ฟักเขียว

สปีชีส์ของพืช
ฟักเขียว
สัณฐานวิทยาของฟักเขียว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Cucurbitales
วงศ์: Cucurbitaceae
วงศ์ย่อย: Cucurbitoideae
สกุล: Benincasa
สปีชีส์: B.  hispida
ชื่อทวินาม
Benincasa hispida
Thunb.

ฟักเขียว หรือ ฟักแฟง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Benincasa hispida; อังกฤษ: winter melon) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า "ฟัก" เป็นผักพื้นบ้านพืชล้มลุกจำพวกไม้เถาตระกูลแตงลำ ใบสีเขียวลักษณะหยักหยาบ ดอกมีสีเหลือง ผลกลมยาวมีนวลขาว ปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก และเอเชียใต้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

 
ดอกเพศเมีย
 
ผลแก่ฟักเขียว

ฟักเขียวเป็นพืชอายุสั้น มีลำต้นสีเขียวมีขนขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วลำต้น แตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบมีลักษณะเป็นหยักคล้ายฝ่ามือขอบใบแยกออกเป็น 5–7 แฉก ปลายแฉกแหลมใบหยาบเรียงสลับกันตามข้อต้น ใบกว้างประมาณ 5–15 เซนติเมตร มีขนปกคลุม ก้านใบยาวประมาณ 10 เซนติเมตร มีดอกเดี่ยว (Solitary Flower) สีเหลือง ดอกเพศผู้มีลักษณะเป็นหลอดยาว 5–10 เซนติเมตร ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียก้านดอกจะสั้นกว่าดอกเพศผู้ ปลายดอกแยกออกเป็น 3 แฉก มีรังไข่อยู่ภายในดอก ผลมีลักษณะเป็นรูปกลมยาวกว้างประมาณ 20–30 เซนติเมตร ยาว 30–60 เซนติเมตร เปลือกแข็งสีเขียวเนื้อในสีขาว เนื้อแน่น ฉ่ำน้ำ มีเมล็ดอยู่ภายในจำนวนมากสีขาวออกเหลือง

การปลูก แก้

 
เมล็ดของฟักเขียว
 
ภายในของผลแก่

ฟักเขียวขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด ปลูกได้ดีในดินร่วนปนทรายโดยการนำเมล็ดที่เตรียมไว้หยอดลงหลุมลึกประมาณ 3–5 เซนติเมตร ประมาณ 2–3 เมล็ด กลบหลุมและรดน้ำสม่ำเสมอทุกวันโดยเฉพาะช่วงติดดอกและผลมิฉะนั้นอาจทำให้ดอกและผลที่ติดหลุดร่วงได้ ในช่วงเวลา 15 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยวควรหยุดการให้น้ำเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในช่วง 35–60 วัน

คุณค่าทางโภชนาการ แก้

คนไทยมักนำผลฟักเขียวมาประกอบอาหารในประเภท ต้ม ผัด แกงหรือนำมาทำขนมหวานในเทศกาล เมนูยอดนิยมของฟักเขียวที่รู้จักกันดี คือ แกงจืดฟักต้มกับไก่ แกงเขียวหวานไก่ฟักเขียว แกงเลียง ฟักเขียวผัดกับหมูใส่ไข่ ฟักเชื่อม และยอดอ่อนลวกหรือต้มกะทิรับประทานทานคู่กับน้ำพริก ทั่วโลกนิยมนำผลฟักเขียวมาบริโภคทั้งแบบดิบและสุก เช่น ฟักเขียวดอง แกงเผ็ด หรือกวนแยม ฟักเขียวสามารถบริโภคได้ทั้งผลอ่อนและผลแก่ โดยผลอ่อนรสชาติจะเข้มกว่าผลแก่ มีน้ำมาก ใบอ่อนและตาดอก นำไปนึ่งหรือใส่ในแกงจืดเพิ่มรสชาติ ส่วนเมล็ดอุดมไปด้วยน้ำมันและโปรตีนโดยทำให้สุกสามารถกินได้ แต่มีข้อควรระวังสำหรับคนที่มีปัญหาทางด้านการขับถ่าย และมีอาการแน่นหน้าอก ไม่ควรรับประทาน

  • ตารางคุณค่าทางโภชนาการของฟักต่อผลสด 100 กรัม(g.)
พลังงาน ( Energy ) 13 cal.
โปรตีน ( Protein ) 0.4 g
ไขมัน ( Fat ) 0.2 g
คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate ) 3 g
ใยอาหาร( Fiber) 0.4 g
แคลเซียม ( Calcium ) 19 mg
ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) 19 mg
ธาตุเหล็ก ( Iron ) 0.4 mg
โซเดียม ( Sodium ) 6 mg
โพแทสเซียม ( Potassium ) 111 mg
วิตามินบี 1 ( Thiamin ) 4 mg
วิตามินบี 2 ( Riboflavin ) 0.11 mg
ไนอะซิน ( Niacin ) 0.4 mg
วิตามินซี ( Vitamin C ) 13 mg

สรรพคุณทางยา แก้

  • ใบ – แก้ฟกช้ำ แก้พิษผึ้งต่อย ช่วยรักษาบาดแผล แก้โรคบิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้บวมอักเสบมีหนอง
  • ผล – ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ แก้ธาตุพิการ แก้โลหิตเป็นพิษ บวมน้ำ หลอดลมอักเสบ
  • เมล็ด – ลดไข้ แก้ริดสีดวงทวาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้ไตอักเสบ บำรุงผิว ละลายเสมหะ
  • ราก – แก้ไข้ แก้กระหายน้ำ ถอนพิษ
  • เถาสด – รสขมเย็น ใช้รักษาริดสีดวงทวาร มีไข้สูง
  • เปลือก – บำบัดอาการบวมน้ำ ขับปัสสาวะ แก้ท้องเสีย แผลบวมอักเสบมีหนอง

การเลือกฟักเขียว แก้

วิธีการเลือกฟักเขียว ควรเลือกฟักเขียวที่มีเนื้อแข็ง เพราะจะมีรสหวานและกรอบเมื่อนำมาปรุงอาหาร ลักษณะภายในของฟักเขียวที่ดีนั้นควรจะมีขอบของเนื้อเป็นสีเขียวเข้มแล้วค่อย ๆ จางเป็นสีขาวจนถึงตรงกลาง ฟักเขียวสามารถเก็บรักษาได้นานเป็นเดือนหรือค่อนปีโดยมีแว็กซ์หรือขี้ผึ้งเคลือบภายนอก

ชื่อท้องถิ่น แก้

ในประเทศไทยมีชื่อเรียกตามท้องถิ่นต่างกันไป เช่น

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ฟักเขียว