ฟิฟทีน ซีนเนอรี่

ฟิฟทีน ซีนเนอรี่ (อังกฤษ: 15th Scenery) เป็นวงดนตรีของไทยที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รุ่นที่ 15 ที่มีชื่อรุ่นว่า ฉาก ซึ่งพวกเขาได้นำมาตั้งเป็นชื่อวงว่า ฟิฟทีน ซีนเนอรี่ (15th Scenery) เพื่อเป็นการจดจำถึงตำนานและวีรกรรมในสมัยเรียน ซึ่งพวกเขาพักอยู่หอพักเดียวกัน และด้วยความหลงใหลในดนตรีเหมือนกัน พวกเขาจึงรวมตัวกันเล่นดนตรีกันแทบจะทุกวัน จนเลยเถิดถึงขั้นติด F ติดโปรกันไปบ้าง แต่สุดท้ายพวกเขาก็เอาตัวรอด เรียนจบกันมาได้ พร้อมกับมีรางวัลรองชนะเลิศการประกวดวงดนตรี ของมหาวิทยาลัยติดมือมาด้วย

ฟิฟทีน ซีนเนอรี่ (15th Scenery)
ที่เกิดประเทศไทย กรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลงป็อบ,อิเล็กทรอนิกส์ ป็อบ
ช่วงปีพ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงสมอลล์รูม
สมาชิกปริศนา ลิมปนพงศ์เทพ (บี) - ร้องนำ/คีย์บอร์ด
เฉลิมพันธ์ ปัญจมพิรมย์ (พัน) - กีตาร์
ชวลิต คณาวุฒิกานต์ (เชา) - กลอง
ธนพล วรรณประสิทธิ์ (โอม) - เบส
ชัยบวร ศรีลูกหว้า (เจม) - กีตาร์/คีย์บอร์ด

พวกเขาเล่นดนตรีมาหลายแนว เริ่มจากแนวหนัก ๆ แบบฮาร์ดคอร์ พอโตขึ้นมาเรื่อย ๆ จึงมาลงตัวที่แนวที่ฟังสบาย ๆ แบบอิเลคโทรป็อป ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากดนตรีป็อปทางฝั่งสแกนดิเนเวียน บวกกับจังหวะสนุกๆของดนตรีเต้นรำในยุค 80’s , 90’s อาทิพวก disco, baggy, synth pop แล้วเติมสีสันให้เมโลดี้ด้วยเสียงซินธิไซเซอร์ผสมกับเสียงร้องบางเบาสดใสฟังสบาย ๆ และจากตอนแรกที่นักร้องนำเป็นผู้ชาย ก็ลองเปลี่ยนแนวเป็นนักร้องผู้หญิง โดยพวกเขาได้ไปชักชวน เพ่ย เพื่อนร่วมรุ่น มาเป็นนักร้องนำ และก็มีงานเล่นคอนเสิร์ตตามงานคณะต่าง ๆ บ้างแต่ก็ไม่จริงจังเท่าไหร่

จวบจนเมื่อปี พ.ศ. 2546 พวกเขาได้มารู้จักกับค่ายเพลง สมอลล์รูม จากการแวะมาช่วย อาร์มแชร์ (Armchair) ในสมัยที่ยังใช้ชื่อวงว่า เชคเกอร์(Shaker) ทำเพลงในอัลบั้ม SR 001 พวกเขาจึงเริ่มต้นทำงานเพลงกันอย่างเต็มความสามารถ แล้วหมั่นส่งผลงานเข้ามาให้ค่ายเพลง สมอลล์รูม พิจารณาอยู่ไม่ขาด จนมาได้รับการตอบรับกับเดโมเพลงที่ 4 ซึ่งมีสไตล์ตรงกันกับอัลบั้ม SR 003 พอดี ซึ่งทำให้พวกเขาได้มีผลงานของตัวเองชิ้นแรกคือเพลง ดอกไม้กับนายกระจอก หรือ butterfly day ที่ถูกรวบรวมอยู่ในอัลบั้ม smallroom 003 : the new colour

นักร้องคนใหม่

แก้

หลังจาก ดอกไม้กับนายกระจอก ผลงานเพลงชิ้นแรกของพวกเขาซึ่งรวมอยู่ในอัลบั้ม smallroom 003 วางแผงได้เพียงไม่นาน เพ่ย นักร้องนำ ก็เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศจีน และ อั้ม มือกีตาร์ของวง เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ส่วนสมาชิกท่านอื่น ๆ ของวงก็แยกย้ายกันไปทำงานประจำตามสายงานที่ได้เล่าเรียนมา แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้จะไม่เป็นที่กล่าวขวัญกันเท่าใดนักสำหรับผลงานเพลงชิ้นแรกของพวกเขา แต่ด้วยเนื้อเพลงที่แปลกใหม่ อารมณ์ดี ที่ร้องด้วยเสียงเบาสบายบวกกับดนตรีสนุก ๆ ก็ทำให้พวกเขามีกลุ่มแฟนเพลงที่เหนียวแน่นกลุ่มหนึ่ง ที่สนใจและเฝ้ารอคอยผลงานของพวกเขาอยู่ตลอด

ขณะที่สมาชิกท่านอื่น ๆ ต่างแยกย้ายกันไปทำงานตามสายอาชีพที่เล่าเรียนมา เจม ยังคงปักหลักอยู่ที่ สมอลล์รูม คอยทำโปรดักชั่น เก็บเกี่ยวประสบการณ์ในห้องอัด และได้ร่วมงานกับศิลปินของสมอลล์รูม หลายวง ซึ่งหลายคนอาจจะเคยพบเห็นเขาในชุดเพนกวินแสนน่ารัก ไปร่วมเล่นคอนเสิร์ตร่วมกับ เพนกวินวิลล่า อยู่บ่อย ๆ

ในขณะที่ช่วยทำเพลงให้กับศิลปินวงอื่น ๆ เจมก็ยังไม่ทิ้งวงของตัวเอง เขาดั้นด้นค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ที่เหมาะสมให้กับวง ซึ่งขาดเพ่ยและอั้มไป และได้ชักชวนเพื่อน ๆ สมาชิกท่านอื่น ๆ ที่เหลืออยู่ให้มารวมตัวกัน ช่วยกันซ้อม ช่วยกันแต่งเพลงเก็บไว้แทบทุกสัปดาห์ จวบจน บี บัณฑิตสาวจาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรากฏตัวขึ้นที่วง ด้วยการชักชวนของ โอม มือเบสของวง ก็ทำให้แนวทางของวงชัดเจนยิ่งขึ้น จากเพลงที่เคยแต่ง เคยซ้อมกันไว้มากมาย แต่เมื่อนำมาซ้อมกับบี ก็ทำให้พวกเขาค้นพบว่า บางเพลงก็หนักไป หรือแข็งไป ที่จะให้นักร้องนำผู้หญิงร้อง ทางวงจึงปรับเปลี่ยนแนวทางให้ออกมาน่ารัก สดใสมากยิ่งขึ้น

และเมื่อวงเริ่มลงตัว โดยมีนักร้องนำคนใหม่ และปรับตำแหน่งต่าง ๆ ในวงจนเข้าที่แล้ว พวกเขาก็เริ่มออกตระเวณเล่นคอนเสิร์ตตามงาน มิวสิคเฟสติวัล ต่าง ๆ เช่น แฟตเฟสติวัล อยู่ไม่ขาดสาย จนทำให้พวกเขาเริ่มเป็นที่สนใจของกลุ่มแฟนเพลงที่ชอบและติดตามงานของพวกเขามาตั้งแต่ SR 003 อีกครั้ง รวมทั้งยังได้แฟนเพลงใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น จากการเล่นคอนเสิร์ตตามงานต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งแฟนเพลงเหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันสู่อัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกของพวกเขา FIRST

สมาชิกยุคปัจจุบัน

แก้

สมาชิกยุคแรก

แก้

ผลงาน

แก้

อัลบั้ม

แก้

อัลบั้มรวมเพลง และผลงานอื่นๆ

แก้
  • ดอกไม้กับนายกระจอก Butterfly Day (4:31) - smallroom 003 : the new colour
  • Happy like a honeybee (3:46) - smallroom 006 : flipper's players
  • น้ำหนัก (cover) (5:10)

smallroom 003 : the new colour

แก้

พ.ศ. 2546 หลังจากที่พวกเขาทั้งหกคน เจม เพ่ย อั้ม พัน เชา โอม ได้ร่วมกันทำเพลงเดโมมาเสนอสมอลล์รูม จนได้รับการติดต่อให้เข้าร่วมในอัลบั้ม smallroom 003 : the new colour อัลบั้ม compilation ลำดับที่ 3 ก็ของสมอลล์รูม ในอัลบั้มนี้เป็นการรวบรวมวงหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีผลงานใน 001 และ 002 มาก่อน เช่น Butterfly day จาก ฟิฟทีน ซีนเนอรี่, เวียน จาก โนโลโก้, In your head จาก มณฑล จิรา รวมทั้งยังมีวงดนตรีจากต่างประเทศเช่น ญี่ปุ่น, เยอรมัน, ฝรั่งเศส มารวมอยู่ในอัลบั้มนี้ด้วย เพื่อเน้นความเป็น the new colour ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Paperdisc

แก้

พ.ศ. 2550 หลังจากเปลี่ยนแปลงและปรับตำแแหน่งต่าง ๆ ในวงจนเข้าที่ และเริ่มทำอัลบั้มกันอย่างจริงจัง อัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกของพวกเขา ก็ถือกำเนิดขึ้น ในนามว่า FIRST ซึ่งถูกรวมอยู่ใน Paperdisc หนังสือฟังได้สุดเก๋ของสมอลล์รูม ที่รวบรวม บทเพลงไว้ถึงสามอัลบั้ม ได้แก่ อัลบั้ม FIRST อัลบั้มเต็มอัลบั้มแรกของ ฟิฟทีน ซีนเนอรี่, My name is dos ผลงานอัลบั้มที่สองจาก ซินดี้ ซุย และ One Two ~ Three อีพี จาก ยูริส์ นอมินี รวมทั้งสิ้น 27 เพลง และยังมีบทความจากวงต่างๆของ สมอลล์รูม เอาไว้ให้แฟน ๆ ได้อ่านกันเพลิน ๆ

smallroom 006 : flipper's players

แก้

พ.ศ. 2550 สำหรับอัลบั้มนี้ สมอลล์รูม ได้เลือกวงต่าง ๆ หลากหลายแนวของ สมอลล์รูม มา Cover เพลง ในอัลบั้ม Three cheers for our side ของ The Flipper’s Guitar ซึ่งเป็นวงชื่อดังในตำนานของ ญี่ปุ่น แต่ตอนนี้แตกวงไปแล้วในโอกาสที่วงนี้ ครบรอบ 17 ปี รวมทั้งหมด 13 เพลง ซึ่งวงที่มาร่วม ทำเพลงในอัลบั้มนี้ก็อย่างเช่น เพนกวินวิลล่า, ซูเปอร์เบเกอร์, แทททู คัลเล่อร์, เลม่อนซุป, ยูริส์ นอมินี, ซินดี้ ซุย, บอล จารุลักษณ์ และวงน้องใหม่อย่าง เดอะ ริชแมน ทอย, ออนออฟออน และ โฟโน เป็นต้น ซึ่ง ฟิฟทีน ซีนเนอรี่ ก็ได้เข้าร่วมกับอัลบั้มนี้ ในเพลง Happy like a honeybee

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้