พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย
(เปลี่ยนทางจาก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 2550)

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายไทย ประเภท พระราชบัญญัติ ตราโดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ ลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2550, ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 และมีผลใช้บังคับในอีกสามสิบวันให้หลัง คือ ตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม 2550

พระราชบัญญัติว่าด้วย
การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2550
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษา: เล่ม 124/ตอนที่ 27 ก/หน้า 4/18 มิถุนายน 2550
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ลงนามพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, พระมหากษัตริย์
วันลงนาม10 มิถุนายน 2550
ผู้ลงนามรับรองพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์, นายกรัฐมนตรี
วันประกาศ18 มิถุนายน 2550
(ราชกิจจานุเบกษา: เล่ม 124/ตอนที่ 27 ก/หน้า 4/18 มิถุนายน 2550)
วันเริ่มใช้17 กรกฎาคม 2550
(สามสิบวันหลังจากวันประกาศ)
ท้องที่ใช้ทั่วประเทศไทย
ผู้รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เว็บไซต์
บทบัญญัติ
ภาษาไทยภาษาอังกฤษ

นายธงชัย พลหาญ แก้

โครงสร้าง แก้

การตรวจชำระ แก้

การนำไปปฏิบัติ แก้

ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2550 ถึงธันวาคม 2554 มีการเปิดเว็บไซต์ทั้งสิ้น 81,213 ยูอาร์แอล ประมาณร้อยละ 75 เป็นเนื้อหาและภาพดูหมิ่น หมิ่นประมาท พระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท แม้กฎหมายกำหนดให้ศาลเป็นองค์กรผู้กลั่นกรองคำร้องให้ปิดกั้นเว็บไซต์ แต่พบว่าจากคำสั่งศาลทั้งสิ้น 156 ฉบับ มีถึง 142 ฉบับที่ศาลออกคำสั่งในวันเดียวกันกับที่กระทรวงไอทีซียื่นคำร้อง โดยในปี 2552 และ2553 ศาลมีคำสั่งปิดกั้นโดยเฉลี่ยถึง 326 ยูอาร์แอลต่อวัน และ 986 ยูอาร์แอลต่อวันตามลำดับ[1]

คดีความตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พบว่า มีคดีความทั้งสิ้น 325 คดี ซึ่งพบว่าคดีที่ขึ้นสู่ชั้นศาลเป็นคดีที่เกี่ยวกับการเผยแพร่เนื้อหาร้อยละ 66.15 ขณะที่คดีที่กระทำต่อตัวระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่า อาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยแท้ คิดเป็นร้อยละ 19 เท่านั้น[1]

วันที่ 12 เมษายน 2560 รักษาราชการแทนปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมลงนามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้ประชาชนงดการติดตาม ติดต่อหรือเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ และแอนดรูว์ แม็กเกรเกอร์ มาร์แชลล์ โดยอ้างคำสั่งศาลอาญาให้ระงับการแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันไม่เหมาะสมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550[2]

ตั้งแต่ปี 2561 ทางการฟ้องความผิดเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แทน[3] เช่น จากโพสต์ #ขบวนเสด็จ ที่พูดถึงการปิดถนนให้ขบวนเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ผ่านในปี 2562 ถูกดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์[4]

การวิพากษ์วิจารณ์ แก้

การบัญญัติฐานความผิดที่ไม่ชัดเจน ทำให้มีการใช้มาตรา 14 (2) “ความเสียหายต่อความมั่นคง” ควบคู่กับคดีความมั่นคง และมาตรา 14 (3) “ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” ร่วมกับประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[1]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้