ฟิลลิพ ไชเดอมัน
ฟิลลิพ ไฮน์ริช ไชเดอมัน (เยอรมัน: Philipp Heinrich Scheidemann) เป็นนักการเมืองชาวเยอรมันสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมนี (SPD) ซึ่งในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 เขามีบทบาทสำคัญทั้งในระดับพรรคการเมืองและในระดับประเทศในยุคที่พึ่งเปลี่ยนผ่านเป็นสาธารณรัฐ ในระหว่างที่ประเทศเยอรมนีอยู่ในช่วงการปฏิวัติเยอรมัน ค.ศ. 1918 ไชเดอมันเป็นผู้ป่าวประกาศสถาปนาสาธารณรัฐเยอรมันจากระเบียงของอาคารไรชส์ทาค ความว่า "...ระบอบเก่าและผุพัง ซึ่งก็คือราชวงศ์ ได้ล่มสลายลงแล้ว ระบอบใหม่จงเจริญ! สาธารณรัฐเยอรมันจงเจริญ!"[2]
ฟิลลิพ ไชเดอมัน | |
---|---|
Philipp Scheidemann | |
มุขมนตรีเยอรมนี | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กุมภาพันธ์ 1919 – 20 มิถุนายน 1919 | |
ประธานาธิบดี | ฟรีดริช เอเบิร์ท |
ก่อนหน้า | ฟรีดริช เอเบิร์ท (ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี) |
ถัดไป | กุสทัฟ เบาเออร์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ฟิลลิพ ไฮน์ริช ไชเดอมัน 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1865[1] คัสเซิล, รัฐผู้คัดเลือกเฮ็สเซิน (ปัจจุบัน เยอรมนี) |
เสียชีวิต | 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 (อายุ 74 ปี) โคเปนเฮเกน, เดนมาร์ก |
ศาสนา | ลัทธิคาลวิน |
พรรคการเมือง | พรรคประชาธิปไตยสังคม |
คู่สมรส | Johanna Dibbern |
บุตร | Lina Liese Hedwig |
ในปี 1919 เขาได้รับเลือกเป็นมุขมนตรีเยอรมนีโดยมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ณ เมืองไวมาร์ อย่างไรก็ตาม เขาดำรงตำแหน่งได้ไม่กี่เดือนก็ลาออกเนื่องจากขาดความสมานฉันท์ในคณะรัฐมนตรีของเขา ในประเด็นเกี่ยวกับว่าจะยอมรับหรือไม่ยอมรับสนธิสัญญาแวร์ซาย ซึ่งหลังลาออกจากหัวหน้ารัฐบาล ไชเดอมันก็ยังคงเป็นสมาชิกไรชส์ทาคต่อเนื่อง และเมื่ออดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ขึ้นสู่อำนาจเบ็ดเสร็จในปี 1933 เขาก็ลี้ภัยไปยังประเทศออสเตรีย เพราะตัวเองเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกพรรคนาซีประกาศว่าเป็น "อาชญากรพฤศจิกายน"
ภายหลังลี้ภัยออกจากเยอรมนีได้ไม่นาน ไชเดอมันถูกถอดสัญชาติเยอรมันในเดือนสิงหาคมของปีนั้น[3] ระหว่างนี้เขาก็ได้เดินทางเยือนหลายประเทศ ได้แก่เชโกสโลวาเกีย, สวิตเซอร์แลนด์, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา และท้ายที่สุดก็ตัดสินใจปักหลักในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กในปี 1935 แม้ว่าในช่วงนี้ สุขภาพของเขาจะทรุดลงตามลำดับ แต่เขาก็ยังติดตามการเมืองเยอรมันอย่างใกล้ชิดและตีพิมพ์บทความอย่างต่อเนื่อง เขาเสียชีวิตในเดือนพฤศจิกายน 1939 ซึ่งเพียงสี่เดือนหลังการเสียชีวิต เยอรมนีก็ส่งทหารเข้ายึดครองประเทศเดนมาร์ก
อ้างอิง
แก้- ↑ Vogt, Martin (1997), "Müller (-Franken), Hermann", Neue Deutsche Biographie (ภาษาเยอรมัน), vol. 18, Berlin: Duncker & Humblot, pp. 410–414; (full text online)
- ↑ ข้อความต้นฉบับ: "...Das Alte und Morsche, die Monarchie ist zusammengebrochen. Es lebe das Neue; es lebe die deutsche Republik!"
- ↑ Hepp, Michael (1985). Die Ausbürgerung deutscher Staatsangehöriger 1933–45 nach den im Reichsanzeiger veröffentlichten Listen, Band 1: Listen in chronologischer Reihenfolge [The Expatriation of German Nationals 1933-45 According to Lists Published in the Reichsanzeiger, Volume 1: Lists in Chronological Order] (ภาษาเยอรมัน). Munich: De Gruyter Saur. p. 3. ISBN 978-3-11-095062-5.