ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ย่านความถี่ 160 เมตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rameshe999 (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนทางหน้าไปยัง วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
ป้ายระบุ: เปลี่ยนทางใหม่ เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ลบการเปลี่ยนทางไป วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย
ป้ายระบุ: ลบหน้าเปลี่ยนทาง ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 1:
#เปลี่ยนทาง [[{{รวม|วิทยุสมัครเล่นในประเทศไทย]]}}
[[ไฟล์:160-meter-ground.jpg|thumb|right|250px|ระบบกราวด์ของสายอากาศสำหรับย่านความถี่ 160 เมตร]]
'''ย่านความถี่ 160 เมตร''' เป็นย่านความถี่ที่มีความถี่สูงกว่าความถี่ของวิทยุกระจายเสียง A.M. เล็กน้อย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแถบความถี่ปานกลาง (MF หรือย่อมาจาก Medium wave) ย่านความถี่ 160 เมตรถูกจัดสรรให้กับกิจการวิทยุสมัครเล่น โดยทั่วไปแล้วย่านความถี่นี้จะมีความยาวคลื่นสูงสุด ที่อนุญาตให้กับนักวิทยุสมัครเล่นในหลาย ๆ ประเทศ ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิทยุสมัครเล่นเรียกย่านความถี่นี้ว่า '''Top Band'''
 
==การแพร่กระจายคลื่น==
ย่านความถี่ 160 เมตร เป็นย่านความถี่ที่เหมาะกับการติดต่อสื่อสารในช่วงเวลา[[กลางคืน]] การติดต่อในช่วงเวลากลางวันนั้นจะถูก [[ชั้นบรรยากาศ]] D-layer ดูดกลืนเอาไว้ ทำได้เพียงแค่การแพร่กระจายคลื่นแบบ ground-wave สามารถติดต่อได้ในระยะทางประมาณ 1,500 กิโลเมตร (สำหรับสถานีวิทยุที่ติดตั้งอย่างดี และส่งด้วยกำลังส่งสูงสุดเท่าที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ คือ 1,500 วัตต์) ในช่วงเวลา[[กลางคืน]][[ชั้นบรรยากาศ]] D-layer จะจางหายไปอย่างรวดเร็วทำให้การติดต่อสื่อสารรอบโลกด้วยย่านความถี่ 160 เมตร มีความเป็นไปได้มากขึ้น ด้วยการแพร่กระจายคลื่นแบบ F2 layer skip และ ducting สัญญาณรบกวนที่เกิดจากธรรมชาติ และเกิดจากมนุษย์ จะเป็นตัวจำกัดการติดต่อสื่อสาร เพราะว่าย่านความถี่นี้จะไวต่อสัญญาณรบกวนมาก ช่วงฤดูกาลที่เหมาะกับการติดต่อทางไกลสำหรับย่านความถี่ 160 เมตรก็คือ[[ฤดูหนาว]]
==ระบบสายอากาศสำหรับย่าน 160 เมตร==
 
ปัญหาหนึ่งของย่านความถี่ 160 เมตรนอกจากขนาด[[สายอากาศ]]ที่ใหญ่โตก็คือสัญญาณรบกวนอย่างมาก สำหรับการติดต่อแบบหวังผล เราใช้สายอากาศแค่ชุดเดียวอาจจะทำได้ยาก จำเป็นต้องมีการแยกสายอากาศระหว่างสายอากาศส่ง (Transmitting Antenna) และสายอากาศรับ (Receiving Antennas) โดยสายอากาศรับ อาจจะเป็นสายอากาศแบบ Beverage, 4-square, small loop และอื่น ๆ ก็ได้ สาเหตุที่ต้องแยกส่วนกันก็เพราะว่า ในส่วนของการรับ จำเป็นต้องมีการกำจัดสัญญาณรบกวนออกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (อัตราการขยายของสายอากาศเป็นลบ) ส่วนการส่งสัญญาณจำเป็นต้องให้มีความแรงในการแพร่กระจายคลื่นมากที่สุด
 
==อ้างอิง==
*http://www.arrl.org/propagation-of-rf-signals
*http://www.hs8jyx.com/html/cq160_2010.html
*http://www.w8ji.com/receiving.htm
 
[[หมวดหมู่:ย่านความถี่วิทยุสมัครเล่น]]