กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา

กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา (อังกฤษ: Formosan language) เป็นภาษาของชาวพื้นเมืองในไต้หวันซึ่งมีจำนวน 2% ของประชากรบนเกาะไต้หวัน[2] แต่มีจำนวนน้อยกว่านั้นที่ยังพูดภาษาดั้งเดิมของตน จากภาษาพื้นเมืองทั้งหมด 26 ภาษา เป็นภาษาตายแล้ว 10 ภาษา ที่เหลืออีก 4–5 ภาษาเป็นภาษาที่ใกล้ตาย[3][4] ที่เหลือจัดเป็นภาษาที่เสี่ยงที่จะกลายเป็นภาษาตาย

Formosan
กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซา
(ทางภูมิศาสตร์)
กลุ่มเชื้อชาติ: ชนพื้นเมืองดั้งเดิมไต้หวัน (Formosan people)
ภูมิภาค:ไต้หวัน
การจําแนก
ทางภาษาศาสตร์
:
ออสโตรนีเซียน
  • Formosan
กลุ่มย่อย:
ISO 639-5:fox
กลอตโตลอก:None
{{{mapalt}}}
กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซาก่อนการตั้งรกรากของชาวจีนโดย Blust (1999), ภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซีย (สีแดง) อาจอยู่ในกลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซาตะวันออก (สีม่วง) สำหรับบริเวณสีขาวไม่มีการตรวจสอบ; แผนที่บางฉบับระบุเป็น Luiyang, Kulon หรือกลุ่มภาษา'เกอตางาลัน'[1]

ภาษาพื้นเมืองของไต้หวันมีความสำคัญมากในทางภาษาศาสตร์ เพราะไต้หวันคล้ายจะเป็นจุดกำเนิดของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนทั้งหมด จากการจัดของโรเบิร์ต บลัสต์ (ค.ศ. 1999) กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซามี 9 สาขาจากทั้งหมด 10 สาขาของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน[5] โดยอีกสาขาหนึ่งคือกลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย ราว 1,200 ภาษา ที่พบนอกเกาะไต้หวัน[6] แม้ว่านักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมรับรายละเอียดของบลัสต์ทั้งหมด แต่ก็ยอมรับร่วมกันว่าตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนมีจุดกำเนิดในไต้หวัน[7] และมีการศึกษาทางด้านพันธุศาสตร์มนุษย์เพิ่มเติมเกี่ยวกับสมมติฐานนี้[8]

ปัจจุบัน แก้

กลุ่มภาษาเกาะฟอร์โมซาทั้งหมดกำลังถูกแทนที่ด้วยภาษาจีนกลางหลังจากที่รัฐบาลของสาธารณรัฐจีนเริ่มจัดการศึกษาให้ชาวพื้นเมืองในไต้หวัน[9][10]

ในปี พ.ศ. 2548 เพื่อช่วยอนุรักษ์ภาษาของชาวพื้นเมืองดั้งเดิมไต้หวัน รัฐสภาได้กำหนดระบบการเขียนสำหรับภาษาของชาวพื้นเมืองไต้หวันทั้งหมดโดยใช้อักษรโรมัน สภายังจัดให้มีชั้นเรียนและโปรแกรมการรับรองภาษาสำหรับสมาชิกของชุมชนพื้นเมืองและชาวไต้หวันที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมืองเพื่อช่วยกระบวนการอนุรักษ์[11]

รายชื่อภาษา แก้

การกำหนดขอบเขตของภาษาและสำเนียงโดยทั่วไปทำได้ยาก และมักมีข้อโต้แย้งเสมอ ซึ่งพบได้เช่นกันในการศึกษาภาษาในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะภาษาของเผ่าที่คล้ายกัน โดยทั่วไปมีการจัดแบ่งดังนี้

อ้างอิง แก้

  1. "Táiwān yuánzhùmín píngpǔ zúqún bǎinián fēnlèi shǐ xìliè dìtú" 臺灣原住民平埔族群百年分類史系列地圖 (A history of the classification of Plains Taiwanese tribes over the past century). blog.xuite.net (ภาษาจีน). 2009-08-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-11. สืบค้นเมื่อ 2017-03-04.
  2. Council of Indigenous Peoples, Executive Yuan "Statistics of Indigenous Population in Taiwan and Fukien Areas" เก็บถาวร 30 สิงหาคม 2006 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. Zeitoun, Elizabeth & Ching-Hua Yu "The Formosan Language Archive: Linguistic Analysis and Language Processing" เก็บถาวร 2011-07-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Computational Linguistics and Chinese Language Processing. Volume 10, No. 2, June 2005, pp. 167–200
  4. Li, Paul Jen-kuei; Tsuchida, Shigeru (2006). 《噶瑪蘭語詞典》Kavalan Dictionary (PDF). Monograph Series No. A19 (ภาษาอังกฤษ และ จีน). Taipei: Institute of Linguistics, Academia Sinica. ISBN 978-9860069938. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ 2022-02-14.
  5. Blust, Robert (1999). "Subgrouping, Circularity and Extinction: Some Issues in Austronesian Comparative Linguistics". ใน Zeitoun, Elizabeth; Li, Jen-kuei (บ.ก.). Selected Papers from the Eighth International Conference on Austronesian Linguistics (ภาษาอังกฤษ). Taipei: Academia Sinica. ISBN 978-9576716324.
  6. Diamond, Jared M. "Taiwan's gift to the world" เก็บถาวร 17 มิถุนายน 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Nature, Volume 403, February 2000, pp. 709-710
  7. Fox, James J."Current Developments in Comparative Austronesian Studies" เก็บถาวร 2006-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Paper prepared for Symposium Austronesia Pascasarjana Linguististik dan Kajian Budaya. Universitas Udayana, Bali 19-20 August 2004.
  8. Trejaut JA, Kivisild T, Loo JH, Lee CL, He CL, และคณะ (5 กรกฎาคม 2005). "Traces of archaic mitochondrial lineages persist in Austronesian-speaking Formosan populations". PLoS Biology. 3 (8): e247. doi:10.1371/journal.pbio.0030247.
  9. Lee, Hui-chi Lee (2004). A Survey of Language Ability, Language Use and Language Attitudes of Young Aborigines in Taiwan. In Hoffmann, Charlotte & Jehannes Ytsma (Eds.) Trilingualism in Family, School, and Community pp.101-117. Clevedon, Buffalo: Multilingual Matters. ISBN 1-85359-693-0.
  10. Huteson, Greg. (2003). Sociolinguistic survey report for the Tona and Maga dialects of the Rukai Language. SIL Electronic Survey Reports 2003-012, Dallas, TX: SIL International.
  11. Hsu, Jenny W. (2010-06-07). "Aboriginal Language Classes Open to Public". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29 – โดยทาง galdu.org.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้