นิมโบสเตรตัส (อังกฤษ: nimbostratus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน nimbus แปลว่า ฝน และ stratus แปลว่า แผ่ขยาย นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆสีเทา มีรูปร่างไม่แน่นอน มักก่อให้เกิดฝนหรือหิมะตกอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีฟ้าแลบฟ้าผ่า[1] นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่ก่อตัวในระดับกลางของชั้นโทรโพสเฟียร์ ก่อนจะแผ่ขยายสู่ชั้นบนและชั้นล่างของท้องฟ้า[2] ฐานเมฆมักอยู่ที่ระดับความสูง 3,000 เมตร เมฆชนิดนี้พบได้ทั่วโลก แต่มักพบบ่อยบริเวณกึ่งเขตร้อนและเขตอบอุ่น[3] นิมโบสเตรตัสมีอักษรย่อคือ Ns และสัญลักษณ์

เมฆนิมโบสเตรตัสและแฟรกตัส

นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่เกิดจากมวลอากาศร้อนที่ยกตัวสูงขึ้นช้า ๆ จากแนวปะทะอากาศร้อนหรือแนวปะทะปิด[4] และบางครั้งเกิดจากเมฆที่อยู่ระดับสูงกว่า เช่น เซอร์โรสเตรตัส และอัลโตสเตรตัส[5][6] โดยทั่วไปแล้ว นิมโบสเตรตัสไม่ก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง แต่ด้วยแนวปะทะอากาศร้อนที่กลายสภาพเป็นอากาศร้อนและแห้ง ทำให้เมฆคิวมูโลนิมบัสซึ่งเป็นเมฆฝนเช่นกัน ก่อตัวใกล้กับนิมโบสเตรตัสและเกิดฟ้าผ่าและฟ้าแลบได้

เนื่องจากนิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่หนาทึบและไม่มีรูปร่างแน่นอน จึงไม่มีการแบ่งแยกเป็นเมฆย่อย[7][8] แต่เมฆชนิดนี้มีลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ precipitation-based supplementary features (ก่อให้เกิดน้ำโปรยฐานเมฆ หรือหยาดน้ำฟ้าอื่น ๆ), นิมโบสเตรตัส แพนนัส (เมฆเสริมที่ก่อตัวใต้ฐานเมฆหลัก)[9], เมฆหลักเจนิตัส (เกิดจากเมฆคิวมูลัสและคิวมูโลนิมบัส) และเมฆหลักมิวเตตัส (เกิดจากเมฆอัลโตคิวมูลัส สเตรโตคิวมูลัส และอัลโตสเตรตัส)

อ้างอิง แก้

  1. Nimbostratus เก็บถาวร 2019-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน in the Oxford Dictionaries Online
  2. "Nimbostratus clouds". Met Office. สืบค้นเมื่อ September 1, 2019.
  3. Pretor-Pinney, Gavin (2007). The Cloudspotter's Guide: The Science, History, and Culture of Clouds. Perigee. ISBN 0-399-53345-1.
  4. Bennett, Doug (April 25, 2017). "What Kind of Weather Do Nimbostratus Clouds Cause?". Sciencing. สืบค้นเมื่อ September 1, 2019.
  5. Dunlop, Storm (2003). Weather Identification Handbook: The Ultimate Guide for Weather Watchers. Guilford, Connecticut: Globe Pequot. ISBN 1-58574-857-9.
  6. Thompson, Graham; Turk, Jonathan (1993). Earth Science and the Environment. Fort Worth: Saunders College Publishing. ISBN 0-03-075446-1.
  7. World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Species, International Cloud Atlas (PDF). pp. 18–20. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  8. World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Varieties, International Cloud Atlas (PDF). pp. 20–22. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.
  9. World Meteorological Organization, บ.ก. (1975). Features, International Cloud Atlas (PDF). Vol. I. pp. 22–24. ISBN 92-63-10407-7. สืบค้นเมื่อ 26 August 2014.