ชาลส์ เทรเวเลียน บารอเนตที่ 1

ชาลส์ เทรเวเลียน บารอเนตที่ 1 (อังกฤษ: ’’Charles Trevelyan, 1st Baronet’’; 2 เมษายน ค.ศ. 1807 - 19 มิถุนายน ค.ศ. 1886) ชาลส์ เทรเวเลียนข้าราชการชาวอังกฤษและข้าหลวงแห่งมัทราส

ชาลส์ เทรเวเลียน บารอเนตที่ 1
Charles Trevelyan, 1st Baronet
ชาลส์ เทรเวเลียน ราวคริสต์ทศวรรษ 1840
เกิด2 เมษายน ค.ศ. 1807
อสัญกรรม19 มิถุนายน ค.ศ. 1886
บรรดาศักดิ์ขุนนางอังกฤษ
ขุนนางอังกฤษ - กษัตริย์อังกฤษ - ชาวอังกฤษ

เทรเวเลียนผู้ที่ถือกำเนิดที่ทอนทันในมณฑลซัมเมอร์เซ็ทเป็นบุตรของจอร์จ เทรเวเลียนอาร์คดีคอนแห่งทอนทัน และ ภรรยาแฮร์เรียต ในคริสต์ทศวรรษ 1830 เทรเวเลียนทำงานที่โกลกาตาในบริติชราชและมีบทบาทในด้านการศึกษา

ระหว่างปี ค.ศ. 1840 ถึงปี ค.ศ. 1859 เทรเวเลียนมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ระหว่างทั้งวิกฤติการณ์ความอดอยากครั้งใหญ่ในไอร์แลนด์ และ ความอดอยากมันฝรั่งในสกอตแลนด์ ที่เกิดขึ้นระหว่างปี ค.ศ. 1846 ถึงปี ค.ศ. 1857 ในไอร์แลนด์เทรเวเลียนมีความรับผิดชอบในการบริหารโครงการบรรเทาภาวะการขาดแคลนอาหาร ส่วนในสกอตแลนด์เทรเวเลียนมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับงานของคณะกรรมการกลางเพื่อการบรรเทาทุกข์ในสกอตแลนด์ ความขาดประสิทธิภาพและทัศนคติส่วนตัวของเทรเวเลียนที่มีต่อชาวไอร์แลนด์เชื่อกันว่าเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ปัญหาที่เกิดขึ้นร้ายแรงกว่าที่ควรจะเป็น[1] ในฐานะผู้ช่วยรัฐมนตรีเทรเวเลียนมีหน้าที่รับผิดชอบต่อการบริหารโครงการบรรเทาทุกข์ของรัฐบาลเพื่อผู้ประสบความยากเข็ญระหว่างภาวะความอดอยากของคริสต์ทศวรรษ 1840 ระหว่างวิกฤติการณ์เทรเวเลียนตีพิมพ์บทความที่แสดงถึงทัศนคติของตนต่อเหตุการณ์ที่มีต่อเกิดขึ้น เทรเวเลียนมีความเห็นว่าความอดอยากเป็น “เครื่องมือในการลดจำนวนประชากรที่เกินไปจากปกติ” และบรรยายภาวะดังกล่าวว่าเป็น “การตัดสินของพระเจ้าในการส่งความภัยพิบัติลงมาเพื่อสั่งสอนชาวไอริชให้ได้รับบทเรียน …ตัวปัญหาที่แท้จริงที่เราจะต้องแก้มิใช่ความเลวร้ายของความอดอยาก แต่เป็นความเลวร้ายทางจริยธรรมของลักษณะของประชาชนที่เห็นแก่ตัว, นอกลู่นอกทาง และขาดความสงบ”[2] ในจดหมายอีกฉบับหนึ่งลงวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1846 เทรเวเลียนกล่าวว่า “การแก้ปัญหาของรัฐบาลต้องดำเนินต่อไปโดยให้มีผลกระทบกระเทือนต่อกิจการธุรกิจอันเป็นปกติของเอกชนให้น้อยที่สุด ที่ควรจะเป็นวิธีหารายได้หลักในการดำรงชีวิตของประชาชน แต่จะอย่างไรก็ตามประชาชนจะไม่ต้องถูกทอดทิ้งให้อดตาย[3] เมื่อจะอดตายก็ควรจะสร้างความยุ่งยากให้แก่การค้าขายของเอกชนให้น้อยที่สุด”

อ้างอิง แก้

  1. Cecil Woodham-Smith, 1962. The Great Hunger
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-18. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
  3. Austin Bourke's "Apologia for a dead civil servant, from The Irish Times 5-6 May 1977.

ดูเพิ่ม แก้