พูดคุย:ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิคณิตศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

สาเหตุการเปลี่ยน แก้

อ้างตามหนังสือ วงค์รัตนะ, ชูศรี, พศ ๒๕๔๔, เทคนิกการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ ๘, เทพนรมิตร์การพิมพ์, กทม, ISBN 974-03-0072-3 --ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 02:06, 1 มิถุนายน 2551 (ICT)
สวัสดีครับ เห็นคุณบรั่นดีเปลี่ยนชื่อบทความ standard deviation เป็น ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผมเลยจะมากระซิบบอกว่า ราชบัณฑิตยสถานใช้ศัพท์บัญญัติว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน [1] แต่ในตำราเรียนคณิตศาสตร์ส่วนใหญ่ของประเทศไทยระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยหลายๆ เล่ม ใช้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน · Dr.Garden · คุยกันได้! · 02:54, 1 มิถุนายน 2551 (ICT)
รับทราบแล้วครับ แหะๆๆ ความจริงแล้ว คำๆนี้ ผมเรียกทับศัพท์มาตลอดเลย ยิ่งมาอยู่ต่างประเทศแล้วด้วย ไม่ต้องพูดถึง บางคำผมรู้แต่ภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ แต่ว่า ในหนังสือเล่มนั้นมันเขียนอย่างนี้จริงจริง ดังนั้น คำๆนั้นจะยังสามารถลิงก์ไปที่บทความอยู่ได้หรือไม่ครับ
อย่างไรก็ตาม ขอบคุณครับ คุณ Drgarden
--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 11:22, 1 มิถุนายน 2551 (ICT)
ผมขอไปใช้ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ไหมครับ ผมเอาความสำคัญของศัพท์บัญญัติมาก่อน ซึ่งกำหนดโดยราชบัณฑิตยสถานเป็นองค์กรกลาง เพราะผู้แต่งหนังสือแต่ละคนก็เรียกไม่เหมือนกัน --ออกตาปอญปาด แตะจาม ซุญญา 21:04, 1 มิถุนายน 2551 (ICT)
หลักๆแล้ว มันก็คือการเรียกหน่ะครับ อย่างว่าจะเป็น ความเบี่ยงเบน ค่าเบี่ยงเบน หรืออะไรก็ตามแต่ มันไม่สำคัญเท่ากับว่า เราเข้าใจตรงกันหรือไม่ว่า เรากำลังพูดถึงเรื่องอะไร ถูกไหมครับ
คุณอาจจะใช้ ความเบี่ยงเบน ผมใช้ ค่าเบี่ยงเบน แต่สุดท้ายแล้ว ถ้าเราเข้าใจตรงกันว่า มันคือ Standard Deviation มันก็โอเคไม่ใช่เหรอครับ
แต่พอมาเป็นชื่อบทความนั้น ผมคิดว่า เราสมควรจะตามราชบัณฑิต เพราะเราต้องถือว่าเขาคือผู้กำหนด เพียงแต่มันก็มีเคสอยู่ดี
อย่าง คอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกกำหนดให้ใช้คำว่า คณิตกรณ์ นั้น ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้อยู่ดีแม้แต่ในตำราของบรรดาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ถูกไหมครับ
ดังนั้นแล้ว ในความคิดของผม ชื่อบทความ ควรจะตาม ราชบัณฑิต ตามที่คุณ ใช้มาแต่แรกนั้น เป็นเรื่องที่สมควรแล้วครับ เพียงแต่ว่า
ถ้าเป็นไปได้ เราควรจะมีการโยงคำที่คนอื่นเขาใช้ๆกันโดยทั่วไปด้วยหน่ะครับ เพื่อที่จะได้สะดวกในการสืบค้นแก่ผู้อื่นสืบไป
--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 21:19, 1 มิถุนายน 2551 (ICT)
computer เป็นกรณีที่ต่างกันครับ ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้ได้สองคำ คือ คอมพิวเตอร์และคณิตกรณ์ โดยเลือก "คอมพิวเตอร์" เป็นคำหลัก ดังนั้นคำอื่นที่มี computer เช่น computer architecture, computer network เขาจึงบัญญัติว่า สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นต้น มาบอกเป็นข้อมูลเพิ่มเติม เผื่อจะได้เทียบเคียงกับกรณีอื่น ๆ --Pi@k 22:12, 1 มิถุนายน 2551 (ICT)
ไม่ทราบสิครับ สมัยเรียน ป ตรี อ ที่ ม (บางท่าน) นิยมให้เรียกทับศัพท์ไปเลยอ่ะครับ แต่ไม่ได้หมายถึงแค่ทางคณิตฯนะครับ ศัพท์บางคำทางวิศวะก็ด้วย (อย่าถามว่าจบที่ไหนนะครับ ไม่บอก ข้อมูลปกปิดครับ)
--ไอ้ขี้เมา แห่งไร้สาระนุกรม 22:31, 1 มิถุนายน 2551 (ICT)
ปกติวิกิพีเดียก็ใช้คำนิยมนะครับ แล้วหลายคำที่เป็นคำนิยมก็ตรงกับที่ราชบัณฑิตฯว่าไว้ (แต่ก็ไม่เสมอไป) เพราะส่วนตัวผมเองก็คุ้นกับ "ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน" มากกว่า แต่พอลองกูเกิลทั้งสามคำดู ก็ได้ผลจำนวนค้นหาที่ใกล้เคียงกัน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค้นหา ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค้นหา ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค้นหา แวะมาบอกเฉยๆ นะครับ --Manop | พูดคุย 00:49, 2 มิถุนายน 2551 (ICT)
กลับไปที่หน้า "ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน"