ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vajiravitch (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล โรงเรียน | name = สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน <...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:53, 1 มิถุนายน 2563

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: The Research Institute of Northeastern Arts and Culture Mahasarakham University) เป็นสถาบันหนึ่งในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พัฒนามาจากศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
The Research Institute of Northeastern Arts and Culture Mahasarakham University
02msu color
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ตำบลตลาด อำเภอเมือง
จังหวัดมหาสารคาม
ข้อมูล
สถาปนา22 กรกฎาคม พ.ศ. 2529
หน่วยงานกำกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้อำนวยการรองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ
เว็บไซต์rinac.msu.ac.th/

ประวัติ

สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เริ่มก่อตั้งในนาม ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีที่ตั้งอยู่ ณ ภาควิชาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตมหาสารคาม จนกระทั่งวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ อนุมัติในหลักการให้จัดตั้งเป็น “สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน” และในวันที่ 12 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน ทบวงมหาวิทยาลัยประกาศให้ “ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” เป็น “สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษเล่ม 103 ตอนที่ 198 หน้า 9-10 ลงวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ซึ่งถือเป็นหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ[1]

พ.ศ. 2547 ได้รับอนุมัติให้เปิดสอนในหลักสูตรศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต แบ่งเป็น 3 แขนงวิชาคือ 1.สาขาการบริหารทางวัฒนธรรม 2.สาขาวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว 3.สาขาการวิจัยทางวัฒนธรรม พ.ศ.2548 ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยให้เปิดสอนในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ และสามารถเปิดรับนิสิตรุ่นแรกระดับปริญญาเอกในปี พ.ศ. 2554 หลักสูตรวัฒนธรรมศาสตร์ได้แยกเป็น “คณะวัฒนธรรมศาสตร์”

ผู้อำนวยการ

ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มีผู้อำนวยการ ตามวาระ ดังนี้[2]

ลำดับ รายนาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 อาจารย์อาคม วรจินดา พ.ศ. 2529 - 2538
2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์มุณี พันทวี พ.ศ. 2538 - 2542
3 อาจารย์อาคม วรจินดา พ.ศ. 2542 - 2546
4 ดร.ทรงคุณ จันทจร พ.ศ. 2546 - 2550
5 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงคุณ จันทจร พ.ศ. 2550 - 2554
6 รองศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน

อ้างอิง