สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด

ในทางการเงิน สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาด (อังกฤษ: Efficient market hypothesis) อ้างว่าตลาดการเงินเป็นตลาดที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายความว่า ราคาหลักทรัพย์ที่ขายในตลาดนั้นได้สะท้อนถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้ยังอาจกล่าวได้ว่าราคาของสินทรัพย์นั้นๆได้สะท้อนถึงความเชื่อของนักลงทุนเกี่ยวกับความคาดหวังในอนาคตด้วย


สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดยังมีความหมายครอบคลุมไปถึงความเชื่อที่ว่า ไม่มีทางที่นักลุงทุนจะสามารถเอาชนะตลาดได้อย่างต่อเนื่องโดยใช้ข้อมูลที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วในตลาด หากแต่จะเป็นความโชคดีของนักลงทุนเอง หรือ การที่นักลงทุนได้ข้อมูลจากภายในบริษัทนั้นๆเท่านั้น

กล่าวคือ

  • การเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์ได้ ไม่มีรูปแบบ หรือ มีรูปแบบที่คงอยู่ไม่นาน พอที่ นักลงทุน จะ "พยากรณ์" และ ทำกำไรจากการรู้รูปแบบนั้นได้
  • ผลตอบแทน (หลังปรับความเสี่ยงแล้ว) ของ หลักทรัพย์ แต่ละตัว ควรจะเท่ากัน

ข้อกำหนดของสมมติฐาน แก้

สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดนั้น นักลงทุนไม่จำเป็นต้องตัดสินใจตามเหตุและผลเสมอไป นักลงทุนอาจจะตัดสินใจทำสิ่งที่เกินหรือต่ำกว่าความพอดี แต่โดยสุทธิแล้ว การกระทำจะเฉลี่ยๆไป ปฏิกกริยาของนักลงทุนโดยรวมจึงเป็นแบบสุ่ม เพราะฉะนั้นนักลงทุนจะไม่สามารถทำกำไรเกินกว่าผู้อื่น (กำไรเกินปกติ) ได้

สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดนั้นแบ่งออกได้เป็นสามรูปแบบคือ แบบอ่อน (Weak Form) แบบกลาง (Semi-Strong Form) และแบบเข้ม (Strong Form) ความแตกต่างของสมมติฐานทั้งสามแบบนั้นก็ขึ้นอยู่กับแหล่งของข้อมูลที่ส่งผลกระทบต่อราคาของสินทรัพย์ในตลาด สมมติฐานประสิทธิภาพของตลาดแบบอ่อนนั้นกล่าวว่าราคาในตลาดนั้นเป็นผลจากราคาหุ้นในอดีต แบบกลางนั้นกล่าวว่า ราคาในตลาดนั้นเป็นผลมาจากข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณชน ส่วนแบบเข้มนั้นกล่าวว่าราคาตลาดนั้นสะท้อนถึงข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ซึ่งหมายรวมถึงข้อมูลที่เปิดเปิดเผยต่อสาธารณชนและข้อมูลภายในบริษัท

สมมติฐานแบบอ่อน แก้

ตลาดที่มีประสิทธิภาพแบบอ่อน (weak-form efficiency) ราคาหลักทรัพย์ในอนาคต ไม่สามารถพยากรณ์ได้ด้วยราคาในอดีต การทำไรเกินกว่าปกติ ไม่สามารถทำได้ในระยะยาวโดยใช้กลยุทธ์การลงทุนบนพื้นฐานของราคาในอดีตหรือประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อให้เกิดกำไรเกินกว่าปกติ ไม่สามารถจะทำได้แต่สำหรับการวิเคราะห์เชิงพื้นฐานอาจจะยังคงทำกำไรได้ นอกจากนี้ ราคาหลักทรัพย์ยังไม่ขึ้นอยู่กับราคาก่อนหน้าและไม่มีรูปแบบของราคาหลักทรัพย์

สมมติฐานแบบกลาง แก้

ตลาดที่มีประสิทธิภาพแบบกึ่งเข้มแข็ง (semi-strong-form efficiency) ราคาหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงตามข้อมูลข่าวสารที่สาธารณชนได้รับอย่างรวดเร็วและไม่มีอคติ ไม่มีใครสามารถทำกำไรส่วนเกินได้จากข้อมูลข่าวสารที่สาธารณชนได้รับและรวมถึงการวิเคราะห์เชิงพื้นฐานและการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค

สมมติฐานแบบเข้ม แก้

ตลาดที่มีประสิทธิภาพแบบเข้มแข็ง (strong form efficiency) ราคาหลักทรัพย์สะท้อนทุกข่าวสารทั้งสาธารณะและภายใน ไม่มีใครสามารถสร้างกำไรส่วนเกินได้ในระยะยาว โดยใช้กฎหมายกีดกันข้อมูลภายในบริษัท เพื่อป้องกันและลงโทษคนวงในของบริษัทใช้ข้อมูลข่าวสารภายในเพื่อทำกำไรเกินกว่าปกติ