอฟ เทิร์ดลีก
การแข่งขันระดับนานาชาติ
สนามกีฬาทืร์คเทเลคอม เป็นสนามเหย้าของกาลาทาซาไร

ระบบลีก แก้

ซือเปร์ลีก แก้

ซือเปร์ลีก เป็นลีกฟุตบอลระดับสูงสุดของประเทศ จัดการแข่งขันกันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1959 มีสโมสรเข้าร่วมแข่งขัน 18 สโมสร ทีมชนะเลิศจะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของประเทศ ได้แก่ กาลาทาซาไร, เฟแนร์บาห์แช, เบชิกทัช และแทรปซอนสปอร์ กาลาทาซาไรเป็นสโมสรที่ชนะเลิศซือเปร์ลีกมากที่สุด แต่ถ้าหากนับช่วงลีกก่อนที่จะเป็นซือเปร์ลีกเข้าไปด้วยแล้ว เฟแนร์บาห์แชจะเป็นสโมสรที่คว้าแชมป์มากที่สุด[3] อย่างไรก็ตาม สหพันธ์ฟุตบอลตุรกีไม่รองรับแชมป์รายการเตอร์กิชฟุตบอลแชมเปียนชิและเนชันนัลดิวิชัน แม้ว่ารายการเหล่านั้นจะเคยดำเนินการโดยสหพันธ์ฟุตบอลตุรกีก็ตาม

ทีมที่จบสี่อันดับแรกของลีกจะได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันระดับทวีปยุโรป โดยทีมอันดับที่หนึ่งและสอง จะได้สิทธิ์สำหรับยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทีมอันดับที่สามและสี่ จะได้สิทธิ์สำหรับยูฟ่ายูโรปาลีก สามทีมอันดับสุดท้ายที่มีคะแนนน้อยที่สุดจะต้องตกชั้นสู่ทีเอฟเอฟ เฟิสต์ลีก

ฟุตบอลถ้วย แก้

การแข่งขันฟุตบอลถ้วยสองรายการหลักของประเทศ ได้แก่ เตอร์กิชคัพ ซึ่งเปิดโอกาสให้สโมสรจากลีกทุกระดับเข้าร่วมแข่งขัน และเตอร์กิชซูเปอร์คัพ ซึ่งเป็นการพบกันระหว่างทีมชนะเลิศซือเปร์ลีกกับทีมชนะเลิศเตอร์กิชคัพ

รายการแข่งขันอื่น ๆ ที่ถูกยกเลิก ได้แก่ ไพรม์มินิสเตอร์คัพ, อะตาตืร์กคัพ, อิสตันบูลฟุตบอลคัพ, ฟลีตคัพ, ทีเอสวายดีคัพ และสปอร์โตโตคัพ

ฟุตบอลทีมชาติตุรกี แก้

ฟุตบอลทีมชาติตุรกีแข่งขันนัดแรกเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1923 ในนัดที่เสมอกับโรมาเนีย 2–2 ตุรกีเคยผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายของฟุตบอลโลกสองครั้งในปี 1954 และ 2002 ความสำเร็จมากที่สุดของทีมชาติเกิดขึ้นในฟุตบอลโลก 2002 ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่สาม และฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2003 ซึ่งพวกเขาจบอันดับที่สามเช่นกัน นอกจากนี้ ยังเคยเข้ารอบรองชนะเลิศในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 และเข้ารอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2000[4][5][6][7][8]

อ้างอิง แก้

  1. Aslan Amani (2013-07-19). "Football in Turkey: A force for liberalisation and modernity?". openDemocracy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-13. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  2. "Before the national Turkish leagues". Erdinç Sivritepe. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  3. "Turkey – List of Champions". rsssf.com. Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
  4. James Davis (2002-04-28). "Turkey's world challenge born in Germany". The Observer. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  5. Ian Hawkey (2010-10-11). "Ozil's choice is Germany's gain and Turkey's loss". The National. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  6. Flohr, Markus; Popp, Maximilian (2010-09-17). "Reverse Immigration: Turkey Recruits Players 'Made in Germany'". Spiegel Online. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  7. McCarra, Kevin (7 October 2003). "German foundation beneath Turkey's rise to greatness". the Guardian.
  8. "Dawn of a new Turkish era - Soccer - www.theage.com.au". www.theage.com.au.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้