ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏหวันหมาดหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
การรบที่สงขลาและปัตตานี
บรรทัด 2:
 
== เหตุการณ์นำ ==
สุลต่านอาหมัดทัจจุทายุดดินฮาลิมชาฮ์ (Ahmad Tajuddin Halim Shah) แห่งไทรบุรี หรือตวนกูปะแงหรัน (Tunku Pengeran) แข็งเมืองไม่ขึ้นต่อสยามและหันไปสร้างสัมพันธไมตรีกับฝ่ายพม่า<ref>[[กรมพระยาดำรงราชานุภาพ|สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]. ''พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒''.</ref> [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]]จึงมีพระราชโองการให้[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)|พระยานครศรีธรรมราช (น้อย)]] นำทัพเข้ายึดไทรบุรีใน พ.ศ. 2364 เมื่อพระยานครฯ (น้อย) เข้ายึดไทรบุรีแล้ว สุลต่านตวนกูปะแงหรันเดินทางหลบหนีไปยัง[[เกาะปีนัง]] ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ (ไทรบุรีได้มอบเกาะปีนังให้แก่อังกฤษตั้งแต่ พ.ศ. 2329) ฝ่ายสยามผนวกไทรบุรีเข้ามาปกครองโดยตรงขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช พระภักดีบริรักษ์ (แสง) บุตรชายของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ได้เป็นเจ้าเมืองไทรบุรีแทน ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระยาอภัยธิเบศร์เจ้าเมืองไทรบุรี หลังจากที่สยามเข้ายึดเมืองไทรบุรีแล้ว มีชาวมลายูไทรบุรีจำนวนมากรวมทั้งเชื้อวงศ์ของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันหลบหนีไปยัง[[เกาะลังกาวี]]<ref name=":0">Maziar Mozaffari Falarti (2013). ''Malay Kingship in Kedah: Religion, Trade, and Society''. Rowman & Littlefield.</ref> ในปีต่อมา พ.ศ. 2365 เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ยกทัพเรือเข้าโจมตีและยึดเกาะลังกาวีได้สำเร็จ<ref name=":0" /> หวันมูฮาหมัดอาลี (Wan Muhammad Ali) ผู้เป็นบุตรชายของผู้ปกครองเกาะลังกาวี หลบหนีจากเกาะลังกาวีไปยัง[[กลุ่มเกาะมะริด|หมู่เกาะมะริด]]และตะนาวศรี<ref name=":0" /> ในขณะที่ตนกูมูฮาหมัดซาอัด (Tunku Muhammad Sa'ad) หลานชายของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันหลบหนีไปยังแขวงเมือง[[อาเจะฮ์]][[เกาะสุมาตรา]]<ref name=":0" />
 
[[สนธิสัญญาเบอร์นี]] (Burney Treaty) ระหว่างสยามและอังกฤษในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2369 อังกฤษยอมรับอำนาจของสยามเหนือไทรบุรี โดยมีข้อแลกเปลี่ยนให้สยามงดเว้นการรุกราน[[รัฐเปรัก]]และ[[รัฐเซอลาโงร์|เซอลาโงร์]] ตามสัญญาข้อที่สิบสาม อังกฤษให้สัญญาเรื่องการวางตัวเป็นกลางในความขัดแย้งระหว่างสยามและไทรบุรี สัญญาว่าจะนำตัวอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันออกจากเกาะปีนังไปพำนักที่อื่น และจะไม่ให้การสนับสนุนแก่กองกำลังของอดีตสุลต่านแห่งไทรบุรีในการกบฏต่อสยาม แม้ว่าอังกฤษจะให้สัญญาเช่นนี้แล้ว แต่เกาะปีนังและ[[ทะเลอันดามัน]]ยังคงเป็นแหล่งของผู้ที่สนับสนุนอดีตสุลต่านในการกอบกู้รัฐไทรบุรี<ref>Wynne, Mervyn Llewelyn (2000). ''Triad Societies: Western Accounts of the History, Sociology and Linguistics of Chinese Secret Societies''. Taylor & Francis.</ref>
บรรทัด 8:
ใน พ.ศ. 2374 รัชกาล[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ตนกูกูเด่น (Tunku Kudin) ผู้เป็นบุตรของพี่ชายของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรัน ยกทัพทางบกจากโปรวินซ์เวลส์เลย์เข้ายึดเมือง[[อาโลร์เซอตาร์]]เมืองหลวงของไทรบุรีได้สำเร็จ พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรีหลบหนีมาอยู่ที่[[พัทลุง]] ฝ่ายหัวเมืองปัตตานีห้าหัวเมืองจากเจ็ดหัวเมืองนำโดย[[พระยาตานี (ต่วนสุหลง)|ต่วนสุหลง]] (Tuan Sulong) เจ้าเมืองปัตตานี เมื่อถูกเกณฑ์กำลังพลไปสู้รบกับไทรบุรีจึงก่อการกบฏขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจาก[[รัฐกลันตัน]]และ[[รัฐตรังกานู]] ลุกลามไปสู่[[กบฏหัวเมืองมลายู พ.ศ. 2374-75]] ซึ่งหัวเมืองมลายูทั้งไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน และตรังกานู ต่างกบฏขึ้นต่อการปกครองของสยาม เจ้าพระยานครฯ (น้อย) สามารถยึดเมืองอาโลร์เซอตาร์คืนมาได้ตนกูกูเด่นฆ่าตัวตาย และ[[เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)]] เข้ายึดเมืองปัตตานีได้ หลังจากการกบฏหัวเมืองมลายูใน พ.ศ. 2375 ทางฝ่ายอังกฤษจึงบังคับให้อดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันย้ายจากเกาะปียังไปพำนักที่เมือง[[มะละกา]]
 
ใน พ.ศ. 2380 [[กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย]]สิ้นพระชนม์ บรรดาเจ้าเมืองข้าราชการกรมการต่างๆในหัวเมืองภาคใต้รวมทั้งเจ้าพระยานครฯ (น้อย) และ[[พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง)]] ต่างอยู่ที่กรุงเทพฯเพื่อร่วมพระราชพิธี โดยมีพระวิชิตไกรสรสรไกร (กล่อม) และพระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) เป็นผู้รักษาเมืองนครศรีธรรมราชและสงขลาตามลำดับ กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันจึงอาศัยโอกาสนี้ในการกอบกู้รัฐไทรบุรี หวันมูอาหมัดอาลีบุตรของผู้ครองเกาะลังกาวี หรือหวันหมาดหลี หรือหวันมาลี (Wan Mali) ได้ตั้งตนขึ้นเป็นโจรสลัดในทะเลอันดามันประกอบด้วยกองกำลังของขาวมลายูและชาว[[อูรักลาโว้ย]] โดยมีฐานที่มั่นอยู่ที่[[อำเภอเกาะยาว|เกาะยาว]]ในแขวงเมือง[[ภูเก็ต|ถลาง]] รายละเอียดเกี่ยวกับการจัดเตรียมทัพฝ่ายไทรบุรีปรากฏในบันทึกของนายเชอราร์ด ออสบอร์น (Sherard Osborn) แม่ทัพเรือชาวอังกฤษผู้นำเรือเข้าล้อมเมืองไทรบุรี ในหนังสือชื่อเรื่องว่า ''The Blockade of Kedah in 1838: A Midshipman’s Exploits in Malayan Waters''<ref name=":1">Stearn, Duncan. ''Slices of Thai History: From the curious & controversial to the heroic & hardy''. Proglen Trading Co</ref> ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2400 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดซึ่งได้หลบหนีไปยังแขวงเมืองอาเจะฮ์ได้จัดตั้งกองกำลังขึ้นอย่างเป็นความลับที่บาตูปูเตะ (Batu Puteh) บนเกาะสุมาตราใกล้กับเมืองอาเจะฮ์ ประกอบด้วยกำลังพล 2,000 คน<ref name=":1" />และเรือ 40 ลำ โดยได้รับความช่วยเหลือทางทางอาวุธยุทโปกรณ์จากชาวมลายูและพ่อค้าชาวอังกฤษบนเกาะปีนังซึ่งให้การสนับสนุนแก่อดีตสุลต่าน
 
== การสู้รบ ==
บรรทัด 18:
[[ไฟล์:Sherard Osborn.jpg|thumb|238x238px|กัปตันเชอราร์ด ออสบอร์น (Sherard Osborn) ผู้นำเรือรบอังกฤษจำนวนสี่ลำเข้าปิดปากน้ำเมืองไทรบุรีใน พ.ศ. 2381 ต่อมาได้เป็นผู้สำรวจ[[ขั้วโลกเหนือ]]]]
เมื่อยึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ไว้ได้แล้ว ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดจึงส่งหวันมาลี หรือเจ๊ะหมัดอาลี ยกทัพเรือไปยึดเมืองปะลิส ยึดเกาะลังกาวี และยกทัพเรือจำนวน 95 ลำ 1,000 คน<ref name=":2">กรมศิลปากร. ''จดหมายหลวงอุดมสมบัติ''. พุทธศักราช ๒๕๓๐.</ref> เข้าโจมตีเมือง[[ตรัง]] ซึ่งเป็นสถานที่ต่อเรือของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) พระสงครามวิชิตเจ้าเมืองตรังนำทัพออกสู้รับกับทัพของหวัดมาลีที่ปากน้ำพระม่วงและเขาราชสีห์<ref name=":2" />แต่ชาวมลายูซึ่งอยู่ด้านหลังเขาโจมตีกระหนาบหลังทำให้ทัพของพระสงครามวิชิตแตกพ่ายไป หวันมาลีจึงสามารถเข้ายึดเมืองตรังได้ กวาดต้อนผู้คนเมืองตรังไปอยู่ที่เกาะลังกาวี
 
เมื่อเข้ายึดไทรบุรีได้แล้ว ฝ่าายกบฏนำโดยตนกูซาอัดได้เชิญตนกูอับดุลเลาะฮ์ (Tunku Abdullah) ผู้เป็นบุตรชายคนโตของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันมาเข้าร่วมขบวนการในเดือนธันวาคมพ.ศ. 2381 โดยตนกูอับดุลเลาะฮ์ตั้งอยู่ที่บ้านตะพานช้างหรืออาลูร์กานู (Alur Ganu)
 
ฝ่ายอังกฤษเมื่อทราบว่าผู้สนับสนุนอดีตสุลต่านเข้ายึดเมืองไทรบุรีได้สำเร็จ นายจอร์จ บอแนม (George Bonham) เจ้าเมือง[[สิงคโปร์]]และผู้ปกครอง[[นิคมช่องแคบ|อาณานิคมช่องแคบ]]ได้เดินทางมายังเกาะปีนังและส่งเรือรบอังกฤษจำนวนสี่ลำ<ref name=":1" />ได้แก่ เรือ''ไฮยาซินท์'' (''HMS Hyacinth'') เรือ''เพิร์ล'' (''HMS Pearl'') เรือ''เอเมอราลด์'' (''HMS Emerald'') และเรือ''ไดมอนด์'' (''HMS Diamond'') นำโดยกัปตันเชอราร์ด ออสบอร์น (Sherard Osborn) เข้าปิดกั้นกัวลาเกอดะฮ์หรือปากน้ำเมืองไทรบุรีในระยะวิถีกระสุนปืนใหญ่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2381 เพื่อปิดกั้นไม่ได้ฝ่ายกบฏไทรบุรียกทัพเรือออกทางทะเลและตัดการติดต่อระหว่างไทรบุรีและเกาะปีนัง แต่เรือรบอังกฤษไม่ได้โจมตีหรือสู้รบกับฝ่ายมลายูไทรบุรีแต่อย่างใด
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2382 หวันมาลียกทัพเรือเข้าโจมตีเมือง[[สตูล]]ปล้นสะดมนำอาหารเสบียงไป<ref name=":2" />
 
[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช]] (น้อย)<ref>http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23320.0</ref> เจ้าเมืองตรัง กลับมาถึงก็ระดมกำลังทหารตั้งค่ายอยู่ที่ ต.ทุ่งค่าย [[อ.ย่านตาขาว]] จ.ตรัง (ในปัจจุบัน) เพื่อเตรียมยกโอบไปตีหวันหมาดหลีซึ่งยึดชัยภูมิอยู่ที่ควนธานี โดยส่งกองกำลังลำเลียงไปทางคลองลำเลียง เมื่อหวันหมาดหลีทราบข่าวว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) ยกทัพมา ประกอบกับรับรู้ถึงกิตติศัพท์การออกทัพจับศึกของเจ้าพระยานคร (น้อย) ว่าเก่งกาจ จึงถอยร่นหนีไป
เส้น 26 ⟶ 30:
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดส่งตนกูมูฮาหมัดทาอิบ และตนกูมูฮาหมัดยิหวา (Tunku Muhammad Jiwa) นำทัพจำนวน 3,000 คน จากไทรบุรีไปทางเหนือเข้ารุกรานเมืองสงขลา ฝ่ายเมืองสงขลาพระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) ผู้รักษาเมืองสงขลาส่งพระยาไชยานอกราชการยกทัพจากเมืองสงขลาจำนวน 800 คน เข้าสู้รบกับทัพของตนกูทาอิบ ตนกูทาอิบถอยไปอยู่ที่[[อำเภอสะเดา|สะเดา]]<ref name=":2" /> ในขณะที่พระยาไชยานอกราชการคอยตั้งรับอยู่ที่บ้านปริก ตนกูทาอิบส่งทัพแยกย้ายกระจายไปตั้งตามที่ต่างๆได้แก่ ปังลิมาโปปและปังลิมามระ ตั้งอยู่ที่บ้านสะเดา จำนวน 1,000 คน โต๊ปดังตั้งที่ยางงาม 300 คน โต๊ะนุเระอยู่ที่ตะพานสูง 400 คน ปังลิมาที่สบาเพน 300 คน ตนกูยิหวาตั้งที่ทุ่งบ้านโพธิ์ 1,000 คน
 
ข่าวการกบฏของไทรบุรีไปถึงกรุงเทพฯในเดือนพฤศจิกายนพ.ศ. 2381 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) รีบเดินทางลงมาเพื่อป้องกันเมืองของตน รวมทั้งมีพระราชโองการให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมือง[[ชุมพร]] เมือง[[อำเภอไชยา|ไชยา]] และเมือง[[อำเภอปะทิว|ปะทิว]] เพื่อนำไปสู้รบกับฝ่าบกบฏอีกด้วย พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) เดินทางถึงเมืองสงขลาในเดือนมกราคมพ.ศ. 2382 ยกทัพจากเมืองสงขลาประกอบไปด้วยคนไทยและคนจีนออกไปพร้อมกับ[[พระยาตานี (พ่าย)|พระยายะหริ่ง (พ่าย)]] เจ้าเมืองยะหริ่ง และพระยาสาย (ต่วนหนิดะ) เจ้าเมืองสาย ไปตั้งอยู่ที่[[หาดใหญ่]] พระยาสงขลาส่งพระยายะหริ่ง (พ่าย) และพระยาสาย (ต่วนหนิดะ) ยกทัพสยามเข้าโจมตีทัพของตนกูทาอิบที่สะเดาแตกพ่ายและถอยร่นไปอยู่ที่ทุ่งโพธิ์ฝั่งไทรบุรี พระยายะหริ่งและพระยาสายยกทัพติดตามตนกูทาอิบไปที่ทุ่งโพธิ์แต่ฝ่ายมลายูวกโจมตีด้านหลังตัดเส้นทางเสบียง พระยายะหริ่งและพระยาสายจึงถอยกลับมาอยู่ที่คลองหินเหล็กไฟ ตนกูทาอิบยกทัพติตามกลับมาโจมตีทัพของฝ่ายสยามที่คลองหินเหล็กไฟ พระยายะหริ่งและพระยาสายแบ่งทัพกระจายออกไปตั้งรับที่เขาลูกช้าง (ปัจจุบันคือเขารูปช้าง) เขาเก้าเส้ง และที่คลองสำโรง คุมเชิงกันอยู่
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2382 ตนกูทาอิบได้แบ่งทัพ 300 คน นำโดยตนกูยิหวาไปทางตะวันออกเข้าโจมตีเมือง[[อำเภอจะนะ|จะนะ]] ในเวลานั้นเจ้าเมืองจะนะคือพระยาจะนะ (บัวแก้ว) ไม่อยู่ไปราชการที่สงขลา ปลัดเมืองจะนะเป็นผู้รักษาป้องกันเมือง ฝ่ายไทรบุรีสามารถเข้ายึดเมืองจะนะได้และเผาทำลายเมือง จากนั้นจึงยกไปตั้งอยู่ที่บ้านนาเกลี้ยกล่อมเมือง[[อำเภอเทพา|เทพา]]และ[[อำเภอหนองจิก|หนองจิก]]ให้เข้าร่วมการกบฏ เมืองหนองจิกจึงเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ<ref name=":2" />
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2382 ตนกูทาอิบได้แบ่งทัพ 300 คน นำโดยตนกูมูฮาหมัดยิหวาไปทางตะวันออกเข้าโจมตีเมือง[[อำเภอจะนะ|จะนะ]] ในเวลานั้นเจ้าเมืองจะนะคือพระยาจะนะ (บัวแก้ว) ไม่อยู่ไปราชการที่สงขลา ปลัดเมืองจะนะเป็นผู้รักษาป้องกันเมือง ฝ่ายไทรบุรีสามารถเข้ายึดเมืองจะนะได้และเผาทำลายเมือง จากนั้นจึงยกไปตั้งอยู่ที่บ้านนาเกลี้ยกล่อมเมือง[[อำเภอเทพา|เทพา]]และ[[อำเภอหนองจิก|หนองจิก]]ให้เข้าร่วมการกบฏ เมืองหนองจิกจึงเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ<ref name=":2" /> ตนกูยิหวายกทัพต่อเข้าโจมตีเมืองปัตตานี พระยาระแงะและพระพิทักษ์ธานีเมืองสายสามารถป้องกันเมืองปัตตานีไว้ได้ ตนกูยิหวาถอยร่นออกไป ในเดือนพฤษภาคม พระยาสงขลาส่งหลวงไชยสุรินทร์ยกทัพ 500 คน ไปโจมตีทัพฝ่ายมลายูของตนกูยิหวาที่บ้านนา ตนกูยิหวาเอาชนะหลวงไชยสุรินทร์ได้ หลวงไชยสุรินทร์จึงถอยกลับมาตั้งอยู่ที่ปลักแรด (ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ) ตนกูยิหวายกทัพติดตามมาสู้รบที่ปลักแรด พระยาสงขลาให้กำลังเสริมแก่หลวงไชยสุรินทร์ที่ปลักแรด 500 คน หลวงไชยสุรินทร์จึงต้านทานตนกูยิหวาได้ คุมเชิงกันอยู่อีกเช่นกัน
 
ทางพระนคร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวก็พิโรธ มีพระบรมราชโองการสั่งให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เร่งกลับไปป้องกันดูแลเมืองของตนเอง และทรงวิตกว่า การที่กบฏสามารถประชิดสงขลาได้แล้วจะเป็นเหตุให้มุสลิมทางหัวเมืองหน้าในแถบทะเล[[อ่าวสยาม]]คิดการกบฏขึ้นมาด้วย จึงโปรดให้[[พระยาศรีพิพัฒน์]] (ทัด บุนนาค) เป็นแม่ทัพใหญ่ลงไปปราบ ในส่วนของเมืองตรัง