พูดคุย:หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่

หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิพระมหากษัตริย์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ และพระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 โครง  บทความนี้อยู่ที่ระดับโครง ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ละเมิดลิขสิทธิ์ แก้

  • ต้นฉบับ
    • เมื่อเจริญพระชันษาได้ 4 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระบิดาทรงเป็นแม่ทัพใหญ่เสด็จไปปราบฮ่อทางมณฑลอุดร และเป็นข้าหลวงสำเร็จราชการอยู่ที่นั้นเป็นเวลาหลายปี จึงทรงถวายองค์พระโอรสไว้แก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระโอรสในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อเจริญชันษาขึ้นได้เล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารด้วยกันกับพระราชกุมารของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกเวลาเรียนก็ได้ตามเสด็จเจ้านายเล็กๆ ขึ้นไปเล่นอยู่บนพระราชฐาน จนเป็นที่คุ้นเคยของพระบาท สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว(รัชการที่ 5) การเล่าเรียนของ ม.จ.ทองฑีฆายุ อยู่ในขั้นรุ่งโรจน์ เรียนเร็ว จำเร็ว แต่ไม่ขยันหมั่นเพียรนัก ทรงได้รับขนานนามเป็น เจ้ากรมซน ประจำพระราชฐาน
    • เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสวรรคตแล้ว และ ม.จ.ทองฑีฆายุ มีชันษาสมควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เกษากันต์ในพระราชพิธีตรุษ
    • ปี พ.ศ.2441 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้เสด็จกลับจากไปทรงศึกษาในโรงเรียน ทหารม้าที่ประเทศรัสเซียชั่วคราว และจะเสด็จกลับออกไปอีก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ ม.จ.ทองฑีฆายุฯ โดยเสด็จออกไป ศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย ขณะนั้นชันษาได้ 12 ปี เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถโปรดปราน ม.จ.ทองฑีฆายุ ถึงกับทรงรับเลี้ยง เป็นลูกเลี้ยงไว้องค์หนึ่ง
    • หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (Military Page School) ในประเทศรัสเซียตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2441 สมเด็จพระเจ้านิโคลัสที่ 2 แห่งกรุงรัสเซียโปรดให้สังกัดในกรมทหารม้าฮุสซาร์ที่เมืองเปโตรกราด (เลนินกราดในปัจจุบัน) กรมทหารม้า ฮุสซาร์นั้นเป็นทหารม้าเบาเคลื่อนที่เร็ว จัดเป็นกรมทหารม้าประจัญบานมีประวัติการรบบนหลังม้าที่เกรียงไกรไม่แพ้ทหารม้าดอสแซด
    • ปี พ.ศ.2451 พระเจ้าอยู่หัวประเทศรัสเซียโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นนายร้อยตรี สังกัดนายทหารนอกกอง กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นกรมที่หรูหราที่สุดในรัสเซียในสมัยนั้น และในระหว่างประจำกรม ได้ทรงมีโอกาสศึกษาวิชาพิเศษ คือ วิชาเคมี วิชาเสนาธิการทหารบก และวิชาสัตวแพทย์ตลอดระยะเวลา 3 ปี ก่อนเสด็จกลับพระนคร
    • ปี พ.ศ.2452 ม.จ.ทองฑีฆายุ ได้เข้าโรงเรียนทหารม้าเฉพาะสำหรับนายทหารม้าเฉพาะสำหรับนายทหารชั้นสูง (Cavalry School for Officers) และจบจากโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ.2454
    • ปี พ.ศ.2454 ในตอนต้นปี ม.จ. ทองฑีฆายุ ได้สมรสกับ นางสาวลุดมิล่า บาร์ซูก๊อฟ ธิดาคนโตของนายแชร์เก อิวาโปวิท์ซ บาร์ซูก๊อฟ เลขาธิการกรมศิลปากร เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก ต้นตระกูลบาร์ซูก๊อฟ เป็น คอสแซค และรับราชการในราชสำนักมาตลอดหลายสมัย
    • เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก ประชานารถซึ่งเสด็จราชการในยุโรป จะเสด็จกลับพระนคร ประจวบกับ ม.จ. ทองฑีฆายุ ได้สำเร็จการเล่าเรียน จึงได้โดยเสด็จกลับพระนครเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2454 นั้นเอง ม.จ. ทองฑีฆายุ ได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระปิตุลาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถเป็นส่วนพระองค์มากมาย นอกจากจะทรงเลี้ยงไว้ดุจพระโอรสบุญธรรม ยังทรงสร้างวังประทานที่ถนนเศรษฐศิริ บางซื่อ มีที่ดินกว้าง 4 ไร่ ทรงให้ช่างฝรั่งออกแบบและดำเนินการสร้าง ทรงอนุเคราะห์ ม.จ. ทองฑีฆายุ และหม่อมลุดมิล่า ตลอดจนโอรสธิดาด้วยพระเมตตาสม่ำเสมอ เมื่อสมเด็จพระปิตุลาธิราชได้เข้าเริ่มรับภาระอำนวยหลักการของทหารบก ม.จ.ทองฑีฆายุ ซึ่งสำเร็จวิชาทหารม้า จึงได้สนองพระเดชพระคุณทันเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในการจัดระบบงานของกองทัพบก
    • ตำแหน่งทางราชการครั้งแรกของ ม.จ.ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ เมื่อกลับจากประเทศรัสเซีย ใน พ.ศ.2454 คือ นายทหารประจำแผนกจเรทหารม้า ยศร้อยโท และเป็นราชองครักษ์เวร ในระหว่างที่ประจำกรมอยู่ที่นั้น ทรงดำริว่า "ม้าของทหารบกในเวลานั้นก็มีอยู่มาก ตลอดจนช้าง โค กระบือ แต่ไม่มีสัตวแพทย์สำหรับช่วยรักษาและบำรุงเลี้ยงดูตลอดจนดูแล ให้มีการใช้งานที่ถูกที่ควร คงมีแต่นายสัตวแพทย์ แผนโบราณเพียงไม่กี่นาย"
    • ปี พ.ศ.2455 ได้ทรงขอตั้งโรงเรียนนายดาบสัตวรักษ์ เพื่อผลิตนายสัตวแพทย์ที่มีความรู้ทั้งทางวิชาการรักษาสัตว์และวิชาสัตวบาล ร่วมกัน ต่อมาได้ทรงเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนนายสิบสัตวรักษ์" และเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก" ในภายหลัง ดังนั้นในต้นปีนี้ จึงถือได้ว่า โรงเรียนสอนวิชาสัตวแพทย์แห่งแรกในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น นักเรียนในโรงเรียนอัศวแพทย์รุ่นแรกนั้นคัดเลือกจากนายสิบตามกองทหารต่างๆ ที่มีความรู้หนังสือไทย ภาษาและมีความประพฤติดีพอใช้ โดยให้สอบคัดเลือกความรู้จากกองพลละ 2 - 3 นาย เมื่อคัดเลือกได้แล้วให้ส่งไป ที่กรมเจรทหารบก เพื่อสอบคัดเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้จำนวนนักเรียน 20 คนตามความต้องการ ที่เหลือส่งกลับหน่วย ลูกศิษย์ของท่าน รุ่นแรกได้แก่ หลวงสนิทรักษาสัตว์ และหลวงสนั่นรักษาสัตว์ ในการคัดเลือกในปีต่อๆ มา ก็คัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีความรู้วิชาสามัญดี เข้าเป็น นักเรียนสัตวแพทย์ หลักสูตร 5 ปี จนปรากฏเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายท่านในปัจจุบันนี้ ....(มีต่อ)
  • วิกิพีเดีย (ก่อนการแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์) เขียนโดย Sry85
    • เมื่อเจริญพระชันษาได้ 4 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระบิดาทรงเป็นแม่ทัพใหญ่เสด็จไปปราบฮ่อทางมณฑลอุดร และเป็นข้าหลวงสำเร็จราชการอยู่ที่นั้นเป็นเวลาหลายปี จึงทรงถวายองค์พระโอรสไว้แก่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระโอรสในสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เมื่อเจริญชันษาขึ้นได้เล่าเรียนที่โรงเรียนราชกุมารด้วยกันกับพระราชกุมารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกเวลาเรียนก็ได้ตามเสด็จเจ้านายเล็กๆ ขึ้นไปเล่นอยู่บนพระราชฐาน การเล่าเรียนของ ม.จ.ทองฑีฆายุ อยู่ในขั้นรุ่งโรจน์ เรียนเร็ว จำเร็ว แต่ไม่ขยันหมั่นเพียรนัก ทรงได้รับขนานนามเป็น เจ้ากรมซน ประจำพระราชฐาน
    • เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสวรรคตแล้ว และ ม.จ.ทองฑีฆายุ มีชันษาสมควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เกษากันต์ในพระราชพิธีตรุษ
    • ปี พ.ศ. 2441 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ ได้เสด็จกลับจากไปทรงศึกษาในโรงเรียน ทหารม้าที่ประเทศรัสเซียชั่วคราว และจะเสด็จกลับออกไปอีกครั้ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้ ม.จ.ทองฑีฆายุฯ โดยเสด็จออกไป ศึกษาที่ประเทศรัสเซียด้วย ขณะนั้นชันษาได้ 12 ปี เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถโปรดปราน ม.จ.ทองฑีฆายุ ถึงกับทรงรับเลี้ยง เป็นลูกเลี้ยงไว้องค์หนึ่ง
    • หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ได้ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (Military Page School) ในประเทศรัสเซียตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2441 สมเด็จพระเจ้านิโคลัสที่ 2 แห่งกรุงรัสเซียโปรดให้สังกัดในกรมทหารม้าฮุสซาร์ที่เมืองเปโตรกราด (เลนินกราดในปัจจุบัน)
    • นิโคลัสที่ 2 โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็นนายร้อยตรี สังกัดนายทหารนอกกอง กรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ในปี พ.ศ. 2451 ซึ่งเป็นกรมที่หรูหราที่สุดในรัสเซียในสมัยนั้น และในระหว่างประจำกรม ได้ทรงมีโอกาสศึกษาวิชาพิเศษ คือ วิชาเคมี วิชาเสนาธิการทหารบก และวิชาสัตวแพทย์ตลอดระยะเวลา 3 ปี ก่อนเสด็จกลับพระนคร
    • ปี พ.ศ. 2452 ม.จ.ทองฑีฆายุ ได้เข้าโรงเรียนทหารม้าเฉพาะสำหรับนายทหารม้าเฉพาะสำหรับนายทหารชั้นสูง (Cavalry School for Officers) และจบจากโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ. 2454
    • ปี พ.ศ. 2454 ในตอนต้นปี ม.จ. ทองฑีฆายุ ได้สมรสกับ นางสาวลุดมิลา บาร์ซูก๊อฟ ธิดาคนโตของนายแชร์เก อิวาโปวิท์ซ บาร์ซูก๊อฟ เลขาธิการกรมศิลปากร เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก ต้นตระกูลบาร์ซูก๊อฟ เป็น คอสแซค และรับราชการในราชสำนักมาตลอดหลายสมัย
    • เมื่อสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลก ประชานารถซึ่งเสด็จราชการในยุโรป จะเสด็จกลับพระนคร ประจวบกับ ม.จ. ทองฑีฆายุ ได้สำเร็จการเล่าเรียน จึงได้โดยเสด็จกลับพระนครเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2454 นั้นเอง ม.จ. ทองฑีฆายุ ได้รับพระกรุณาจาก สมเด็จพระปิตุลาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถเป็นส่วนพระองค์มากมาย นอกจากจะทรงเลี้ยงไว้ดุจพระโอรสบุญธรรม ยังทรงสร้างวังประทานที่ถนนเศรษฐศิริ บางซื่อ มีที่ดินกว้าง 4 ไร่ ทรงให้ช่างฝรั่งออกแบบและดำเนินการสร้าง ทรงอนุเคราะห์ ม.จ. ทองฑีฆายุ และหม่อมลุดมิลา ตลอดจนโอรสธิดาด้วยพระเมตตาสม่ำเสมอ เมื่อสมเด็จพระปิตุลาธิราชได้เข้าเริ่มรับภาระอำนวยหลักการของทหารบก ม.จ.ทองฑีฆายุ ซึ่งสำเร็จวิชาทหารม้า จึงได้สนองพระเดชพระคุณทันเวลาที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในการจัดระบบงานของกองทัพบก
    • ม.จ.ทองฑีฆายุ ทองใหญ่ ทรงรับราชการตำแหน่งในครั้งแรกคือ นายทหารประจำแผนกจเรทหารม้า ยศร้อยโท และเป็นราชองครักษ์เวร ต่อมาปี พ.ศ. 2455 ได้ทรงขอตั้งโรงเรียนนายดาบสัตวรักษ์ เพื่อผลิตนายสัตวแพทย์ที่มีความรู้ทั้งทางวิชาการรักษาสัตว์และวิชาสัตวบาล ร่วมกัน ต่อมาได้ทรงเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนนายสิบสัตวรักษ์" และเปลี่ยนเป็น "โรงเรียนอัศวแพทย์ทหารบก" ในภายหลัง ดังนั้นในต้นปีนี้ จึงถือได้ว่า โรงเรียนสอนวิชาสัตวแพทย์แห่งแรกในประเทศไทยจึงเกิดขึ้น มีลูกศิษย์ของท่าน รุ่นแรกได้แก่ หลวงสนิทรักษาสัตว์ และหลวงสนั่นรักษาสัตว์ ในการคัดเลือกในปีต่อๆ มา ก็คัดเลือกเฉพาะผู้ที่มีความรู้วิชาสามัญดี เข้าเป็น นักเรียนสัตวแพทย์ หลักสูตร 5 ปี จนปรากฏเป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่หลายท่านในปัจจุบันนี้
กลับไปที่หน้า "หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่"