วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน

วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่านคือการจับตัวประกันโดยนักศึกษาชาวอิหร่านโดยมีขอเรียกร้องคือส่งตัวพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีที่ไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาคืนอิหร่าน

วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติอิหร่าน

นักเรียนอิหร่านกำลังปืนกำแพงสถานทูตสหรัฐในเตหะราน (4 พฤษจิกายน 1979)
วันที่4 พฤษจิกายน 1979 – 20 มกราคม 1981
(444 วัน 1 ปี 2 เดือน 2 สัปดาห์ 2 วัน)
สถานที่
เตหะราน, อิหร่าน
ผล

ตัวประกันถูกปล่อยตัว

  • ยุติความสัมพันธ์สหรัฐ-อิหร่าน
คู่สงคราม
 อิหร่าน  สหรัฐ
 แคนาดา
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อิหร่าน รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี สหรัฐ จิมมี คาร์เตอร์
ความสูญเสีย
ชาวอิหร่าน 1 คน ทหารอเมริกัน 8 นาย

เหตุการณ์ แก้

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 กลุ่มนักศึกษาปฏิวัติมุสลิมเคร่งศาสนา โกรธที่สหรัฐอเมริการับอดีตกษัตริย์ชาห์ ปาห์เลวี (Shah Pahlavi) แห่งอิหร่านให้ลี้ภัยในแผ่นดินสหรัฐอเมริกาได้ จึงได้จับตัวผู้ทำงานสถานทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (Tehran) ผู้ทำงานด้านการทูตสหรัฐ 52 คน ถูกกักตัวไว้นาน 444 วัน

เหตุการณ์นี้ นับเป็นความรุนแรงที่ทำให้มีการตัดความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อชาวอิหร่านสายกลางได้สิ้นสุดลง นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan ผู้ไม่เห็นด้วยกับการจับตัวประกันได้ลาออกในเวลาต่อมา ส่วนฝ่ายที่จับตัวประกันให้เหตุผลว่า เป็นการตอบโต้ต่อสหรัฐ อันเป็นผลจากการที่สหรัฐหนุนหลังให้มีการรัฐประหารล้มอำนาจของนายกรัฐมนตรี Mosaddeq ในอิหร่านในปี ค.ศ. 1953 โดยกล่าวว่า “ท่านไม่มีเหตุผลใดที่ได้จับประเทศอิหร่านเป็นตัวประกันในปี ค.ศ. 1953” นอกจากนี้ ชาวอิหร่านบางส่วนกังวลว่าสหรัฐอเมริกาจะวางแผนรัฐประหารในปี ค.ศ. 1979 ในที่สุดตัวประกันการทูตของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการปล่อยตัว แต่การกักตัวทูตและผู้ทำงานการทูตในครั้งนั้น นับเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศเรื่อง ความละเมิดมิได้เกี่ยวกับสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 22 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายทางการทูต ค.ศ. 1961

ส่วนในช่วงการกักตัวประกันไว้ในสถานทูต สหรัฐอเมริกาได้ใช้ความพยายามช่วยตัวประกัน โดยมี “ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี” (Operation Eagle Claw) ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1980 แต่ล้มเหลว ทำให้เสียทหารไป 8 นาย และต้องล้มเลิกแผนงาน เหตุวิกฤติจบลงในที่สุด เมื่อมีการลงนามในสัญญา Algiers Accords ในประเทศแอลจีเรียในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1981 และมีการปล่อยตัวประกัน ในข้อตกลง มีการปล่อยตัวคนอเมริกันที่ถูกกักตัวในอิหร่าน และอีกด้านหนึ่ง มีการปล่อยตัวคนสัญชาติอิหร่านที่ต้องโทษในสหรัฐอเมริกา

แต่สนธิสัญญานี้ครอบคลุมเพียงด้านกฎหมาย แต่ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1980 สหรัฐอเมริกาได้ตัดสัมพันธ์กับอิหร่าน ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1981 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์สหรัฐในอิหร่าน และสถานทูตปากีสถานในกรุงวอชิงตันดีซี ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอิหร่านในสหรัฐอเมริกา แต่เพื่อเป็นการตอบโต้ต่ออิหร่าน จึงมีการลงโทษทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินของรัฐบาลอิหร่านในต่างประเทศ ในธนาคารต่างประเทศถูกอายัด มีการห้ามทุกประเทศทำการค้าขายกับอิหร่าน ด้วยเหตุดังกล่าว อิหร่านจึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ฝ่ายรัฐบาลกลับยิ่งใช้นโยบายกร้าวต่อประชากรที่เอนเอียงไปทางการรับวัฒนธรรมตะวันตก และกลุ่มที่เรียกร้องเสรีภาพ

สังคมอิหร่านเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่ในอิหร่าน ประธานาธิบดีสายเหยี่ยวที่กร้าวต่อตะวันตกหมดอำนาจไป ส่วนผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามารับตำแหน่งคนใหม่ ฮัสซัน รูฮาห์นี (Hassan Rouhani) ประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอิหร่าน ซึ่งเป็นพวกเดินสายกลาง และต้องการมีสัมพันธภาพใหม่กับทางตะวันตก

อ้างอิง แก้

  • Bakhash, Shaul (1984). The Reign of the Ayatollahs: Iran and the Islamic Revolution. Basic Books.
  • Bowden, Mark (2006). Guests of the Ayatollah: The Iran Hostage Crisis: The First Battle in America's War with Militant Islam. New York: Grove Press. ISBN 0-87113-925-1
  • Ebtekar, Massoumeh; Reed, Fred (2000). Takeover in Tehran: The Inside Story of the 1979 U.S. Embassy Capture. Burnaby, BC: Talonbooks. ISBN 0-88922-443-9
  • Harris, Les (1997). 444 Days to Freedom: What Really Happened in Iran. DVD UPC 033909253390
  • Moin, Baqer (2000). Khomeini: Life of the Ayatollah. Thomas Dunne Books.
  • Sick, Gary (1991). October Surprise: America's Hostages in Iran and the Election of Ronald Reagan. New York: Random House.

หนังสือเพิ่มเติม แก้

  • Ammann, Daniel (2009). The King of Oil: The Secret Lives of Marc Rich. New York: St. Martin‘s Press. ISBN 0-312-57074-0.
  • Stewart, James (1983). The Partners: Inside America's Most Powerful Law Firms. New York: Simon & Schuster. ISBN 0-671-42023-2.
  • Engelmayer, Sheldon D. (1981). Hostage: a Chronicle of the 444 Days in Iran. New York: Caroline House Publishing. ISBN 0-89803-084-6.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

Declassified documents แก้

United States แก้

Great Britain แก้

Records of the Prime Minister's Office, Correspondence & Papers; 1979-1997 at discovery.nationalarchives.gov.uk: IRAN. Internal situation in Iran; Attack on British Embassy; Hostage-taking at US Embassy; Freezing of Iranian Assets; US Mission to release hostages; Relations with US & UK following hostage taking at US Embassy.