ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนที่ 1 แห่งพม่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 48:
}}
 
จอมพลเรือ '''หลุยส์ ฟรานซิส อัลเบิร์ต วิคเตอร์ นิโคลัส เมานต์แบ็ตเทน เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่าเอิร์ลที่ 1 เมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่า''' ({{lang-en|Louis Francis Albert Victor Nicholas Mountbatten, Earl Mountbatten of Burma}}) หรือนามเดิมคือ '''เจ้าชายหลุยส์แห่งบัทเทินแบร์ค;''' เป็นรัฐบุรุษและทหารเรือชาวอังกฤษ25 มิถุนายน ค.ศ. 1900 – 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 เป็นเหลนทวดในสมาชิก[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งราชวงศ์สหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียราชวงศ์บริติช]] เจ้าหน้าที่แห่ง[[ราชนาวี]] และเป็นน้าในรัฐบุรุษ พระมาตุลาของ[[เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ]] และพระอนุวงศ์ของ[[สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร]] ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] พระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พระองค์ทรงเป็นอุปราชแห่งอินเดียคนสุดท้ายแห่งบริติชอินเดียและข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่ง[[ประเทศอินเดียในเครือจักรภพ]]
 
พระองค์ทรงประสูติที่เมืองวินด์เซอร์ในครอบครัวตระกูลบัทเทินแบร์คที่มีชื่อเสียง เมานต์แบ็ตเทนทรงเข้าเรียนที่ Royal Naval College, Osborne ก่อนที่จะเข้าสู่กองทัพเรือหลวงในปี ค.ศ. 1916 พระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในช่วงท้ายของ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]] และหลังสงคราม พระองค์ทรงได้เข้าเรียนที่ Christ's College, เคมบริดจ์ ในช่วงสมัยระหว่างสงคราม เมานต์แบ็ตเทนยังคงดำรงอาชีพทหารเรือ ทรงมีความเชี่ยวชาญด้านการสื่อสารทางเรือ ภายหลังการลุกลามของ[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] เมานต์แบ็ตเทนทรงได้บัญชาการในเรือพิฆาต [[เรือหลวงเคลี่]] และกองเรือรบพิฆาตที่ 5 และพระองค์ทรงมีบทบาทที่สำคัญในนอร์เวย์ ช่องแคบอังกฤษ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1941 พระองค์ทรงได้บัญชาการในเรือบรรทุกเครื่องบิน [[เรือหลวงอิลัสเทรียส]] พระองค์ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการร่วมและเป็นสมาชิกของคณะกรรมเสนาธิการในต้นปี ค.ศ. 1942 และจัดให้มีการตีโฉบฉวยที่[[การตีโฉบฉวยแซ็ง-นาแซร์|แซ็ง-นาแซร์]]และ[[การตีโฉบฉวยเดียป|เดียป]] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1943 เมานต์แบ็ตเทนทรงกลายเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และดูแลการเข้ายึดครองพม่าและสิงคโปร์อีกครั้งจากญี่ปุ่นในช่วงปลายปี ค.ศ. 1945 จากการปฏิบัติหน้าที่ของพระองค์ในช่วงสงคราม เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์เป็นไวเคานต์ใน ค.ศ. 1946 และเอิร์ลในปีถัดมา
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองเรือสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1943–46) และดำรงตำแหน่งเป็นอุปราชแห่งอินเดีย (1947) และต่อมาดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงต่างพระองค์ประจำอาณานิคมอินเดีย (1947–48) ก่อนที่ต่อมาจะกลับมารับราชการที่ตำแหน่งสมุหราชนาวี และรับราชการในตำแหน่งสุดท้ายที่เสนาธิการกลาโหม นอกจากนี้ในฐานะสมาชิกพระราชวงศ์แล้ว เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนยังเป็นผู้อบรมสั่งสอน[[เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์]] ซึ่งทรงมีศักดิ์เป็นพระนัดดาของพระองค์ ซึ่งทั้งสองพระองค์ก็มักจะเรียกอย่างทรงกันเองว่า "เสด็จปู่–เสด็จหลาน"<ref>{{harvp|Junor|2005|p=72}}.</ref>
 
ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดียและดูแล[[การแบ่งแยกอินเดีย|การแบ่งแยกบริติชอินเดีย]]ออกมาเป็น[[อินเดีย]]และ[[ปากีสถาน]] พระองค์ทรงทำหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรกแห่งอินเดียจนถึงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 ในปี ค.ศ. 1952 เมานต์แบ็ตเทนทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองเรือเมดิเตอร์เรเนียนของบริติช และผู้บัญชาการเนโทแห่งกองกำลังพันธมิตรในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1959 พระองค์ทรงเป็น[[สมุหราชนาวี]] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่พระบิดาของพระองค์ [[เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค]] เคยดำรงตำแหน่งเมื่อสี่สิบปีก่อน หลังจากนั้นพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแห่งเสนาธิการป้องกันจนถึง ค.ศ. 1965 ทำให้พระองค์ทรงเป็นผู้นำที่มีความสามารถในกองทัพบริติชที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดจนถึงปัจจุบัน ในช่วงเวลานั้น เมานต์แบ็ตเทนยังทรงได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานแห่งคณะกรรมมาธิการทหารของเนโทเป็นเวลาหนึ่งปี
 
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1979 เมานต์แบ็ตเทนทรงถูกลอบปลงพระชนม์โดยการวางระเบิดบนเรือตกปลาของพระองค์ในมุลลากมอร์ เคาท์ตี้ สไลโก ประเทศไอร์แลนด์ โดยสมาชิกของ[[กองทัพสาธารณรัฐไอร์แลนด์ชั่วคราว]] พระองค์ได้รับการจัดพิธีพระศพที่ Westminster Abbey และถูกฝังพระศพใน Romsey Abbey ในแฮมป์เชอร์
 
== พระประวัติ ==
เส้น 56 ⟶ 60:
หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทนเป็นบุตรชายของ[[เจ้าชายลูทวิชแห่งบัทเทินแบร์ค]] ซึ่งเป็นเจ้าชายเยอรมันที่เข้ามารับราชการในอังกฤษและได้เสกสมรสกับ[[เจ้าหญิงวิคโทรีอาแห่งเฮ็สเซินและริมไรน์]] พระราชธิดาองค์เล็กใน[[สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร|สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย]] ในปี 1917 พระเจ้าจอร์จที่ห้าได้ถอดฐานันดรเยอรมัน ทำให้ทรงเป็นที่รู้จักกันในนาม ''ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน'' ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด เขารับแต่งตั้งเป็นขุนนางแห่งสหราชอาณาจักร
 
== ถูกฆ่า ลอบปลงพระชนม์ ==
เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนแห่งพม่าถูกลอบฆ่าโดยกลุ่มกบฎแบ่งแยกดินแดนใน[[ไอร์แลนด์เหนือ]] ในคืนวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1979 โดยนายธอมัส แม็กแมฮอน สมาชิกกลุ่มกบฎได้แอบปีนเข้าไปบนเรือของเอิร์ลเมานต์แบ็ตเทน ซึ่งบนเรือขณะนั้นมีสมาชิกโดยสารอยู่คือเอิร์ลเมานต์แบ็ตเทน, ท่านหญิงบราบันด์ ธิดาคนโต, ลอร์ดบราบันด์ สามีของนาง และบุตรของทั้งสองอีกสองคนชื่อนิโคลัสกับพอล คนร้ายได้ทำการวางระเบิดควบคุมโดยวิทยุน้ำหนักราว 20 กิโลกรัม และเกิดการระเบิดขึ้น เอิร์ลเมานต์แบ็ตเทนร่วงลงไปในน้ำและถูกช่วยไว้ได้โดยชาวประมงใกล้เคียงในลักษณะขาขวาเกือบขาดแต่ก็เสียชีวิตด้วยทนพิษบาดแผลไม่ไหว ลอร์ดและท่านหญิงบราบันด์ได้รับบาดเจ็บสาหัส<ref>{{cite news |url= http://www.telegraph.co.uk/news/uknews/northernireland/9366701/Tim-Knatchbull-the-IRA-killed-my-grandfather-but-Im-glad-the-Queen-met-their-man.html |title= Tim Knatchbull: The IRA Killed My Grandfather, but I'm Glad the Queen Met Their Man |work= The Telegraph |location= London |date= 1 July 2012 |accessdate= 20 September 2012}}</ref> ในขณะที่บุตรชายทั้งสองเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ ส่วนท่านหญิงม่ายแห่งบราบันด์ถึงแก่อนิจกรรมในวันรุ่งขึ้นจากพิษบาดแผล<ref>{{cite journal |last= Patton |first= Allyson |title= Broadlands: Lord Mountbatten's Country Home |journal= British Heritage |date= March 2005 |volume= 26 |issue= 1 |pages= 14–17}}</ref>