คุรุเตฆ์บะฮาดุร

คุรุซิกข์ท่านที่ 9

คุรุเตฆ์บะฮาดุร หรือ คุรุเตฆบหาทูร (Guru Tegh Bahadur)[5][6] เป็นคุรุศาสดาท่านที่ 9 จาก 10 องค์ของศาสนาซิกข์ คุรุเตฆ์บะฮาดุรเป็นผู้ที่มุ่งมั่นรื้อฟื้นคำสอนเดิมของคุรุนานักเทพจี ท่านทรงนิพนธ์เพลงสวดและบทกลอน 116 บทเพิ่มเข้าไปในคุรุครันถสาหิพ ท่านทรงอยู่ในช่วงเวลาลำบากที่โดนจักรวรรดิโมกุลบังคับให้เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม เช่นเดียวกันกับ บัณฑิตชาวกัศมีร์ (ชาวฮินดูในกัศมีร์)[1][7] และศาสนิกชนของศาสนาอื่น ๆ จนกระทั่งในที่สุดท่านทรงถูกตัดสินประหารชีวิตโดยจักรพรรดิออรังเซพในปี 1675 ต่อหน้าสาธารณชนที่เมืองเดลี เนื่องด้วยท่านทรงไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม และยังทรงให้การช่วยเหลือบัณฑิตกัศมีร์และศาสนิกชนศาสนาอื่น ๆ ในการหลบหนีและต่อต้านการบังคับนี้ผ่านกองทัพสิกข์ขาลสาต่อสู้กับกองทัพโมกุล ในวินาทีสุดท้ายก่อนการประหารชีวิต ท่านทรงได้รับข้อเสนอให้เปลี่ยนศาสนาในวินาทีสุดท้ายแล้วจะพ้นโทษหนักนี้ทันที ท่านตอบยืนยันคำเดิมว่าท่านจะคงเป็นซิกข์ตลอดไปจนถึงตราบลมหายใจสุดท้ายในพระชนม์ชีพของท่าน[3][8][9] สถานที่ประหารชีวิตและจัดการฝังพระศพท่าน ตั้งอยู่ที่ปัจจุบันคือ คุรุทวาราสีสคันชสาหิบ และ คุรุทวารารกับคันชสาหิบ ในเดลี ประเทศอินเดีย ในปัจจุบัน[10] การสละพระชนม์ชีพเพื่อความเชื่อ (martyrdom) ของท่านนั้นระลึกเป็นวันสำคัญตามปฏิทินนานักชาฮี "ชาฮีทิวาสของคุรุเตฆ์บะฮาดุร" (Shaheedi Divas of Guru Tegh Bahadur) ตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายนของทุกปี มาตั้งแต่ปี 2003[11]

คุรุเตฆ์บะฮาดุร
ภาพของคุรุเตฆ์บะฮาดุร
เกิดTyaga Mal
1 เมษายน ค.ศ.1621
อมฤตสระ, รัฐปัญจาบ, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศอินเดีย)
เสียชีวิต24 พฤศจิกายน ค.ศ. 1675(1675-11-24) (54 ปี)
เดลี, จักรวรรดิโมกุล (ปัจจุบันคือประเทศอินเดีย)
สาเหตุเสียชีวิตถูกตัดศีรษะ
ชื่ออื่น
  • คุรุองค์ที่ 9 ค.ศ.1664–1675
มีชื่อเสียงจาก
ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนคุรุหรกิศัน
ผู้สืบตำแหน่งคุรุโควินทสิงห์
คู่สมรสMata Gujri
บุตรคุรุโควินทสิงห์
บิดามารดาคุรุหรโคพินท์กับ Mata Nanaki
ภาพภายในคุรุทวาราสีสคันชสาหิบ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Pashaura Singh and Louis Fenech (2014). The Oxford handbook of Sikh studies. Oxford, UK: Oxford University Press. pp. 236–245, 444–446, Quote:"this second martyrdom helped to make 'human rights and freedom of conscience' central to its identity." Quote:"This is the reputed place where several Kashmiri Pandits came seeking protection from Auranzeb's army.". ISBN 978-0-19-969930-8.
  2. Gill, Sarjit S., and Charanjit Kaur (2008), "Gurdwara and its politics: Current debate on Sikh identity in Malaysia", SARI: Journal Alam dan Tamadun Melayu, Vol. 26 (2008), pages 243-255, Quote: "Guru Tegh Bahadur died in order to protect the Kashmiri Hindus' religious freedom."
  3. 3.0 3.1 Seiple, Chris (2013). The Routledge handbook of religion and security. New York: Routledge. p. 96. ISBN 978-0-415-66744-9.
  4. Gandhi, Surjit (2007). History of Sikh gurus retold. Atlantic Publishers. pp. 653–91. ISBN 978-81-269-0858-5.
  5. W. H. McLeod (1984). Textual Sources for the Study of Sikhism. Manchester University Press. pp. 31–33. ISBN 9780719010637. สืบค้นเมื่อ 14 November 2013.
  6. "The Ninth Master Guru Tegh Bahadur (1621 - 1675)". sikhs.org. สืบค้นเมื่อ 23 November 2014.
  7. Arvind-Pal Singh Mandair (2013). Sikhism: A Guide for the Perplexed. Bloomsbury Academic. pp. 53–54. ISBN 978-1-4411-0231-7., Quote: "The Guru's stance was a clear and unambiguous challenge, not to the sovereignty of the Mughal state, but to the state's policy of not recognizing the sovereign existence of non-Muslims, their traditions and ways of life".
  8. "Religions - Sikhism: Guru Tegh Bahadur". BBC. สืบค้นเมื่อ 20 October 2016.
  9. Pashaura Singh; Louis E. Fenech (2014). The Oxford Handbook of Sikh Studies. Oxford University Press. pp. 236–238. ISBN 978-0-19-969930-8.;
    Fenech, Louis E. (2001). "Martyrdom and the Execution of Guru Arjan in Early Sikh Sources". Journal of the American Oriental Society. American Oriental Society. 121 (1): 20–31. doi:10.2307/606726. JSTOR 606726.;
    Fenech, Louis E. (1997). "Martyrdom and the Sikh Tradition". Journal of the American Oriental Society. American Oriental Society. 117 (4): 623–642. doi:10.2307/606445. JSTOR 606445.;
    McLeod, Hew (1999). "Sikhs and Muslims in the Punjab". South Asia: Journal of South Asian Studies. Taylor & Francis. 22 (sup001): 155–165. doi:10.1080/00856408708723379. ISSN 0085-6401.
  10. H. S. Singha (2000). The Encyclopedia of Sikhism (over 1000 Entries). Hemkunt Press. p. 169. ISBN 978-81-7010-301-1.
  11. Eleanor Nesbitt (2016). Sikhism: a Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 6, 122–123. ISBN 978-0-19-874557-0.