สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น

สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本建築, Nihon kenchiku) มีลักษณะทั่วไปคือโครงสร้างไม้ที่ยกสูงจากพื้นดินเล็กน้อย หลังคากระเบื้องหรือสาน มีทางเข้าออกเป็นประตูบานเลื่อน (ฟุซุมะ) ซึ่งสามารถปิดกั้นขึ้นมาเป็นห้องแทนผนัง ทำให้สามารถจัดการเปลี่ยนแปลงการใช้งานห้องได้ ส่วนเฟอร์นิเจอร์จำพวกโต๊ะและเก้าอี้สูงไม่พบใช้จนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงโดยผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตก สถาปัตยกรรมโมเดิร์น สถาปัตยกรรมโพสต์-โมเดิร์น เข้ามาใช้ทั้งแนวคิดและเทคนิคการก่อสร้าง

วัดคิงกากุ ในเกียวโต สร้างขึ้นในยุคมูโรมาจิ

สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดคือบ้านหลุมและโกดังในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากจีนฮั่นผ่านทางเกาหลี จึงเริ่มมีกความซับซ้อนในการก่อสร้างมากขึ้น เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาในญี่ปุ่น ราวคริสต์ศตวรรษ 6 มีผลอย่างมากให้มีการสร้างวัดพุทธที่ใช้เทคนิคการสร้างจากไม้ที่ซับซ้อน การก่อตั้งเมืองหลวงถาวรแห่งแรกที่เมืองนาระ ได้รับอิทธิพลมากจากถังและสุย มีลักษณะแปลนถนนแบบตาราง ลอกแบบมาจากฉางอัน เมืองหลวงของจีนในขณะนั้น เมื่อการก่อสร้างอาคาารมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดระบบการวัดขึ้น รวมถึงการออกแบบสวนที่เน้นความเงียบสงบ การเข้ามาของพิธีชงชาญี่ปุ่นยิ่งเน้นย้ำถึงความเรียบง่ายและถ่อมตนในการออกแบบ

ในยุคการปฏิวัติเมจิเมื่อปี ค.ศ. 1868 มีผลอย่างมากต่อการเปปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นสองประการ ประการแรกคือชินบุทซุ บุนริ กฎหมายที่ออกบังคับให้แยกศาสนาพุทธออกจากศาสนาชินโต และแยกขาดวัดพุทธออกจากศาลเจ้าชินโต ซึ่งอยู่ร่วมกันมาเป็นพันปี[1] อีกประการหนึ่งคือเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลตะวันตกอย่างหนักเพื่อแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งนี้ส่งผลให้ทั้งรูปแบบและสถาปนิกถูกนำเข้ามาปรับเข้ากับสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมากขึ้น และยังมีอิทธิพลจากนักเรียนญี่ปุ่นที่ศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศนำสถาปัตยกรรมสากลเข้ามา

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แก้

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ได้แก่ ยุคโจมง, ยุคยะโยอิ และยุคโคฟุง ตั้งแต่ 5000 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่แปด

ในยุคแรกคือยุคโจมง บ้านเรือมีลักษณะเป็นบ้านหลุมที่มีหลุมตื้น ๆ บนพื้นดินที่ตอกให้แน่น หลังคาทำมาจากหญ้าออกแบบเพื่อเก็บน้ำฝนในโหลเก็บน้ำ ต่อมาเมื่ออากาศหนาวเย็นลงและมีฝนตกหนักขึ้น ทำให้ประชากรลดจำนวนลงส่งผลให้ผู้คนมีความสนใจในพิธีกรรมและความเชื่อขึ้นมา มีการค้นพบหินวงกลมร่วมศูนย์กลางเป็นครั้งแรกในยุคนี้[2]

ในยุคยะโยอิ ชาวญี่ปุ่นเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับชาวจีนยุคฮั่นและได้รับอิทธิพล เทคนิคการก่อสร้างต่าง ๆ เข้ามา[2] บ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างแบบยกพื้นซึ่งต้องสร้างโดยใช้เครื่องมือโลหะ เริ่มพบมีการสร้างครั้งแรกในยุคนี้[3] นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าการสร้างอาคารยกสูงแบบนี้เป็นผลมาจากการที่ได้ติดต่อกับชาวออสโตรนีเชียนกลุ่มที่ปลูกข้าว จากชายฝั่งของจีนหรือไต้หวันมากกว่าที่จะมาจากชาวฮั่น[4][5]

ยุคโคฟุงเป็นครั้งแรกที่มีการก่อสร้างเนินฝังศพที่ประกอบด้วยโถงหลายห้อง เชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลจากเนินฝังศพลักษณะเดียวกันที่พบในแหลมเกาหลี[6] ในยุคนี้ สุสานแบบ “รูกุญแจ” หรือ “โคฟุง” มักสร้างขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากลักษณะผืนดินที่มีอยู่แล้วมาขุดคูให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจนมีผืนดินลักษณะรูปรูกุญแจขึ้น (รูปวงกลมเชื่อมกับสามเหลี่ยม) โถงภายในบรรจุศพและเครื่องใช้ตามความเชื่อ ส่วนเนินมักตกแต่งด้วยเครื่องตกแต่งดินเผา เรียกว่า “ฮะนิวะ” ในยุคถัด ๆ มาเนินเริ่มตั้งอยู่บนพื้นเรียบ และมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาก ตัวอย่างสุสานที่พบเช่นที่นารา, โอซะกะ และ “ไดเซ็ง-โคฟุง” สุสานของจักรพรรดินินโทคุ พื้นที่ 32 เฮกตาร์ (79 เอเคอร์) ตกแต่งด้วยฮะนิวะที่เชื่อกันว่ามีมากถึง 20,000 ชิ้น[2]

หลังสิ้นสุดยุคโคฟุง เนินฝังศพค่อย ๆ ลดความนิยมลงไปพร้อมกับการเข้ามาของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น ซึ่งมีพิธีศพที่เป็นที่นิยมกว่า[2]

สถาปัตยกรรมอาซูกะและนาระ แก้

ญี่ปุ่นในยุคอาซูกะเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธเข้ามายังญี่ปุ่น จึงส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของยุคอาซูกะ วัดพุทธกลายมาเป็นศูนย์กลางของการบูชาและพิธีกรรม ส่วนพิธีกรรมกับหลุมศพเนินแบบเดิมนั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป[2] นอกจากนี้ ศาสนาพุทธยังนำแนวคิดการบูชา “คามิ” เข้ามายังญี่ปุ่น ทำให้ศาสนาชินโตเกิดการสร้างศาสนสถานถาวรขึ้นเพื่อบูชาคามิ อันนำมาสู่สถาปัตยกรรมชินโตที่พบในการสร้างศาลเจ้าชินโต

ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดคือวัดโฮรีวจิ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนาระ สร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 เพื่อเป็นวัดส่วนพระองค์ในเจ้าชายโชโตกุ ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ 41 หลัง โดยมีอาคารสำคัญคือคนโด (金堂, Kon-dō โถงทองคำ) และเจดีย์ (โท) สูงห้าชั้น ตั้งอยู่ใจกลางบริเวณในพื้นที่เปิดที่ล้อมด้วยระเบียงมุงหลังคา (ไคโร) อาคาร “คนโด” นั้นสร้างขึ้นแบบจีน มีความสูงสองชั้น ใช้การก่อสร้างแบบ “เสาต่อคาน” (post-and-beam construction) และมีหลังคากระเบื้องแบบจั่วปั้นหยา (hipped-gabled) ที่เรียกว่า “อิริโมยะ[7][8]

ยุคเฮอัน แก้

ยุคคามากูระ และยุคมูโรมาจิ แก้

ยุคอะซุชิ - โมโมยามะ แก้

ยุคเอโดะ แก้

ยุคเมจิ, ไทโช และโชวะตอนต้น แก้

ยุคโชวะตอนปลาย แก้

ยุคเฮเซ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Stone, Jacqueline (December 1993). "Review of Of Heretics and Martyrs in Meiji Japan: Muslim and Its Persecution by James Edward Ketelaar". Harvard Journal of Asiatic Studies. 53 (2): 582–598. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2011. สืบค้นเมื่อ June 13, 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Japanese architecture". Britannica.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2011. สืบค้นเมื่อ May 17, 2011.
  3. Itoh (1973), p. 10
  4. Arbi, Ezrin; Rao, Sreenivasaiah Purushothama; Omar, Saari (November 21, 2013). "Austronesian Architectural Heritage and the Grand Shrines at Ise, Japan". Journal of Asian and African Studies. 50 (1): 7–24. doi:10.1177/0021909613510245.
  5. Robbeets, Martine (January 1, 2017). "Austronesian influence and Transeurasian ancestry in Japanese". Language Dynamics and Change. 7 (2): 210–251. doi:10.1163/22105832-00702005.
  6. Keyhole-shaped tombs in Korean Peninsula Hideo Yoshii (Kyoto University) "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-07-28.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  7. Bussagli (1989), pp. 163-165
  8. แม่แบบ:Jaanus2