ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การประท้วงในประเทศโคลอมเบีย พ.ศ. 2564"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nomedizas (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox civil conflict | title = การประท้วงในประเทศโคลอมเบีย พ.ศ. 2564 | subtitle = | par...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:16, 5 พฤษภาคม 2564

การประท้วงซึ่งยังคงดำเนินอยู่ในประเทศโคลอมเบียเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2564 เพื่อต่อต้านข้อเสนอการจัดเก็บภาษีเพิ่มและการปฏิรูประบบสุขภาพของรัฐบาลประธานาธิบดีอิบัน ดูเก มาร์เกซ การริเริ่มปฏิรูปภาษีได้รับการเสนอเพื่อสมทบทุนเข้า อิงเกรโซโซลิดาริโอ ซึ่งเป็นแผนสวัสดิการรายได้พื้นฐานถ้วนหน้าที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในโคลอมเบีย ในขณะที่ร่างกฎหมายที่ 010 เสนอให้มีการแปรรูประบบสุขภาพในโคลอมเบียไปเป็นของเอกชน[2][3][4][5][6]

การประท้วงในประเทศโคลอมเบีย พ.ศ. 2564
ตามเข็มนาฬิกา:
การประท้วงในกาลิเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564, ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งนั่งอยู่หน้าทางเข้าโบสถ์นักบุญโยเซฟในเอลโปบลาโด, ผู้ประท้วงกำลังล้างแก๊สน้ำตาออกจากดวงตา, นักปกป้องสิทธิมนุษยชนสังเกตการณ์การตอบสนองของเจ้าหน้าที่
วันที่28 เมษายน 2564 – ยังคงดำเนินอยู่ (2 ปี 11 เดือน 4 สัปดาห์ 1 วัน)
สถานที่โคลอมเบีย
สาเหตุ
เป้าหมาย
  • การถอนข้อเสนอปฏิรูปภาษี
  • การถอนข้อเสนอปฏิรูประบบสุขภาพ
  • การลาออกของประธานาธิบดีดูเก
วิธีการการนัดหยุดงาน, การประท้วง, การเดินขบวน, การดื้อแพ่ง, การต่อต้านอย่างสงบ, การเคลื่อนไหวทางอินเทอร์เน็ต, การจลาจล
สถานะยังคงดำเนินอยู่
คู่ขัดแย้ง

ผู้ประท้วง


  • สหภาพผู้ใช้แรงงานกลาง (กุต)
  • สมาพันธ์แรงงานใหญ่ (เซเฮเต)
  • สมาพันธ์ผู้ใช้แรงงานโคลอมเบีย (เซเตเซ)
  • สหพันธ์คนทำงานด้านการศึกษาแห่งโคลอมเบีย (เฟโกเด)
  • ดิกนิดัดอาโกรเปกัวเรีย
  • กรูซาดากามิโอเนรา
ผู้นำ
ผู้นำทางสังคมและฝ่ายค้าน
จำนวน
หลายหมื่นคน
หลายพันนาย
ความเสียหาย
เสียชีวิต19–27 คน
บาดเจ็บมากกว่า 800 คน
ถูกจับกุมมากกว่า 500 คน

ในขณะที่ศาลต่าง ๆ ได้คาดไว้ล่วงหน้าว่าจะเกิดการประท้วงขึ้นอย่างกว้างขวางและได้เพิกถอนการอนุญาตให้มีการเดินขบวนเนื่องจากกังวลว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 เพิ่มขึ้น แต่การประท้วงก็เริ่มขึ้นอย่างจริงจังในวันที่ 28 เมษายน ในเมืองใหญ่อย่างโบโกตาและกาลิ ผู้ประท้วงจำนวนหลายพันถึงหลายหมื่นคนออกไปยังท้องถนนโดยปะทะกับเจ้าหน้าที่ในบางกรณี ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยหกคน การประท้วงขยายวงอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่วันถัดมา และท่ามกลางคำสัญญาของดูเกที่จะปรับปรุงแผนภาษีใหม่ การประท้วงก็มาถึงจุดสูงสุดในวันที่ 1 พฤษภาคมซึ่งเป็นวันผู้ใช้แรงงานสากล เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ดูเกประกาศว่าเขาจะถอนแผนภาษีใหม่ทั้งหมดออกไปแต่ไม่ได้ประกาศแผนใหม่ที่เป็นรูปธรรม และการประท้วงยังคงดำเนินต่อไป สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและฮิวแมนไรตส์วอตช์สังเกตพบการปฏิบัติต่อผู้ประท้วงโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ขณะที่อดีตประธานาธิบดีอัลบาโร อูริเบ เบเลซ เรียกร้องให้ประชาชนแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับตำรวจและทหาร

การประท้วงด้วยสาเหตุเดียวกันนี้ยังเกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ เช่น ชิลี แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี โปรตุเกส สเปน สวีเดน สหราชอาณาจักร สหรัฐ เป็นต้น[7]

รายการอ้างอิง

  1. "Álvaro Uribe llama al Ejército a que utilice las armas en las protestas en Colombia". El Pais. สืบค้นเมื่อ 4 May 2021.
  2. Semana (29 April 2021). "Paro Nacional: así titularon los medios internacionales la jornada de protesta en Colombia". Semana.com Últimas Noticias de Colombia y el Mundo (ภาษาspanish). สืบค้นเมื่อ 1 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  3. "Miles de personas marchan en Colombia en protesta por la reforma tributaria en medio de un grave repunte de casos de coronavirus". BBC News Mundo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 1 May 2021.
  4. "Thousands march in Colombia in fourth day of protests against tax plan". Reuters. 1 May 2021. สืบค้นเมื่อ 1 May 2021.
  5. Rauls, Leonie (29 April 2021). "Could Colombia's Protests Derail its Basic Income Experiment?". Americas Quarterly (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Armando Benedetti anuncia que pedirá el retiro de la reforma a la salud". infobae (ภาษาสเปนแบบยุโรป). 2 May 2021. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. Heraldo, El. "Colombianos radicados en el extranjero se unieron al paro nacional". EL HERALDO (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-04.