ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษามลายู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 9192324 สร้างโดย 203.150.172.5 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 70:
ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ ({{lang|ms|''Bahasa Kebangsaan''}} หรือ {{lang|ms|''Bahasa Nasional''}}) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" ({{lang|ms|''Bahasa Melayu''}}) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามลายู" ({{lang|ms|''Bahasa Melayu''}}) หรือ "[[ภาษามาเลเซีย]]" ({{lang|ms|''Bahasa Malaysia''}}) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "[[ภาษาอินโดนีเซีย]]" ({{lang|ms|''Bahasa Indonesia''}}) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน
 
ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของ[[รัฐสุลต่านมะละกา]]และ[[รัฐสุลต่านยะโฮร์|ยะโฮร์]]สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูรีเยา (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาใน[[กลุ่มภาษามลายู]] จากข้อมูลของ[[เอ็ทนอล็อก]] (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษา[[โอรังอัซลี]]ใน[[มาเลเซียตะวันตก]]) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและ[[ภาษาครีโอล]] (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจาก[[ภาษากลาง]]ที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับ[[ภาษามลายูมากัสซาร์กัซซาร์]]ซึ่งปรากฏว่าเป็น[[ภาษาผสม]]
 
== ไวยากรณ์ ==