ฉบับร่าง:สุกิจ เจริญรัตนกุล

  • ความคิดเห็น: ส่งซ้ำ ๆ หลายรอบไม่ได้แก้ ขอยุติการส่งซ้ำ Sry85 (คุย) 19:43, 9 พฤศจิกายน 2566 (+07)
  • ความคิดเห็น: เนื้อหาเหมือนคัดลอกมาแปะไม่ได้เรียงเรียง อ้างอิงไม่ถูกต้องตามคู่มือการเขียน ไม่มีการอ้างอิงท้ายข้อความที่อ้างอิง Sry85 (คุย) 12:01, 27 ตุลาคม 2566 (+07)

สุกิจ เจริญรัตนกุล
อธิบดีกรมการปกครอง
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2545 – พ.ศ. 2548
ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2554
อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2551 – พ.ศ. 2552
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 มีนาคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
จังหวัดลพบุรี, ประเทศไทย
ศาสนาศาสนาพุทธ

รองศาสตราจารย์ สุกิจ เจริญรัตนกุล เป็นอดีตข้าราชการพลเรือนชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย

ประวัติ แก้

สุกิจ เจริญรัตนกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2495 เกิดที่จังหวัดลพบุรี สุกิจเริ่มต้นชีวิตราชการเป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อปี พ.ศ. 2523 เป็นรองศาสตราจารย์ ระดับ 9 เมื่อปี พ.ศ. 2531 ได้ช่วยราชการที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 – มกราคม พ.ศ. 2535 จึงโอนย้ายไปรับราชการในสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม 8 วิทยาลัยการปกครอง และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเมืองนนทบุรี เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 แล้วได้ดำรงตำแหน่งสำคัญดังนี้

  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – ผู้อำนวยการส่วนพัฒนารายได้ท้องถิ่น กรมการปกครอง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2538 – ปลัดจังหวัดสุโขทัย
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – ปลัดจังหวัดปราจีนบุรี
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – ปลัดจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 – ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย
  • 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 – ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
  • 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
  • 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 – อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • 7 เมษายน พ.ศ. 2552 – ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – อธิบดีกรมการปกครอง
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – เกษียณอายุราชการ

การศึกษาและหลักสูตรฝึกอบรม แก้

  • ศศ.บ. (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2517
  • M.A. (Pol. Sc.) Eastern New Mexico Univ. U.S.A., พ.ศ. 2519
  • Cert. of Advanced Studies (Pol. Sc. & Pub. Ad. – Equivalent to Ph.M. of Oxford Univ., U.K.) Northern Illinois Univ. U.S.A. ธันวาคม พ.ศ. 2522
  • ผ่านการศึกษาหลักสูตรการบริหารงานบุคคลและหลักสูตรการวิจัยทางสังคมศาสตร์ Univ. of Essex, England เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2524 และกรกฎาคม พ.ศ. 2526 ตามลำดับ
  • หลักสูตรนักปกครองระดับสูงรุ่นที่ 31 (นปส. 31) พ.ศ. 2537
  • หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 43 (วปอ. 43) พ.ศ. 2544

ผลงานทางวิชาการ แก้

ในช่วงที่เป็นอาจารย์คณะรัฐศาสตร์ สุกิจเคยเขียนและเป็นบรรณาธิการแต่งตำรารัฐศาสตร์ 5 เล่ม อาทิ

  • การเมือง-การบริหารราชการไทย : รวมบทความของนักวิชาการ ชาวต่างประเทศ ภาค 1 – ภาค 6 (พ.ศ. 2529)[1][2] และวิเคราะห์การเมือง (พ.ศ. 2530)[3] เป็นต้น

และเคยเขียนและแปลบทความวิชาการประมาณ 20 เรื่อง อาทิ

  • "กระบวนทัศน์การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ของ วินเซนต์ ออสตรอม" วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ (ตุลาคม พ.ศ. 2524)[4]
  • Policy Analysis Approach," Thai Journal of Development Administration (มกราคม พ.ศ. 2526)[5]
  • "กรณีศึกษาลักษณะผู้นำของ วูดโรว์ วิลสัน" รัฐศาสตร์ปริทัศน์ (มกราคม – มิถุนายน พ.ศ. 2544)[6] เป็นต้น

ผลงานดีเด่นและเกียรติประวัติ แก้

  1. เป็นผู้ริเริ่มดำเนินโครงการ "บ้านพี่เมืองน้อง" มหานครซีอาน มณฑลฉ่านซี สาธารณรัฐประชาชนจีนกับจังหวัดสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2549 โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งแรกของประเทศไทยกับเมืองซีอานที่เป็นเมืองหลวงแห่งแรกของสาธารณรัฐประชาชนจีน และมีการแลกเปลี่ยนครูภาษาจีนกลางจากเมืองซีอานให้มาสอนภาษาจีนในระดับประถมและมัธยมศึกษาที่โรงเรียนจีนกวางตง จังหวัดสุโขทัย ปีละ 3-4 คน[7]
  2. ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง ได้เป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญบุกเบิกงานบัตรประชาชนไทยในต่างประเทศ อันเป็นที่มาของการลงนามข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยกับกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการจัดทำบัตรประชาชนให้แก่ผู้มีสัญชาติไทยที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ โดยเริ่มนำร่องในสถานทูตและกงสุลไทย 6 แห่งตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 เป็นต้นไป คือรัฐนิวยอร์ค รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี มหานครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย กรุงไต้หวัน สาธารณรัฐจีน และประเทศสิงคโปร์ โดยให้สามารถยื่นคำร้องขอทำบัตรประชาชน ใบใหม่ทดแทนบัตรใบเดิมที่หมดอายุ ชำรุด หรือสูญหาย[8][9]
  3. เคยได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 2 จากสมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์แห่งเนเธอร์แลนด์ เมื่อเสด็จเยือนประเทศไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547[10]
  4. เคยได้รับการประกาศเกียรติคุณเป็นนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดีเด่นสาขาเบริหารราชการ พ.ศ. 2548[11]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. "ลักษณะพื้นฐานทางวัฒนธรรม - สังคม - เศรษฐกิจ". หอสมุดรัฐสภา. โอเดียนสโตร์. 2529.
  2. "สถาบันการเมือง-การบริหาร โครงสร้างและพฤติกรรม (ภาค 2)". AOT Library. โอเดียนสโตร์. 2529.
  3. "วิเคราะห์การเมือง : สรุปแนวคิดของสิบนักวิชาการอเมริกัน". สำนักหอสมุดกลาง สจล. ลาดกระบัง. โอเดียนสโตร์. 2530.
  4. "วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 : กระบวนทัศน์การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ของ Vincent Ostrom" (PDF). ห้องสมุดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. ตุลาคม 2524. p. 566–586.
  5. "วารสารพัฒนบริหารศาสตร์ ปีที่ 23 เล่มที่ 4 : นโยบายสาธารณะ" (PDF). ห้องสมุดสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. มกราคม 2526. p. 610.
  6. "กรณีศึกษาลักษณะผู้นำของ Woodrow Wilson". BUU Library. 2544. p. 101-135.
  7. "ความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง". สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน. 7 สิงหาคม 2558.
  8. "ประกาศกรมการปกครอง เรื่อง กําหนดแบบคําขอตรวจหลักฐาน รายการ หรือข้อมูลเกี่ยวกับบัตรประจําตัวประชาชน" (PDF). จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. 18 พฤษภาคม 2555.
  9. "สายตรงจากต่างแดน 23/09/55". ไทยรัฐออนไลน์. 23 กันยายน 2555.
  10. "สำเนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ORDE VAN ORANJE – NASSAU แห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์". Google Drive. 15 มกราคม 2547.
  11. "ทำเนียบนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ดีเด่น หน้าที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2548 ลำดับที่ 7" (PDF). กองบริการงานบุคคล สำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 18 กันยายน 2561.
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๙, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๕๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒, ๒๓ กันยายน ๒๕๔๘
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๔๒, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๑, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐