ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระศรีนครเตาท้าวเธอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อโศก (คุย | ส่วนร่วม)
พระศรีนครเตา
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:48, 10 พฤศจิกายน 2563

พระศรีนครเตาท้าวเธอ หรือที่ชาวอำเภอรัตนบุรีเรียกว่า "เจ้าพ่อศรีนครเตา" เป็นเจ้าเมืองรัตนบุรีคนแรก มีชีวิตอยู่ในช่วงปี2252-2338 รัชสมัยราชอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีผลงานสำคัญต่อราชสำนักอยุธยาในการจับพระยาช้างเผือกคืนสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ปกครองบ้านเมืองเตา ณ ปัจจุบันคือ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์

พระศรีนครเตาท้าวเธอ
ไฟล์:พระศรีนครเตา.jpg
อนุสาวรีย์พระศรีนครเตาท้าวเธอ
ณ สวนศรีนครเตาท้าวเธอ
เกิดพ.ศ. 2252 อัตปือ-แสนแป ราชอาณาจักรล้านช้าง
เสียชีวิตพ.ศ.2338
บ้านไพรขลา อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นเชียงสี, ตากะอ่าม
อาชีพขุนนางฝ่ายทหาร รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์, เจ้าเมืองรัตนบุรี
ยุคสมัยพ.ศ. 2302 - พ.ศ. 2338
ผลงานเด่นจับพระยาช้างเผือก ช้างทรงของสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ คืนกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2303
ตำแหน่งขุนนางรัชสมัยอยุธยาตอนปลาย
บิดามารดา
  • ไม่ปรากฏนาม (บิดา)
  • ไม่ปรากฏนาม (มารดา)
หมวดหมู่:ขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติ

พระศรีนครเตาท้าวเธอ เดิมชื่อ สี หรือเชียงสี (ในภาษากูยเรียก ตากะอาม) เดิมเป็นชาวอัตปือ-แสนแป[1] ราชอาณาจักรล้านช้าง[2] มีอาชีพเป็นนักรบใต้บังคับบัญชาหน้าเผ่าลาว ชื่อขุนเจือง มีความชำนาญในการคล้องช้าง และใช้ช้างในการศึกสงคราม ต่อมาหัวหน้าเผ่าลาวได้สิ้นชีวิต อำนาจกูยแถบบริเวณนั้นเสื่อมอำนาจลง เชียงสีและพวก จึงได้ย้ายถิ่นฐานเข้าสู่ดินแดนอาณาจักรอยุธยา ในปี 2199-2231 โดยมุ่งหน้าสู่ฝั่งขวาแม่นํ้าโขง บริเวณอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนที่จะเข้าสู่บริเวณอีสานใต้ในปัจจุบัน และได้แบ่งพวกออกเป็นหลายกลุ่มเพื่อตั้งถิ่นฐาน ดังนี้

  • พวกที่ 1 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองที (บ้านเมืองที ตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์) หัวหน้ากลุ่มชื่อ “เชียงปุม”
  • พวกที่ 2 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดหวาย (ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี) หัวหน้ากลุ่มชื่อ “เชียงสี”[3]
  • พวกที่ 3 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเมืองลีง (เขตอำเภอจอมพระ) หัวหน้ากลุ่มชื่อ “เชียงสง”
  • พวกที่ 4 มาตั้งถื่นฐานที่บ้านโคกลำดวน (เขตอำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ) หัวหน้ากลุ่มชื่อ “เชียงขัน หรือ ตากะจะ”
  • พวกที่ 5 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านอัจจะปะนึง หรือ “โคกอัจจะ” (เขตอำเภอสังขะ) หัวหน้ากลุ่มชื่อ “เชียงฆะ”
  • พวกที่ 6 มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านกุดปะไท (บ้านจาระพัตร อำเภอศีขรภูมิ) หัวหน้ากลุ่มชื่อ “เชียงชัย”

พ.ศ. 2302[4] สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑๓ สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) เกิดช้างเผือกแตกโรงออกจากเมืองหลวง เข้าไปทางทิศตะวันออก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้เจ้าสองพี่น้อง(พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและ เจ้าพระยาสุรสีห์พิษณุวาธิราช) [5]กับไพร่พล 30 นาย ออกติดตามมาถึงเมืองพิมายและได้ทราบจากเจ้าเมืองพิมายว่า ในดงริมเขามีส่วยซึ่งชำนาญในการจับช้างและเลี้ยงช้างอยู่ หากสืบหาจากพวกส่วยนี้จะทราบเรื่อง เจ้าสองพี่น้องกับไพร่พลจึงติดตามไป และได้พบกับเชียงสี หัวหน้าบ้านกุดหวาย เจ้าสองพี่น้องจึงขอร้องให้ช่วยจับพระยาช้างคืนราชสำนักอยุธยา เชียงสีเมื่อได้ทราบเช่นนั้นแล้วจึงรับปากที่จะช่วยเหลือ และได้พาไปเข้าพบกับพวกทั้ง4 คือ เชียงปุ้ม เชียงฆะ เชียงขัน

เมื่อพบหัวหน้าทั้งหมดแล้ว เชียงฆะได้แจ้งแก่เจ้าสองพี่น้องและคณะว่า พบช้างพลายที่งา มีเครื่องประดับนำช้างมาเล่นน้ำที่หนองโชคในตอนบ่ายๆ ทุกวัน ทั้งหมดจึงไปที่หนองโชค เมื่อไปถึงก็คอยดูโขลงช้างที่จะมาเล่นน้ำ เมื่อถึงเวลา โขลงช้างประมาณ 50 – 60 เชือก ก็พากันมาลงเล่นน้ำ ทีแรกไม่ทราบว่าเครื่องไหนเป็นช้างเผือก เพราะช้างเล่นคลุกโคลนตมดำเต็มตัว จึงเหมือนกันหมดโขลง พอช้างลงเล่นน้ำ ช้างเผือก 2 เชือกก็ปรากฏทันที เชียงสีกับพวกจึงใช้พิธีกรรมทางไสยศาสตร์จับช้าง

เมื่อเจ้าสองพี่น้องและคณะจับช้างได้แล้ว ได้พากันมาที่บ้านเชียงไชย ได้เวลาสมควรก็อำลากลับ ก่อนกลับได้สั่งพวกทั้งหกว่า ขอให้ไปเยี่ยมบ้างในฐานะเพื่อนฝูงกัน เราจะกราบทูลพระเจ้าอยู่หัวให้ทรงทราบ เพื่อจะได้โปรดฯ พระราชทานความชอบให้ ทั้งหกรับคำและลาจากกัน โดยมีเชียงสีตามส่งจนพ้นเขตแดนเมืองพิมายตามลำดับ ต่อมาเชียงสีและพวกจึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก[สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์[]] ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เป็นหัวหน้าปกครองหมู่บ้านของตน[6] โดยทำราชการขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย มีดังนี้[7]

  • เชียงสีได้เป็น หลวงศรีนครเตาท้าวเธอ
  • เชียงฆะ ได้เป็น หลวงสังฆะบุรีศรีอจจะ
  • เชียงปุม ได้เป็น หลวงสุรินทร์เสน่หา (ภายหลังได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสุรินทร์ภัคดี)
  • เชียงชัย ได้เป็น ขุนชัยสุริยวงศ์

ด้วยความจงรักภักดีต่อบ้านเมืองช่วยราชการงานศึกสงคราม มีความดีความชอบและได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศถาบรรดาศักดิ์เป็น “ พระศรีนครเตาท้าวเธอ ” [8]ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองรัตนบุรี จนถึงวาระ เและเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีที่ได้ทำให้แก่ชาติบ้านเมือง ชาวอำเภอรัตนบุรี จึงรวมใจสร้างอนุสาวรีย์ของพระศรีนครเตาท้าวเธอ ณ สวนสาธารณะศรีนครเตาท้าวเธอ ถนนศรีนคร อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ และจัดให้มีงานสมโภชน์ สักการะทุกๆปี

สถานที่รำลึกถึง

  • ศาลเจ้าพ่อศรีนครเตาท้าวเธอ[9]
  • อนุสาวรีย์พระศรีนครเตาท้าวเธอ ณ สวนสาธารณะศรีนครเตา

อ้างอิง

  1. https://www.thaitambon.com/tambon/320701
  2. http://websanom.blogspot.com/2012/03/blog-post_05.html
  3. https://district.cdd.go.th/rattanaburi/about-us/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/
  4. http://lrls.nfe.go.th/LRLS/frontend/theme/km_category.php?ID_KM_Type=2359
  5. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000059735
  6. http://www.anantasook.com/rattanaburi-history-of-rattanaburi-city/
  7. https://mgronline.com/onlinesection/detail/9590000059735
  8. http://kuination.blogspot.com/2015/06/blog-post_27.html
  9. https://thailandtourismdirectory.go.th/th/info/attraction/detail/itemid/4958