สุกียากี้ (อังกฤษ: Sukiyaki) หรือ อูเอะ โอะ มูอิเตะ อารูโก (ญี่ปุ่น: 上を向いて歩こうโรมาจิUe o Muite Arukō; "แหงนมองขึ้นฟ้าเดินหน้าไป") เป็นเพลงภาษาญี่ปุ่นที่ร้องโดยคีว ซากาโมโตะ และเขียนโดยโรกูซูเกะ เอ กับฮาจิได นากามูระ ชื่อเพลง "สุกียากี้" เป็นชื่อที่ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เพลงขึ้นอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1963 และถือเป็นเพลงภาษาญี่ปุ่นเพลงเดียวที่สามารถขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ได้ มียอดขายกว่า 13 ล้านชุดทั่วโลก[1][2] เพลงนี้ในฉบับคีว ซากาโมโตะยังติดชาร์ตอาร์แอนด์บีที่อันดับ 18 อีกด้วย[3]

"สุกียากี้"
ซิงเกิลโดยคีว ซากาโมโตะ
จากอัลบั้มSukiyaki and Other Japanese Hits (สหรัฐ)
ภาษาญี่ปุ่น
ชื่อภาษาอังกฤษ"Sukiyaki"
ด้านบี"Anoko no Namae wa Nanten kana"
วางจำหน่าย
  • 1961 (ญี่ปุ่น)
  • 1963 (สหรัฐ, สหราชอาณาจักร)
บันทึกเสียง1961
ความยาว3:05
ค่ายเพลง
ผู้ประพันธ์ดนตรีฮาจิได นากามูระ
ผู้ประพันธ์เนื้อเพลงโรกูซูเกะ เอ
โปรดิวเซอร์Kōji Kusano
ลำดับซิงเกิลของคีว ซากาโมโตะ
"Kyū-chan Ondo (Sore ga Ukiyo to Iu Mono sa)"
(1961)
"สุกียากี้"
(1963)
"Model Girl"
(1961)

เพลงฉบับดั้งเดิมออกขายในประเทศญี่ปุ่นโดยโตชิบาในปี ค.ศ. 1961 ติดอันดับ 1 ในชาร์ตยอดขายเพลงป็อปยอดนิยมของนิตยสารญี่ปุ่นที่ชื่อ Music Life เป็นเวลาร่วม 3 เดือน ในปี 1963 บริษัทค่ายเพลงอังกฤษที่ชื่อพายเรเคิดส์ ออกขายในรูปแบบเพลงทำใหม่ โดยเคนนี บอลแอนด์ฮิสแจ๊ซเมน ทั้งนี้เนื่องจากกลุ่มผู้ฟังผู้ใช้ภาษาอังกฤษ อาจมีความยากลำบากในการออกเสียงชื่อเพลง/จำชื่อเพลง จึงทำให้เปลี่ยนชื่อเพลงเป็น "สุกียากี้" และชื่อเพลงนี้ก็ยังคงใช้เมื่อออกในสังกัดแคปิตอลเรเคิดส์ในสหรัฐอเมริกา และกับสังกัดฮิสมาสเตอร์สวอยซ์ในสหราชอาณาจักร ในรูปแบบเวอร์ชันดั้งเดิมของคีว ซากาโมโตะ ในอีกหลายเดือนต่อมา

ชื่อเพลง "สุกียากี้" อันหมายถึงอาหารประเภทหม้อต้ม ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเพลงหรือความหมายเพลงเลย การใช้คำนี้มีวัตถุประสงค์ให้ชื่อ สั้น ติดหู เป็นที่จดจำในความเป็นญี่ปุ่น และมีความคุ้นเคยกับผู้ใช้ภาษาอังกฤษ

นอกจากนี้ยังมีหลายศิลปินนำเพลงนี้ไปทำใหม่ โดยยึดจากเมโลดี้ฉบับดั้งเดิม การนำมาทำใหม่ในปี 1981 ของวงอะเทสต์ออฟฮันนี ได้ขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ที่อันดับ 3 (อันดับ 1 บนชาร์ตอเดาต์คอนเทมโพแรรีและชาร์ตอาร์แอนด์บี)[4] ขณะที่ในเวอร์ชันปี 1995 ของวงโฟร์พีเอ็ม ขึ้นสูงสุดอันดับ 8

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1999 ไปรษณีย์ญี่ปุ่นออกแสตมป์เพื่อเป็นการรำลึกถึงเพลงนี้[5]

อ้างอิง แก้

  1. "坂本九さん 〜心のふるさと・笠間〜". Kasama Tourist Association (ภาษาญี่ปุ่น). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-07-10. สืบค้นเมื่อ 2008-02-20.
  2. Ringo Houso. "uemuite" (ภาษาญี่ปุ่น). Sigh For The Old Good Times. สืบค้นเมื่อ 2008-02-20.
  3. Whitburn, Joel (2004). Top R&B/Hip-Hop Singles: 1942-2004. Record Research. p. 509.
  4. Whitburn, Joel (2004). Top R&B/Hip-Hop Singles: 1942-2004. Record Research. p. 566.
  5. "わたしの愛唱歌シリーズ第9集郵便切手". Japan Post. 1999-03-16. สืบค้นเมื่อ 2008-06-03.