พูดคุย:เพลงใต้ดิน
|
|
คือ เพลงหรือดนตรีของศิลปิน ที่ไม่มีสังกัดที่เป็นหลักฐานแน่นอน" หรือ "เพลงที่ไม่สามารถออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้" หรือ "เพลงที่ศิลปิน หรือ นักแต่งเพลง ทำกันเอง และไม่ได้เผยแพร่อย่างกว้างขวาง"
คำว่าเพลงใต้ดินไม่ใช่แนว แต่เป็นคำจำกัดความของชนิดของเพลงชนิดนี้ ที่มาของคำว่าเพลงใต้ดิน เป็นการเรียกเปรียบเทียบว่า เพลงที่มีสังกัดแน่นอนเช่นเพลงของค่าย RS, GMM Grammy, ฯลฯ เป็นเพลงบนดิน ที่มีคนฟังอยู่ตลอด และรู้จักตลอด ส่วนเพลงที่สาธารณชนไม่ได้รู้จัก เปรียบเสมือนเพลงที่ไม่มีใครพบเห็น เพราะมันอยู่ใต้ดิน ไม่มีใครทราบแน่ชัด
แนวที่เพลงใต้ที่เหล่าศิลปินนิยมทำส่วนใหญ่เป็นเพลงร็อกที่มีความหนัก เช่นแนว อัลเทอร์เนทีฟร็อก, ฮาร์ดร็อก, โมเดิร์นร็อก, พังค์ร็อก, เฮฟวี่เมทัล เป็นต้น หรือในแนวฮิปฮอปที่มักมีเนื้อหาหยาบคาย
เพลงใต้ดินเริ่มเป็นที่รู้จักกันในเมืองไทย ประมาณปี พ.ศ. 2537 โดยกลุ่มศิลปินที่ชื่อว่า ซีเปีย เป็นต้น --Horus | พูดคุย 18:41, 23 ตุลาคม 2552 (ICT)
Underground
แก้เพลงใต้ดิน (อังกฤษ: Underground music) หมายถึงแนวเพลงหลายประเภทที่สร้างวัฒนธรรมย่อยขึ้นมา โดยมักไม่ปรากฏตามกระแส หรือการส่งเสริมทางธุรกิจ วงดนตรีของแนวเพลงใต้ดินมักจะเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอิสระ มักมีการแสดงในที่พบปะขนาดเล็ก และโปรโมตผลงานของตนเองแบบปากต่อปาก ทางไซต์อินเทอร์เน็ต หรือวิทยุชุมชน
ขณะที่คำดังกล่าวได้อธิบายถึงแนวเพลงในวงกว้าง แต่แนวเพลงเหล่านี้ต่างก็มีลักษณะบางประการที่เหมือนกัน อย่างเช่น ความจริงใจและความสนิทสนม การเน้นในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ และการเห็นคุณค่าในความคิดสร้างสรรค์ของศิลปิน เพลงใต้ดินเหล่านี้จำนวนไม่มากนักที่ถูกปิดบังต่อคนภายนอกอย่างสมบูรณ์
แนวเพลงใต้ดินบางประเภทไม่เคยปรากฏตามกระแสเลย แต่บางแนวก็กลายมาเป็นกระแสหลัก แนวเพลงป๊อปที่ถูกส่งเสริมทางธุรกิจ จากความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีดิจิตอลทำให้เพลงใต้ดินสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น