มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ: Mahasarakham University; อักษรย่อ: มมส. – MSU) หรือ ม.มหาสารคาม เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษาเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2511 นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งที่ 2 ของภาคถัดจาก ม.ขอนแก่น ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2517 กลายเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และได้แยกตัวเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537[6] โดยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 54ก[7] จึงถือว่าวันที่ 9 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสถาปนาสถาบัน ส่วนปี 2511 เป็นปีก่อตั้งสถาบัน
Mahasarakham University | |
ตราโรจนากร สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย | |
ชื่อเดิม | วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม (2511–2517) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม (2517–2537) |
---|---|
ชื่อย่อ | มมส.[1] / MSU |
คติพจน์ | บาลี: พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว (ผู้มีปัญญา พึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน) อังกฤษ: Public devotion is a virtue of the learned |
ประเภท | สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ |
สถาปนา | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 |
สังกัดการศึกษา | กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม |
สังกัดวิชาการ |
|
งบประมาณ | 1,184,033,100 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
นายกสภาฯ | พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์[3] |
อธิการบดี | รองศาสตราจารย์ ประยุกต์ ศรีวิไล (รักษาการ) |
อาจารย์ | 1,000 คน (พ.ศ. 2567)[4]: 78 |
บุคลากรทั้งหมด | 3,570 คน (พ.ศ. 2567)[4] |
ผู้ศึกษา | 40,000 คน (พ.ศ. 2567)[5] |
ที่ตั้ง | 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 44150 |
วิทยาเขต | สำหรับเขตพื้นที่อื่น 3 แห่ง
|
ต้นไม้ | ราชพฤกษ์ (ต้นคูณ) |
สี | |
ฉายา | มอน้ำชี ศรีโรจนากร |
เครือข่าย | ASAIHL, AUN, เทางามสัมพันธ์ |
มาสคอต | เสือดาว จามรี ภุมริน มฤคมาศ |
เว็บไซต์ | เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย |
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541[8] มีสถานะเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย (ม.ใหม่) และถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม (ม.เก่า) มีรองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยได้ทำการเรียนการสอนมาแล้วกว่า 55 ปี
มหาวิทยาลัยมหาสารคามเปิดการสอนทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งสิ้น 203 หลักสูตร ใน 20 คณะและเทียบเท่า[9] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ แบ่งได้เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 92 หลักสูตร ปริญญาโท 66 หลักสูตร ปริญญาเอก 42 หลักสูตร ประกาศนียบัตร 3 หลักสูตร[10] มีบัณฑิตวิทยาลัยดูแลการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและเอก มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีนิสิตอยู่ในคณะและวิทยาลัยต่าง ๆ รวมแล้วประมาณ 40,000 คน มีบุคลากรสายวิชาการ 1,244 คน มีตำแหน่งทางวิชาการ ระดับศาสตราจารย์ 7 คน รองศาสตราจารย์ 115 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 506 คน และอาจารย์ 616 คน[4]: 78 และบุคลากรสายสนับสนุน 2,270 คน[4]: 78 ทำการเรียนการสอนทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ภาคปกติและภาคพิเศษ
ประวัติ
แก้วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือกำเนิดมาจากวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม เมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยอาจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครู (พ.ศ. 2500 - 2513) ซึ่งท่านได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาในสมัยนั้น[11][12] เรื่องความต้องการใช้การศึกษาช่วยพัฒนาชุมชนในชนบท จึงต้องรีบผลิตครูที่มีคุณภาพและจำนวนมากพอเพียงออกไปเป็นผู้นำ โดยการศึกษาฝึกหัดครูจะต้องเป็นขั้น ๆ โดยลำดับจนถึงขั้นปริญญา ขณะเดียวกันก็ค่อยลดการผลิตครูระดับประกาศนียบัตรลงจนเลิกไปในที่สุด และผลิตครูขั้นปริญญาเพิ่มขึ้น ๆ และเมื่อถึงโอกาสอันสมควร สถานศึกษาฝึกหัดครู สถานศึกษาอาชีวศึกษา และสถาบันขั้นปริญญาต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในจังหวัดเดียวกันและจังหวัดใกล้เคียง ก็จะรวมกันเป็นมหาวิทยาลัยภูมิภาค ทั้งนี้อาจารย์บุญถิ่น ได้มีแนวคิดและเหตุผลที่เลือกจังหวัดมหาสารคามให้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัย “ครูปริญญา” ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นว่า[13]
“ | …ทางภาคเหนือนั้น เดิมเราตั้งใจจะเปิดที่เชียงใหม่ก่อน แต่เมื่อมีมหาวิทยาลัยตั้งขึ้นในระยะที่เรากำลังดำเนินการอยู่ จึงเปิดที่พิษณุโลก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นขั้นแรกเตรียมจะเปิดที่อุบลหรืออุดรธานี แต่ในระยะนั้นแถบชายแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ค่อยเรียบร้อยจึงเปิดที่มหาสารคาม ในภาคใต้และภาคกลางก็จะเปิดหลายแห่ง แต่เนื่องจากกำลังคนมีจำกัด จึงเปิดเพียงสองแห่งไปตามกำลังคนที่มีอยู่ในขณะนั้น คือที่สงขลาและบางเขน… | ” |
ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามนั้น ต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานจากความไม่พร้อมในด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน จึงต้องอาศัยวิทยาลัยครูมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในปัจจุบัน) ในเบื้องต้นเกือบทั้งหมด ซึ่งช่วยสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงในช่วงก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาอื่นที่ไปตั้งในแต่ละภูมิภาคต่างก็ประสบในทำนองเดียวกันและช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว
หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษาแรก พ.ศ. 2511 มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาอังกฤษและชีววิทยา ประกอบด้วย 3 คณะวิชาคือ คณะวิชาการศึกษา คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ โดยคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และคณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ เป็นคณะวิชาที่เปิดสอนวิชาพื้นฐานให้กับหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตของคณะวิชาการศึกษา จึงยังไม่ได้เปิดรับนิสิต ส่วนคณะวิชาการศึกษาสามารถเปิดรับนิสิตรุ่นแรกได้จำนวน 134 คน ซึ่งนิสิตที่มาเรียนในระยะแรก ปีการศึกษา 2511 – 2515 ได้รับการเลือกจากผู้สมัครที่มีผลการเรียนดีจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศมาศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี
ในปีการศึกษา 2512 การก่อสร้างอาคารสถานที่ของวิทยาลัยเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งาน คือ อาคารเรียน 1, หอสมุด หอศิลป์ โรงอาหาร หอพักชาย และหอพักหญิง จากนั้นวิทยาลัยจึงได้มีการพัฒนามาตามลำดับ
ในปี 2514 ได้มีการดำเนินการขอพื้นที่ฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกองทัพอากาศ ซึ่งได้ใช้เป็นสนามแข่งม้าและสนามบินจากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักเพิ่มเติม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
ต่อมาในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา [14] ซึงเป็นการรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมด เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโอนสถานะไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย ยกเว้นวิทยาเขตพระนครให้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน
ก่อนที่จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้นั้น ทางวิทยาลัยวิชาการศึกษาได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 ทั้งนี้ เมื่อครั้งที่ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร เข้าดำรงตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเห็นว่าการบริหารงานของวิทยาลัยนั้นขาดความคล่องตัวอยู่มาก เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการจะเป็นปัญหาระยะยาวในการขยายผลด้านการศึกษาในอนาคตต่อไป จึงได้ร่างพระราชบัญญัติเพื่อขอยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยต่อสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา โดยในระหว่างนั้น ศาสตราจารย์ ดร. สุดใจ เหล่าสุนทร ได้ออกเอกสารที่เรียกว่า 'เอกสารปกขาว' เพื่อชี้แจงหลักการและเหตุผลดังกล่าวแก่ผู้ที่สนใจรับทราบว่า
“ | …เมื่อข้าพเจ้าได้รับตำแหน่งอธิการวิทยาลัยวิชาการศึกษาเมื่อเดือนมกราคม 2512 ได้พบว่าการดำเนินงานของวิทยาลัยวิชาการศึกษาไม่มีความคล่องตัวเป็นอันมาก จึงได้ร่างพ.ร.บ. ยกฐานะวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเสนอต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2512 และรอรับฟังพิจารณาอยู่ 1 ปีเต็ม จนถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2512 จึงได้เสนอร่าง พ.ร.บ. นี้ต่อประธานสภาวิทยาลัยวิชาการอีกครั้งหนึ่ง และเสนอให้เลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพิจารณาอีกทางหนึ่ง...
...อาจจะเป็นเพราะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็น วิทยาลัย ในความหมายของความเข้าใจของบุคคลทั่วไปว่า ไม่ใช่สถานศึกษาชั้นปริญญาในระดับมหาวิทยาลัย ดังที่วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้ดำเนินงานอยู่จริง จึงเห็นสมควรที่จะออกเอกสารฉบับนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่บุคคลที่สนใจในการศึกษาขั้น มหาวิทยาลัย… |
” |
เมื่อได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อไปตามลำดับ โดยเป็นการดำเนินการตามวิธีที่ถูกต้องและขั้นตอนระเบียบแบบแผนของทางราชการ เริ่มตั้งแต่สภาวิทยาลัยวิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ สภาการศึกษา สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม การดำเนินการได้หยุดชะงักไปขณะหนึ่ง เนื่องจากความวุ่นวายทางการเมืองของประเทศในช่วงเวลานั้น จนกระทั่งมีการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นกรมหนึ่งของกระทรวงศึกษาธิการ ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ต่อมาในวันที่ 16 มกราคม 2517 คณะรัฐมนตรี มีมติให้ยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย และได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติ กระทั่งมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 [14]
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมหาวิทยาลัยให้เป็นมงคลนามและพระราชทานความหมายว่า " มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร " โดย ' วิโรฒ ' มาจาก ' วิรูฒ ' (ภาษาสันสกฤต) ' วิรุฬห์ ' (ภาษาบาลี) ซึ่งแปลว่า " เจริญ , งอกงาม "
ภายหลังทางวิทยาลัยโดยความร่วมมือทั้งอาจารย์และนิสิต ได้พยายามดำเนินการมาตามลำดับ ทั้งนี้โดยตระหนักจากการพิจารณาองค์ ประกอบความพร้อมในด้านต่าง ๆ ของวิทยาลัยและประโยชน์อันจะเกิดขึ้นต่อ วิทยาลัยและในวงกว้างทางการศึกษาและประเทศชาติต่อไป ทางวิทยาลัย จึงได้มีการชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นในการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้ดังนี้
- วิทยาลัยวิชาการศึกษามีความพร้อมโดยสมบูรณ์ที่จะเติบโต เป็นมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ทางวิทยาลัยมีความพร้อมของอุปกรณ์ประกอบการสอน อาจารย์ และอาคารสถานที่เพียงพอที่จะเปิดสอนสาขาอื่น ๆ ได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น
- ความเจริญก้าวหน้าของวิทยาลัยวิชาการศึกษา
- ความคล่องตัวในการบริหารงาน
- ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการความหลากหลายทางการศึกษาที่ จะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางในด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
หลังจากที่ได้ยกฐานะแล้ว ทางมหาวิทยาลัยฯได้นำวิธีสอบคัดเลือกนิสิต เข้าศึกษาใน 2 ระดับ คือชั้นปีที่ 1 และ 3 ซึ่งในปีการศึกษานี้มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามยังคงรับนิสิตภาคปกติที่จบป.กศ. สูงเข้าศึกษาชั้นปีที่ 3 โดยวิธีการสอบคัดเลือกเหมือนเดิม แต่ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ คือได้เปิดรับสมัครสอบนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเป็นปีแรกโดยใช้ วิธีการสอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย โดยรับทั้งสิ้น 63 คน สำหรับวิชาเอกที่เปิดในปีการศึกษา 2517 มีทั้งสิ้น 4 คณะวิชา ได้แก่คณะศึกษาศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ ประกอบด้วยสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา และการประถมศึกษา ซึ่งได้ใช้วิธีการสอบแข่งขันในการคัดเลือกผู้มาเรียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาเนื่องจากได้มีการขยายการศึกษาสู่ระดับบัณฑิตศึกษา ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจึงได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้นตามวิทยาเขตต่าง ๆ สำหรับวิทยาเขตมหาสารคามนั้น ได้จัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยในปี 2522[15] นอกจากนั้นยังได้จัดตั้งคณะใหม่และยกฐานะหน่วยงานสำคัญขึ้นมา 3 หน่วยงานใน ปีพ.ศ. 2529 ประกอบด้วย คณะเทคโนโลยี สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน ตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัยในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 12 พฤศจิกายน 2529 [16], สำนักวิทยบริการ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา [17] สิงหาคม 2529 และสถาบันวิจัยรุกขเวช ตามประกาศจัดตั้งในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2536
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามได้มีพัฒนาการมาตามลำดับโดยอาศัยเงื่อนไขของเวลาในการสร้างความพร้อมต่าง ๆ กระทั่งสามารถดำเนินการแยกเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศสำเร็จภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 19 ของประเทศไทย สำหรับแนวคิดในการแยกตัวเป็นเอกเทศนั้นได้เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2527 โดย ดร.ถวิล ลดาวัลย์รองอธิการบดีเวลานั้นได้มีแนวความคิดที่จะรวมสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาหลัก ๆ ของจังหวัดมหาสารคามเข้าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวกัน แต่แนวคิดดังกล่าวได้ติดขัดปัญหาบางประการจึงไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ เช่น ปัญหาของต้นสังกัดเดิมของแต่ละสถาบัน เป็นต้น ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. 2531 รองศาสตราจารย์ ดร. วีระ บุญยกาญจนะเป็นรองอธิการบดีจึงได้มีการเสนอให้แยกออกจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒอีกครั้ง โดยให้ลักษณะเป็นสถาบันในนามของสถาบันบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท แต่ให้มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย หากแต่ไม่อาจดำเนินต่อไปให้สัมฤทธิ์ผลได้เช่นกัน
กระทั่งในปี พ.ศ. 2535 เมื่อรองศาสตราจารย์ ดร. จรูญ คูณมีเป็นรองอธิการบดี จึงได้มีสืบสานแนวคิดที่จะแยกตัวออกอีกครั้ง และเริ่มปรากฏผลชัดเจนมากขึ้น ทั้งนี้ประกอบกับในช่วงเวลานั้น นายสุเทพ อัตถากร ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งได้ให้สนใจและความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ในการสนับสนุนแนวคิดที่จะให้มีมหาวิทยาลัยเกิดขึ้นในจังหวัดมหาสารคาม การดำเนินงานจึงได้เริ่มตั้งแต่การแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามและคณะกรรมการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2535 จากนั้นจึงได้ดำเนินงานมาตามขั้นตอนจนสามารถยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยได้สำเร็จดังที่กล่าวข้างต้นในช่วงรองศาสตราจารย์ ดร. บุญชม ศรีสะอาด เป็นรองอธิการบดี ซึ่งได้สืบสานแนวคิดและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องโดยได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งบุคคลภายในและภายนอกในสายงานต่าง ๆ ในระหว่างที่มีการดำเนินการเพื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศนั้นได้มีการทบทวนเรื่องชื่อของมหาวิทยาลัยเพื่อหาความเหมาะสมและเห็นพ้องต้องกันทุกฝ่าย โดยการดำเนินการสำรวจประชามติให้เป็นเอกฉันท์ ซึ่งชื่อที่เสนอในครั้งนั้นมีความหลากหลายของที่มาและแนวคิด ได้แก่ มหาวิทยาลัยอีสาน มหาวิทยาลัยภัทรินธร มหาวิทยาลัยศรีเจริญราชเดช มหาวิทยาลัยศรีมหาชัย มหาวิทยาลัยศรีมหาสารคาม จนกระทั่งได้มาเห็นชอบพร้อมกันต่อชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในเบื้องท้ายดังปรากฏในปัจจุบัน
ภายหลังได้มีการขยายพื้นที่มายัง ป่าโคกหนองไผ่ ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม บนเนื้อที่ประมาณ 1,300 ไร่ ขณะนั้นของรองศาสตราจารย์ ดร. ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามคนแรก (พ.ศ. 2538-2546) และได้ดำเนินการสร้างอาคารต่าง ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ภายหลังจึงได้ย้ายศูนย์กลางบริหารงานมา ณ ที่ทำการแห่งใหม่ในปีการศึกษา 2542 อีกทั้งยังได้มีการเปิดสาขาวิชาและคณะใหม่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อเปิดบริการทางการศึกษาให้มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้เปิดสอนระดับประถมและมัธยมศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยเปิดสอนในปีการศึกษา 2540 เป็นปีการศึกษาแรก และยังได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทไปยังวิทยาเขตนครพนม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม ปัจจุบันแยกเอกเทศเป็น มหาวิทยาลัยนครพนม) และศูนย์พัฒนาการศึกษาอุดรธานี โดยใช้สอน ระบบทางไกลผ่านดาวเทียม
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ และที่ตั้งเดิม ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 269 หมู่ 2 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ 368 ไร่ เปิดทำการเรียนการสอนกว่า 200 หลักสูตรใน 17 คณะ 2 วิทยาลัย 2 สถาบันวิจัย คลอบคลุมทั้งสายวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นับเป็นสถาบันอุดมศึกษา (สถาบันอุดมศึกษา คือ สถาบันที่จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป มีสถานะทั้ง วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และสถาบัน) แห่งที่ 14 ของไทยที่ทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีขึ้นไปถัดจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล), มหาวิทยาลัยศิลปากร, วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร (ม.ศรีนครินทรวิโรฒ), วิทยาลัยวิชาการศึกษาปทุมวัน (ม.ศรีนครินทรวิโรฒ), วิทยาลัยวิชาการศึกษาบางแสน (ม.บูรพา), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลก (ม.นเรศวร) ตามลำดับ
การบริหารงาน
แก้รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย
แก้นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยในปี 2537 จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีนายกสภามหาวิทยาลัย ดังรายนามต่อไปนี้
ทำเนียบนายกสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||
---|---|---|
รายนามนายกสภามหาวิทยาลัย | วาระการดำรงตำแหน่ง | |
1. มีชัย ฤชุพันธุ์ | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2551 | |
2. พลเอกสุพิทย์ วรอุทัย | 12 มีนาคม พ.ศ. 2551 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 | |
3. อำนวย ปะติเส | 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 | |
4. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.อักขราทร จุฬารัตน | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554 - 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556 | |
5. ปัญญา ถนอมรอด | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554 - 22 กุมภาพันธ์ 2562 | |
6. สราวุธ เบญจกุล | 22 กันยายน พ.ศ. 2562 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 | |
7. พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
ทำเนียบอธิการบดี
แก้อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี มาจากการเสนอชื่อ 2 ทาง คือ การสมัครของผู้ที่มีความสนใจ และการเสนอชื่อ ซึ่งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้กำหนดให้มีการรับสมัครและการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และเสนอชื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ซึ่งปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีอธิการบดีมาแล้ว ดังรายนามต่อไปนี้
วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม | |||
---|---|---|---|
ลำดับ | รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
ศาสตราจารย์ ดร.สายหยุด จำปาทอง | พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2512 | ||
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ไชยโกษี | พ.ศ. 2512 - พ.ศ. 2516 | [18] | |
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ | พ.ศ. 2516 - พ.ศ. 2517 | [18] | |
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม | |||
ลำดับ | รายนามรองอธิการประจำวิทยาเขต | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ | พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2518 | [18] | |
รองศาสตราจารย์ ชูเกียรติ มณีธร | พ.ศ. 2518 (รักษาการ) | [18] | |
ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ วิทยารัฐ | พ.ศ. 2519 | [18] | |
รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี เมืองนาโพธิ์ | พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2524 | [18] | |
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญยะกาญจน | พ.ศ. 2524 - พ.ศ. 2526 | [18] | |
ดร.ถวิล ลดาวัลย์ | พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2530 | [18] | |
รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญยะกาญจน | พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2534 | [18] | |
รองศาสตราจารย์ ดร.จรูญ คูณมี | พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 | [18] | |
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด | พ.ศ. 2537 | [18] | |
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | |||
ลำดับ | รายนามอธิการบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง | อ้างอิง |
รองศาสตราจารย์ ดร.บุญชม ศรีสะอาด | พ.ศ. 2538 (รักษาการ) | [18] | |
ศาสตราจารย์พิเศษ เภสัชกร ดร.ภาวิช ทองโรจน์ | พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2546 | [18] | |
ศาสตราจารย์ นายแพทย์อดุลย์ วิริยเวชกุล | พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2550 | [18] | |
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทันตแพทย์สมศักดิ์ จักรไพวงศ์ | พ.ศ. 2550 - พ.ศ. 2551 (รักษาการ) | [18] | |
รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต | พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2552 (รักษาการ) พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2558 |
[18] | |
ศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ประเทพา | พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2559 (รักษาการ) | [18] | |
ศาสตราจารย์ ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช | พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2562 | [19] | |
รองศาสตราจารย์เทียนศักดิ์ เมฆพรรณโอภาส | พ.ศ. 2562 (รักษาการ) | [20] | |
รองศาสตราจารย์ ดร.ประยุกต์ ศรีวิไล | พ.ศ. 2562 - 2566
พ.ศ. 2566 - ปัจจุบัน |
[21] |
อัตลักษณ์
แก้-
ตราโรจนากร
ตราประจำมหาวิทยาลัย -
สีเหลือง-เทา
สีประจำมหาวิทยาลัย -
ดอกคูณหรือราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
- ตราโรจนากร คือ ตราประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งมีความหมายว่า สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมา ภายในมีภาพขององค์พระธาตุนาดูน ด้านล่างเป็นสุริยรังสีที่แผ่ขึ้นจากผ้าลายขิตซึ่งอยู่เหนือคำขวัญภาษาบาลี โดยแต่ละส่วนของตราโรจนากรนี้ มีความหมายดังนี้[22]
พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว คือ ปรัชญาของมหาวิทยาลัย มีหมายความว่า ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน
ใบเสมา หมายถึง ภูมิปัญญา
พระธาตุนาดูน หมายถึง คุณธรรมความดี
สุริยรังสี หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
ลายขิต หมายถึง ภูมิปัญญาและมรดกทางวัฒนธรรมแห่งอีสาน
ความหมายโดยรวม คือ ความเจริญรุ่งเรืองอันเป็นผลจากความรู้และคุณธรรม ผสมผสานกับภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่นอีสาน
- พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย : พระพุทธกันทรวิชัยอภิสมัยธรรมนายก
- ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย : ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ[23]
- สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง - เทา[24]
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความดีงาม ความอุดมสมบูรณ์
สีเทา หมายถึง ความคิด หรือ ปัญญา (นอกจากนี้ สีเทา ยังเป็นสีร่วมกันของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒและอดีตวิทยาเขตทั้ง 4 แห่งด้วย)
รวมหมายถึง การมีปัญญาและความคิดที่ดีงาม อันนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
เพลงมหาวิทยาลัย
แก้
|
|
โดยเพลงทั้งหมดนี้สามารถฟังได้บน Apple Music
การศึกษา
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ การบริหารการศึกษาดำเนินการโดย 17 คณะ 2 วิทยาลัย 1 สถาบัน มีหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาประกอบด้วย 1 บัณฑิตวิทยาลัย 1 สถาบันวิจัย 1 ศูนย์วิจัย[9]: 5 ในปีการศึกษา 2563 มหาวิทยาลัยเปิดการสอนหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 203 สาขาวิชา เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 92 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 66 สาขาวิชา ระดับปริญญาเอก 42 สาขาวิชา และระดับประกาศนียบัตร 3 สาขาวิชา[25] ประกอบไปด้วย
คณะวิชาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คณะ/วิทยาลัย/สถาบัน | ก่อตั้ง | ที่ตั้ง | เขตพื้นที่ | สีประจำคณะ | กลุ่มคณะ | |||
คณะพยาบาลศาสตร์
Faculty of Nursing |
พย. NU |
26 ปี | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ | ขามเรียง | สีขาว |
วิทยาศาสตร์สุขภาพ | |
คณะแพทยศาสตร์
Faculty of Medicine |
พ. MED |
21 ปี | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | อาคารปฏิบัติการคณะแพทยศาสตร์ | ในเมือง | สีเขียว |
วิทยาศาสตร์สุขภาพ | |
คณะเภสัชศาสตร์
Faculty of Pharmacy |
ภ. PC |
25 ปี | 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 | อาคารเภสัชศาสตร์สิรินธร | ขามเรียง | สีเขียวมะกอก |
วิทยาศาสตร์สุขภาพ | |
คณะสัตวแพทยศาสตร์
Faculty of Veterinary Sciences |
สพ. VET |
16 ปี | 26 กันยายน พ.ศ. 2551 | อาคารเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์ | ในเมือง นาสีนวน |
สีฟ้าหม่น |
วิทยาศาสตร์สุขภาพ | |
คณะสาธารณสุขศาสตร์
Faculty of Public Health |
สธ. PH |
21 ปี | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 | อาคารปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ และปลีคลินิก |
ขามเรียง | สีชมพูอมส้ม |
วิทยาศาสตร์สุขภาพ | |
คณะเทคโนโลยี
Faculty of Technology |
ทล. TA |
38 ปี | 7 สิงหาคม พ.ศ. 2529 | อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยี อุตสาหกรรมการเกษตร |
ขามเรียง | สีชมพู |
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | |
คณะวิทยาการสารสนเทศ
Faculty of Informatics |
วสท. IT |
27 ปี | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2539 | อาคารปฏิบัติการวิทยาการสารสนเทศ | ขามเรียง | สีน้ำเงิน |
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | |
คณะวิทยาศาสตร์
Faculty of Science |
วท. SCI |
56 ปี | 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 | กลุ่มอาคารปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ | ขามเรียง | สีเหลือง |
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | |
คณะวิศวกรรมศาสตร์
Faculty of Engineering |
วศ. EN |
25 ปี | 18 มีนาคม พ.ศ. 2542 | อาคารปฏิบัติการวิศวกรรมศาสตร์ | ขามเรียง | สีเลือดหมู |
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | |
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ Faculty of Architecture |
สถ. ARCH |
24 ปี | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 | อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ |
ขามเรียง | สีน้ำตาลเข้ม |
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | |
คณะสิ่งแวดล้อมและ ทรัพยากรศาสตร์ Faculty of Environment |
วล. ENV |
20 ปี | 17 กันยายน พ.ศ. 2547 | อาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ | ขามเรียง | สีเขียวอ่อน |
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | |
สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
Walairukhavej Botanical |
สวร. WRBRI |
32 ปี | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2535 | อาคารวิจัยและปฏิบัติการ ชั้น 2 | ขามเรียง นาดูน |
สีน้ำตาล-สีเหลือง |
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | |
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
Faculty of Tourism and |
ทร. THM |
24 ปี | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2543 | อาคารปฏิบัติการการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม |
ในเมือง | สีม่วงดอกชบา |
สังคมศาสตร์ | |
คณะการบัญชีและการจัดการ
Mahasarakham Business School |
บช. MBS |
26 ปี | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 | อาคารบริหารธุรกิจสิรินธร กลุ่มอาคารบริหารธุรกิจ และพาณิชยศาสตร์ |
ขามเรียง | สีฟ้าคราม |
สังคมศาสตร์ | |
คณะนิติศาสตร์
Faculty of Law |
น. LW |
11 ปี | 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 | อาคารราชนครินทร์ ชั้น 4 | ขามเรียง | สีขาวงาช้าง |
สังคมศาสตร์ | |
คณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ Faculty of Humanities |
มนส. HUSOC |
56 ปี | 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 | อาคารศูนย์เรียนรู้พัฒนา ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ขามเรียง | สีม่วงดอกอินทนิล |
มนุษยศาสตร์ | |
คณะศิลปกรรมศาสตร์ และวัฒนธรรมศาสตร์ Faculty of Fine-Applied Arts |
ศป. FACS |
22 ปี | 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 | อาคารปฏิบัติการ ทางศิลปกรรมศาสตร์ อาคารวัฒนธรรมศาสตร์ |
ขามเรียง ในเมือง |
สีทอง-สีเงิน |
มนุษยศาสตร์ | |
คณะศึกษาศาสตร์
Faculty of Education |
ศษ. EDU |
56 ปี | 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 | อาคารวิทยพัฒนา | ในเมือง | สีแสด |
สังคมศาสตร์ | |
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
College of Politics |
วมป. COPAG |
21 ปี | 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 | อาคารวิทยบริการ D | ขามเรียง | สีน้ำตาลอ่อน |
สังคมศาสตร์ | |
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์
College of Music |
วดศ. MUA |
16 ปี | 26 กันยายน พ.ศ. 2551 | อาคารวิทยบริการ C | ขามเรียง | สีม่วง |
มนุษยศาสตร์ | |
บัณฑิตวิทยาลัย
Graduate School |
บว. GS |
44 ปี | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2522 | อาคารปฏิบัติการกลาง ทางวิทยาศาสตร์ (SC3) ชั้น 1 |
ขามเรียง | สีส้ม-น้ำเงิน |
สหวิทยาการ |
หน่วยงานสนับสนุนด้านการสอนแก้ |
ส่วนงานสนับสนุนการศึกษาและวิจัยแก้
|
-
ป้ายมหาวิทยาลัยมหาสารคาม -
โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ -
อาคารเรียนคณะศึกษาศาสตร์ -
อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์
การก่อตั้งคณะ
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละคณะทั้งหมดประมาณ 203 หลักสูตรโดยจะมีการแบ่งหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม โดยแต่ละคณะจะเป็นผู้กำหนดรายวิชาในแต่ละสาขาวิชาที่เปิดสอน
ปีที่ก่อตั้ง | คณะ |
---|---|
2511 | คณะศึกษาศาสตร์† (56 ปี) [c] • คณะวิทยาศาสตร์† (56 ปี) [d] • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์† (56 ปี) [e] |
2522 | บัณฑิตวิทยาลัย† (44 ปี) [f] |
2529 | คณะเทคโนโลยี† (38 ปี) • สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน† (38 ปี) |
2535 | สถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช† ( 32 ปี) |
2541 | คณะการบัญชีและการจัดการ (26 ปี) [g] • คณะพยาบาลศาสตร์ (26 ปี) |
2542 | คณะเภสัชศาสตร์ (25 ปี) [h] • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (25 ปี) [i] |
2543 | คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม (24 ปี) • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ (24 ปี) |
2545 | คณะศิลปกรรมศาสตร์ (22 ปี - ปัจจุบันคือ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์) [j] |
2546 | คณะแพทยศาสตร์ (21 ปี) • คณะวิทยาการสารสนเทศ (21 ปี) [k] • คณะสาธารณสุขศาสตร์ (21 ปี) [l] • วิทยาลัยการเมืองการปกครอง (21 ปี) [m] |
2547 | คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ (20 ปี) |
2551 | คณะสัตวแพทยศาสตร์ (16 ปี) [n] • วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ (16 ปี) [o] |
2554 | คณะวัฒนธรรมศาสตร์ (ปี 2554 - 2563 รวม 9 ปี - ปัจจุบันคือ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์) [p] |
2557 | คณะนิติศาสตร์ (11 ปี) [q] |
หมายเหตุ
- ตัวเอียง หมายถึง ถูกยุบรวมกับหน่วยงานอื่นหรือยกเลิกหน่วยงาน
- † หมายถึง โอนย้ายสังกัดของหน่วยงานมาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ส่วนงานอื่น ๆ
แก้หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา[26]
|
|
การวิจัย
แก้ผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูล ISI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 – พ.ศ. 2548 มีทั้งสิ้น 29 เรื่อง[27] ส่วนในปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับทุนวิจัยรวมทั้งสิ้น 272 โครงการกว่า 86 ล้านบาท[4][4]: 40 โดยแบ่งตามกลุ่มสาขาวิชาดังนี้
- กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวม 161 โครงการ
- กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวม 63 โครงการ
- กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวม 30 โครงการ
- หน่วยวิจัย รวม 8 โครงการ
- หน่วยงานสนับสนุนการสอน รวม 10 โครงการ
โดยมหาวิทยาลัยมีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่และอ้างอิงในฐานข้อมูล ISI Thomson Reuters สะสมตั้งแต่ปี 2554 - 2563 ทั้งสิ้น 20,368 เรื่อง[4]: 44 ฐานข้อมูล SCOPUS สะสมตั้งแต่ปี 2554 - 2563 ทั้งสิ้น 28,357 เรื่อง[4]: 44 ส่วนในระดับบัณฑิตศึกษานั้น ในปีงบประมาณ 2563 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีผลงานวิจัยเผยแพร่และอ้างอิงในระดับชาติทั้งสิ้น 301 เรื่อง และในระดับนานาชาติทั้งสิ้น 97 เรื่อง[4]: 45 นอกจากนี้ในปีเดียวกันนั้น ฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการยื่นคำขอจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาทั้งสิ้น 24 รายการ และได้รับการจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจำนวน 2 รายการ[4]: 46
อันดับและมาตรฐานมหาวิทยาลัย
แก้การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย
แก้อันดับมหาวิทยาลัย | ||||
---|---|---|---|---|
อันดับในประเทศ (อันดับนานาชาติ) | ||||
สถาบันที่จัด/ปีการศึกษาที่จัด | อันดับ | |||
THE (World) (2022) | 4 (1201+) | |||
THE (World) (2021) | 3 (1001+) | |||
THE (World) (2020) | 4 (401-600) | |||
QS (Asia) (2021) | 13 (501-550) | |||
QS (Asia) (2020) | 13 (401-450) | |||
QS (World) (2020) | 13 (-) | |||
Webometrics (2021) | 15 (1954) | |||
Webometrics (2020) | 15 (2008) | |||
Webometrics (2018) | 16 (1156) | |||
RUR (2020) | 10 (766) | |||
RUR (2018) | 10 (779) | |||
URAP (2018) | 18 (1767) | |||
SIR (2021) | 18 (802) | |||
SIR (2020) | 17 (781) | |||
UI Green Metric (2019) | 14 (233) | |||
uniRank (2019) | 13 (1413) | |||
Nature Index Ranking (2021) | 13 (-) | |||
Nature Index Ranking (2019) | 8 (-) | |||
SIR (2014) | 23 (2863) |
เมื่อปี พ.ศ. 2549 คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลได้เข้าร่วมการประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาซึ่งจัดประเมินโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มีหน่วยงานเข้าร่วม 436 หน่วยงาน จาก 36 สถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน โดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถูกจัดอันดับอยู่ในระดับ 4 (ดี) [28]และต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ภาควิชาวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้เข้าร่วมประเมินในโครงการดังกล่าวในสาขา Agricultural/Irrigation/Water Resources Engineering และ Other Engineering Disciplines ผลการประเมินถูกจัดอยู่ในระดับ 5 (ดีมาก) [29]
อันดับมหาวิทยาลัย
แก้นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่
การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds[30]
แก้แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ British Quacquarelli Symonds (QS) เป็นบริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีการจัดอันดับครอบคลุมในหลายมิติ เช่น การจัดอันดับเป็นระดับโลก (QS World University Rankings) ระดับทวีปเอเชีย (QS University Rankings: Asia) การจัดอันดับแยกตามคณะ (QS World University Rankings by Faculty) การจัดอันดับแยกตามรายวิชา (QS World University Rankings by Subject) การจัดอันดับคุณภาพบัณฑิต (QS Graduate Employability Rankings 2017) เป็นต้น[31]
น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[32]
QS Asia
- ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
- การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
- อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
- การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน Scopus และ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้น ๆ เอง
- บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
- สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
- สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[33]
โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 13 ของประเทศไทย (ร่วมกับแม่ฟ้าหลวงและนเรศวร) และเป็นอันดับที่ 401-450 ของเอเชียในปี 2563[34]
ในปี 2564 (2021) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 13 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 501-550 ของเอเชีย[35]
การจัดอันดับโดยไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์
แก้ได้ประกาศผลอันดับมหาวิทยาลัย รางวัล “THE Social Impact Ranking 2021” หรือมหาวิทยาลัยที่ดำเนินภารกิจเพื่อสังคมที่สร้างผลกระทบต่อสังคมพบว่ามหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 1001+ ของโลก และอันดับ 3 ของประเทศไทย[36] โดยได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 10.3-25.0 ด้านการสอน 17.9 และด้านการวิจัย 7.9 คะแนน นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยังมีคะแนนในด้านอื่น ๆ อีก ได้แก่ ด้านรายได้จากภาคอุตสาหกรรม (Industry Income) 34.5 คะแนน ลำดับที่ 14 (1,001+), ด้านมุมมองระหว่างประเทศ (International Outlook) 26.9 คะแนน ลำดับที่ 13 (1,001+), ด้านชื่อเสียงทางวิชาการ (Teaching) 17.9 คะแนน ลำดับที่ 11 (1,001+), ด้านความเป็นเลิศด้านการวิจัย (Research) 7.9 คะแนน ลำดับที่ 15 (1,001+) และด้านการเผยแพร่งานวิจัย (Citations) 9.6 คะแนน ลำดับที่ 15 (1,001+)[37]
ในปี 2022 Times Higher Education World University Rankings ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2564 โดยผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการจัดอันดับที่ 1201+ ร่วมในระดับโลก และอันดับ 4 ร่วมระดับประเทศ และด้านที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดเรียงจากมากไปน้อย[38] ได้แก่ 1. ด้านรายได้ทางด้านอุตสาหกรรม (การถ่ายทอดความรู้) 2. ด้านภาพลักษณ์ในระดับนานาชาติ (เจ้าหน้าที่ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาและการวิจัย) 3. ด้านการเรียนการสอน (สภาพแวดล้อมการเรียนรู้) 4. ด้านการวิจัย (ปริมาณ รายได้และชื่อเสียง) 5. ด้านการอ้างอิง (ผลงานวิจัย)
สำหรับการจัดอันดับในปีนี้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลมากกว่า 108 ล้าน citations จากงานวิจัยกว่า 14.4 ล้านฉบับ รวมถึงผลการสำรวจที่ได้จากนักวิชาการกว่า 22,000 คนทั่วโลก ซึ่งอันดับที่ 1 ของโลก ได้แก่ University of Oxford สหราชอาณาจักร นอกจากนี้ Peking University และ Tsinghua University มหาวิทยาลัย 2 แห่งจากสาธารณรัฐประชาชนจีนยังสามารถติด 2 ใน 20 อันดับแรกของโลก สำหรับประเทศไทยนั้น อันดับที่ 1 หรืออันดับที่ 601–800 ของโลก ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง นอกจากมหาวิทยาลัยในประเทศไทยจำนวน 17 แห่ง ที่ติดอันดับแล้ว ยังมีอีก 6 แห่งที่ส่งข้อมูลเข้าร่วมการจัดอันดับในปีนี้ด้วย
การจัดอันดับโดย Webometrics
แก้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ปี พ.ศ. 2559 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับโอเมตริกซ์จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวนลิงก์ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บสถาบันจากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยเสิร์ชเอนจิน (Search engine) และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในไฟล์ (อาทีเช่น .pdf .ps .ppt และ .doc) และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citations) ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) เว็บโอเมตริกซ์0tจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมกราคม และกรกฎาคม การจัดอันดับล่าสุดในรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ในอันดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย อันดับที่ 25 ของภูมิภาคอาเซียน อันดับที่ 279 ของเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 1156 ของโลก [39] และล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 15 ของประเทศไทย 508 ของทวีปเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 1954 ของโลก[40]
การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking
แก้เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก ในรอบ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 14 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 233 ของโลก[41]
การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking
แก้อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 2863 ของโลก อันดับที่ 767 ของทวีปเอเชีย และเป็นอันดับ 15 ของประเทศไทย[42] ส่วนปี ค.ศ. 2017 อยู่ในลำดับที่ 16 ของประเทศไทยลำดับที่ 649 ของโลก[43] ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษา Scimago Institutions Rankings 2020 ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ [44] ซึ่งผลการจัดอันดับประเภทภาพรวม (Overall Rank) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ติดอันดับที่ 15 ของไทย อันดับที่ 781 ของโลก[45]
ผลการจัดอันดับสถาบันการศึกษา Scimago Institutions Rankings 2021 ได้รับการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ [46]ปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยในไทยติดอันดับจำนวน 27 แห่ง โดยผลการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ติดอันดับที่ 18 ของไทย อันดับที่ 802 ของโลก[47]
- 1. ด้านการวิจัย ติดอันดับที่ 11 ของไทย อันดับที่ 436 ของโลก
- 2. ด้านนวัตกรรม ติดอันดับที่ 21 ของไทย อันดับที่ 523 ของโลก
- 3. ด้านสังคม ติดอันดับที่ 13 ของไทย อันดับที่ 246 ของโลก
Scimago Institutions Rankings เป็นการจัดอันดับจากองค์การในประเทศสเปน ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณาจากผลงาน 3 ด้าน[48] ได้แก่
- 1. ด้านการวิจัย อ้างอิงผลข้อมูลจาก Scopus
- 2. ด้านนวัตกรรม พิจารณาข้อมูลมาจาก PATSTAT
- 3. ด้านสังคม ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ
นอกจากการจัดอันดับใน 3 ด้านหลักแล้ว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ยังได้รับการจัดอันดับในแต่ละกลุ่มสาขาวิชาทั้งสิ้น 14 สาขาวิชาอันได้แก่[49]
สาขาวิชา | ระดับนานาชาติ | ระดับประเทศ |
---|---|---|
วิทยาศาสตร์ เกษตรและชีวภาพ |
589 |
14 |
หมายเหตุ ผลการจัดลำดับเฉพาะหน่วยงานประเภท สถาบันอุดมศึกษา เท่านั้น!
การจัดอันดับโดย uniRank
แก้uniRank เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานไม่แสวงหากำไร IREG Observatory ที่ประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในแวดวงการศึกษาจากหลายสถาบัน และจดทะเบียนหน่วยงานอยู่ในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม อันดับของ uniRank จะอาศัยการรวบรวมข้อมูลตัววัดเว็บ (web metrics) 5 ฐานข้อมูลได้แก่ 1. Moz Domain Authority 2. Alexa Global Rank 3. SimilarWeb Global Rank 4. Majestic Referring Domains 5. Majestic Trust Flow โดยการจัดอันดับประจำปี ค.ศ. 2019 มหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ในอันดับที่ 13 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 1,413 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลก [50]
การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance
แก้อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2558 มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 16 ของประเทศไทย และอันดับ 1767 ของโลก ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม B โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง[51]
การจัดอันดับโดย Nature Index
แก้จัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group โดยล่าสุดปี พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยมหาสารคามอยู่ในอันดับ 13 ของประเทศไทยในด้านคะแนนรวม[52] แบ่งเป็นด้านเคมี อันดับที่ 14[53] ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต อันดับที่ 8[54] และด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ อันดับที่ 10[55]
การรับบุคคลเข้าศึกษาต่อ
แก้ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
แก้หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต และประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง เป็นหลักสูตรที่มุ่งพัฒนานักวิชาการและนักวิชาชีพ ให้มีความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนางานในสาขาวิชาชีพ นั้น ๆ การศึกษาระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตจะต้องศึกษากระบวนวิชาระดับบัณฑิตศึกษา มีหน่วยกิตรวม ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต โดยเป็นกระบวนวิชาในระดับบัณฑิตศึกษา ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต โดยหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต สามารถสมัครได้โดยตรงที่คณะวิชาที่เปิดรับได้เลย
ระดับปริญญาตรี
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดวิธีการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีในระบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ [56]
- ผู้ที่จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าจะสมัครเพื่อเข้ารับการสอบคัดเลือกผ่านระบบแอดมิสชันส์ โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
- ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป การคัดเลือกจะทำ 5 รอบ ตามระบบและเกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS [56]: 24 การรับสมัครและการคัดเลือกแต่ละรอบตามระบบ TCAS จะเป็นไปตามปฏิทินการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีประจำปีของมหาวิทยาลัย และรายละเอีนดของเกณฑ์พื้นฐาน ดังเช่น เอกสารแผ่นพับการรับสมัครประจำปีการศึกษา 2561 [57]
- มหาวิทยาลัยมหาสารคามจัดสอบคัดเลือกหรือรับเข้าโดยตรง ตามโครงการต่าง ๆ ดังนี้ [56]: 38–45 ตามเอกสารที่มหาวิทยาลัยประกาศให้ทราบล่วงหน้าเป็นรายปี [57]
|
|
- มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ผ่านทางเว็บไซต์ของผ่ายวิชาการ [58]
ระดับปริญญาโท
แก้การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [59]
- ผู้สมัครต้องสำเร็จปริญญาตรี หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
- ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75.00 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 2.50, หรือ
- มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 3 ปี และมีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [60]
- กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
- มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาโท ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
ระดับปริญญาเอก
แก้การรับเข้าศึกษาในระดับปริญญาเอก มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ [59]: 5
- ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท หรือกำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย และมีคุณสมบัติขั้นต้น ดังนี้
- ผลการศึกษาหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 81.25 หรือแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25, หรือ
- มีคุณสมบัติพิเศษตามที่แต่ละหลักสูตรกำหนด [60] โดยพิจารณาผลการสอบข้อเชียนและผลงานวิชาการอื่นประกอบ
- กรณีสมัครเรียนหลักสูตรแผน ก แบบ ก.1 หรือ แบบ ก.2 (ตามมาคฐานบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย) ผู้สมัครต้องจัดเตรียมเอกสารเค้าโครงวิจัย ที่สอดคล้องกับทิศทางของสาขาวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการสอบสัมภาษณ์
- มาตรฐานหนึ่งของบัณฑิตศึกษาสำหรับหลักสูตรปริญญาเอก ที่กำหนดการทำวิทยานิพนธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
- แผน ก แบบ ก.1 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
- แผน ก แบบ ก.2 วิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
พื้นที่มหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีจำนวนพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 3,592 ไร่[4] ประกอบด้วยเขตพื้นที่การศึกษา 2 เขตและเขตพื้นที่วิจัยและปฏิบัติการ 2 เขต ได้แก่
เขตพื้นที่ในเมือง หรือ ม.เก่า
แก้เขตพื้นที่ในเมือง ตั้งอยู่เลขที่ 269 หมู่ 2 ตำบลตลาด อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ระยะห่างจากเขตพื้นที่ขามเรียงประมาณ 10 กิโลเมตร มีพื้นที่รวมทั้งหมด 368 ไร่[4] โดยเป็นพื้นที่เดิมของมหาวิทยาลัย ในช่วงตั้งแต่เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม และรวมพื้นที่ของวิทยาลัยศรีอีสาน (คณาสวัสดิ์อุทิศ) ที่ปิดกิจการไปแล้ว เดิมเป็นที่ตั้งของคณะศึกษาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และคณะการบัญชีและการจัดการ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งหน่วยงานและสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่
คณะวิชา
แก้- คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- คณะการบัญชีและการจัดการ
- คณะแพทยศาสตร์
- คณะศึกษาศาสตร์
- คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ (เฉพาะภาควิชาวัฒนธรรมและการออกแบบ)
- คณะสัตวแพทยศาสตร์
สถานที่สำคัญ
แก้-
อาคารคณะแพทยศาสตร์ -
อาคารเรียนคณะศึกษาศาสตร์ -
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 -
อาคารคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม)
- โรงพยาบาลสุทธาเวช
- โรงอาหารกลาง เขตพื้นที่ในเมือง
- สถาบันขงจื้อ
- สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน
- โครงการอนุรักษ์ใบลานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ศูนย์บริการแพทย์แผนไทยประยุกต์
- หอพักมอเก่า (11 หอ)
- ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ
หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฯ หรือ ศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558[61] ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง มีลักษณะเป็นหอประชุมอเนกประสงค์ สามารถรองรับกิจกรรมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร และกิจกรรมทางด้านวิชาการ กิจกรรมการประชุม การอบรมสัมมนา การจัดนิทรรศการ ทั้งภายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ ชุมชน และเอกชนอื่น ๆ ภายในอาคารประกอบด้วย ห้องโถงอเนกประสงค์ขนาดความจุ 5,000 คน ห้องประชุมย่อยความจุห้องละ 80 คน จำนวน 2 ห้อง และห้องประชุมย่อยความจุห้องละ 60 คน จำนวน 8 ห้อง พร้อมพื้นที่บริการและพื้นที่สนับสนุนต่าง ๆ
เขตพื้นที่ขามเรียง หรือ ม.ใหม่
แก้เขตพื้นที่ขามเรียง ตั้งอยู่เลขที่ 41 หมู่ 20 ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม เป็นพื้นที่ใหม่ที่ขยายเพื่อรองรับการเติบโตของมหาวิทยาลัย มีพื้นที่ทั้งหมด 1,300 ไร่[4] เริ่มแรกนั้นมีเพียงอาคารราชนครินทร์เป็นอาคารเรียนแรก ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางบริหารงานมหาวิทยาลัย หน่วยงานและสถานที่ต่าง ๆ ได้แก่
คณะวิชา
แก้สถานที่สำคัญ
แก้-
สนามฟ้า สนามกีฬามหาวิทยาลัยมหาสารคาม -
อาคารราชนครินทร์ (RN) -
อาคารบริหารธุรกิจสิรินธร -
อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
|
|
ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร
เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 โดยผู้ที่ริเริ่มจุดประกายแนวคิดและเป็นกำลังสำคัญผลักดัน คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ฉวีลักษณ์ บุณยะกาญจน[62] ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสำนักหอสมุดในขณะนั้นท่านได้มองเห็นคุณค่าและตระหนักถึงความสำคัญของสารสนเทศท้องถิ่น จึงเกิดแนวคิดริเริ่มจัดตั้ง “ศูนย์เอกสารอีสาน” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางบริการสารสนเทศที่เกี่ยวกับภูมิภาคอีสาน โดยในระยะเริ่มแรกมีผู้มาขอใช้บริการสารสนเทศอีสานที่สำนักวิทยบริการ (เดิมเรียกว่า หอสมุด) ทั้งจากกลุ่มคณะทำงานตามโครงการพัฒนาทุ่งกุลาร้องไห้ กลุ่มนักวิจัยคณะทำงานการพลังงานแห่งชาติ และกลุ่มนักวิจัยอื่น ๆ ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับภูมิภาคอีสานอยู่ในขณะนั้น มักจะติดต่อสอบถามและโทรศัพท์มาถามถึงข้อมูลเกี่ยวกับภาคอีสานอยู่เสมอ คำถามเหล่านี้เมื่อมีจำนวนมากขึ้นทางสำนักวิทยบริการจึงได้เก็บรวบรวมไว้ พร้อมทั้งค้นหาข้อมูลคำตอบจนมีจำนวนข้อมูลอีสานเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เป็นศูนย์กลางบริการสารสนเทศที่เกี่ยวกับอีสาน ต่อมาในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2536 ได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามให้ว่า “ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร” และในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2538 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร อย่างเป็นทางการ
อาคารบรมราชกุมารี
เมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2539 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้มีการก่อสร้างอาคารบรมราชกุมารี ในเขตพื้นที่ตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย ขึ้น สร้างแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม 2541 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จวางศิลาฤกษ์ ในวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และทรงเป็นองค์ประธานเปิดอาคารบรมราชกุมารี ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2542 พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “อาคารบรมราชกุมารี”[63] โดยอาคารบรมราชกุมารี เป็นอาคารก่อสร้างแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชั้น หลังคาทรงไทย มีพื้นที่ใช้สอย 6,000 ตารางเมตร มีจำนวนห้องทั้งสิ้น 40 ห้อง บรรจุบุคลากรเข้าปฏิบัติงานภายในอาคารได้กว่า 200 คน และลองรับบุคคลเข้าติดต่อประสานงานในตัวอาคารเฉลี่ยวันละ 400 คน
อาคารบรมราชกุมารี มีความสำคัญโดยเป็นที่ตั้งสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทั้งยังเป็นศูนย์กลางในการประชุมสำคัญ ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นสถานที่ต้อนรับบุคคลสำคัญและผู้มาเยือนทั่วโลก เป็นอาคารที่นิสิตและบุคลากรมหาวิทยาลัยทุกคนได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อติดต่อประสานงานทางราชการ ถือเป็นหนึ่งในอาคารที่สวยงามที่สุดในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นแลนมาร์คมหาวิทยาลัยในเขตพื้นที่ขามเรียงเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมเพื่อให้ทั้งบุคลากรและนิสิตได้มีส่วนร่วมเกิดความสัมพันธ์อันดีในมหาวิทยาลัย อาทิ งานประเพณีฮีต 12 คลอง 14 วันสถาปณามหาวิทยาลัย และงานพิธีต่าง ๆ ตามโอกาสที่มหาวิทยาลัยกำหนดขึ้น “ตึกบรม”, “อาคารบรม”, “ตึกอธิการ” เป็นคำเรียกที่คุ้นเคยติดปากของนิสิต และบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ปัจจุบันอาคารบรมราชกุมารีใช้เป็นที่ทำการของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานอธิการบดี ประกอบด้วย
ชั้นล่าง - กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ กลุ่มงานสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยมหาสารคาม - สำนักหน่วยตรวจสอบภายใน
ชั้น 1 - กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ - กองกลาง (งานสารบรรณ) - กองคลังและพัสดุ กลุ่มงานการเงินและบริหารงบประมาณ กลุ่มงานจัดหารายได้และผลประโยชน์
ชั้น 2 - กองประชาสัมพันธ์และกิจการต่างประเทศ กลุ่มงานกิจการต่างประเทศ - กองคลังและพัสดุ งานบริหารงานทั่วไป กลุ่มงานบริหารงานพัสดุ กลุ่มงานบัญชี
ชั้น 3 - กองการเจ้าหน้าที่ - กองแผนงาน
ชั้น 4 - สำนักงานอธิการบดี (งานบริหารงานทั่วไป) - กองกลาง กลุ่มงานบริหารงานทั่วไป กลุ่มงานพิธีการและกิจการพิเศษ กลุ่มงานการประชุม งานเลขานุการ อธิการบดี และห้องประชุม
เขตพื้นที่ปฏิบัติการนาสีนวล
แก้ตั้งอยู่ที่ตำบลนาสีนวล อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ห่างจากเขตพื้นที่ขามเรียงประมาณ 16 กิโลเมตร เดิมพื้นที่นี้เป็นโครงการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรกรรมเฉลิมพระเกียรติ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นฟาร์มมหาวิทยาลัย[64] และในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการสร้างอาคารปฏิบัติการและโรงพยาบาลสัตว์ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์[65] ปัจจุบันเขตพื้นที่นาสีนวลเป็นพื้นที่ให้ปฏิบัติงานในด้านการเรียนรู้การสอนของคณะสัตวแพทยศาสตร์ และคณะเทคโนโลยี มีสถานที่ ได้แก่
- อาคารปฏิบัติการและโรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์[66]
- อาคารเรียนรู้การเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยี[67]
- ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสัตวแพทยศาสตร์[68]
เขตพื้นที่ปฏิบัติการสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช
แก้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของสถาบันวิจัยวลัยรุกขเวช มี 2 ที่คือ พื้นที่ปฏิบัติการตั้งอยู่ที่บ้านเกิ้ง ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ 273 ไร่ และพื้นที่ปฏิบัติการ ณ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม มีเนื้อที่ 650 ไร่
ชีวิตในมหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่ใช้คำว่า "นิสิต" เรียกผู้เข้าศึกษา โดยคำว่า "นิสิต" มีความหมายว่า "ผู้อยู่อาศัย" คำว่า "นิสิต" ได้เริ่มใช้ครั้งแรกในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากที่ตั้งของมหาวิทยาลัยถือว่าอยู่นอกเมือง การคมนาคมเพื่อมาศึกษาเป็นการยากลำบาก ดังนั้น ผู้ที่มาเรียนส่วนใหญ่จำเป็นต้องพักภายในหอพักของมหาวิทยาลัย และเรียกบุคคลที่อาศัยในห้องปฏิบัติการว่านิสิตเช่นเดียวกันด้วย ซึ่งในภายหลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,มหาวิทยาลัยนเรศวร, มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยพะเยา ได้เปิดอยู่นอกเมือง และผู้ที่มาศึกษาก็จำเป็นต้องอยู่หอพักเช่นเดียวกัน จึงได้ใช้คำว่า "นิสิต" เช่นเดียวกัน ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าผู้ที่มาเรียนจะไม่ได้พักในหอพักเหมือนในสมัยก่อนแล้วก็ตาม แต่ก็ยังนิยมเรียกว่านิสิตอยู่[69]
กิจกรรม
แก้การเรียนในมหาวิทยาลัยมหาสารคามนั้นจะใช้เวลาในการเรียนต่างกันตามแต่ละหลักสูตรในแต่ละคณะ โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้เวลาในการเรียน 4 ปี แต่สำหรับคณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี ส่วนคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 5 ปี[70] นอกจากนี้ก็ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้นิสิตได้เข้าร่วมเพื่อที่จะได้พบปะและทำความรู้จักนิสิตในคณะอื่น ซึ่งมีการจัดหมุนเวียนกันตลอดทั้งปี
กิจกรรมนิสิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้นิสิตได้ทำระหว่างการศึกษาเพื่อเสริมทักษะการอยู่ร่วมในสังคม ไม่ว่าจะเป็น ชมรม ชุมนุม กิจกรรมสาขา งานกีฬาต่าง ๆ วงดนตรี กานแสดงศิลปนาฏศิลป์พื้นเมือง โดยแบ่งออกเป็น กิจกรรมส่วนกลางซึ่งจัดโดย องค์การนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ดำเนินโครงการ และยังมีกิจกรรมส่วนของคณะซึ่งจัดโดยสโมสรนิสิตแต่ละคณะทั้งหมด 17 คณะ 2 วิทยาลัย และยังมีกิจกรรมเลือกเสรีหรือชมรมต่าง ๆ อีกมากมาย
กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญน้องใหม่
กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญน้องใหม่[71] จัดขึ้น ณ ลานอัฐศิลป์ (ลานแปดเหลี่ยม) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผูกข้อมือสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งเพื่อให้นิสิตใหม่เรียนรู้วัฒนธรรมการบายศรีสู่ขวัญและสืบสานวัฒนธรรมอันดีงาม และเพื่อเป็นการต้อนรับนิสิตใหม่เข้าศึกษาต่อในรั้วมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนิสิตเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 10,000 คน จากทั้ง 17 คณะ 2 วิทยาลัย นับเป็นกิจกรรมที่มีมาอย่างยาวนาน
ประเพณีประชุมเชียร์
ประเพณีประชุมเชียร์[72] เป็นกิจกรรมที่มุ้งเน้นการถ่ายทอดความสัมพันธ์ของนิสิตรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง ที่ส่งผลให้เกิดความสามัคคี มีระเบียบวินัย มีความภาคภูมิใจในสถาบัน และมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันฉันพี่น้อง โดยมีการจัดกิจกรรมลักษณะสร้างสรรค์ อบอุ่น ประทับใจ เสริมสร้างการพัฒนานิสิต เพื่อถ่ายทอดความเป็นสถาบันผ่านบทเพลง สร้างความภาคภูมิใจในสถาบันรวมทั้งสร้างขวัญและกำลังใจให้กับนิสิตใหม่ ตลอดจนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างรุ่นพี่กับรุ่นน้องและนิสิตใหม่ภายในรุ่น อีกทั้งเพื่อให้นิสิตใหม่ได้เรียนรู้ความเป็นอีสาน และเพื่อให้นิสิตใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพมหาวิทยาลัยได้ง่าย เป็นการปลูกจิตสำนึกให้รัก ศรัทธา ในสถาบัน เพื่อสืบสานตำนานเชียร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามให้คงอยู่สืบไป โดยกิจกรรมนี้ได้แบ่งโซนบริหารจัดการออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
- หนองภูเลยธานี (หนองคาย-หนองบัวลำภู-เลย-อุดรธานี)
- มุกสกลกาฬนคร (มุกดาหาร - สกลนคร - บึงกาฬ - นครพนม)
- ร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด - ขอนแก่น - มหาสารคาม - กาฬสินธุ์)
- นครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา-ชัยภูมิ-บุรีรัมย์-สุรินทร์)
- ศรีโสธรเจริญราชธานี (ศรีสะเกษ-ยโสธร-อำนาจเจริญ-อุบลราชธานี)
กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์และอาสาสมัคร
การออกค่ายอาสาสมัครของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีหลายองค์การ เช่น ชมรมอาสาพัฒนา เป็นต้น ทั้งนี้นิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่จะได้รับการเสนอชื่อการเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร จะต้องเป็นนิสิตที่ทำกิจกรรมในด้านต่าง ๆ เป็นการพัฒนานิสิตในด้าน จริยธรรมและคุณธรรม วิชาการและทักษะวิชาชีพ สุขภาพ โดยเป็นการพัฒนาตนเองและเป็นการทำประโยชน์แก่สังคมอีกด้วย
งานเทางามสัมพันธ์
แก้กิจกรรมเทางามสัมพันธ์ เกิดขึ้นหลังจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒวิทยาเขตต่าง ๆ ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ ซึ่งประกอบด้วย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยทักษิณ แม้ว่าวิทยาเขตต่าง ๆ จะได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศ แต่ด้วยความตระหนักถึงความผูกพันทั้ง 5 มหาวิทยาลัย จึงมีปณิธานที่จะร่วมมือกันในภารกิจอันควรแก่มหาวิทยาลัย ดังนั้นจึงได้ร่วมมือกันจัดงานเทา-งามสัมพันธ์ ขึ้น โดยใช้สี “เทา” ซึ่งเป็นสีประจำโดยรวมของทุกวิทยาเขตเป็นพื้นฐาน และเพิ่มคำว่า “งาม” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายและมีคุณค่ายิ่ง มีความหมายรวมเป็น “เทา-งามสัมพันธ์” ในปี 2538 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตสงขลา หรือมหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นเจ้าภาพโดยมีรูปแบบกิจกรรมที่เน้นด้านกีฬาและด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก
พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
แก้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในกิจการของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ณ อาคารศูนย์ประชุมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงเดือนธันวาคมเป็นประจำทุกปี
ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่ง ไว้เป็นชุดพิธีการสำหรับสำหรับใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ดังนี้
- ครุยวิทยฐานะ
- ครุยดุษฎีบัณฑิต[73] ทำด้วยผ้าหรือแพรสีดำเย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณหลังจีบตัวเสื้อผ่าอกตลอดมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทากว้าง 10 ซม. ขลิบริมด้วยผ้าสีเหลืองกว้าง 1.5 ซม. เย็บติดเป็นสาบตามสีประจำมหาวิทยาลัยตลอดด้านหน้าทั้งสองข้าง แขนเสื้อปลายบานยาวระดับข้อมือ ตอนกลางแขนเสื้อทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทากว้าง 7 ซม. ยาว 42 ซม. ขลิบริมด้วยผ้าสีเหลืองกว้าง 0.5 ซม. ปลายแถบทั้งสองข้างเป็นมุมแหลมจำนวน 3 แถบ ติดเรียงกันตามขวางระยะห่างกัน 3.5 ซม. ตัวเสื้อประดับด้วยเข็มวิทยฐานะจำนวน 2 อันในระดับหน้าอกกึ่งกลางของแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทาด้านหน้าทั้งสองข้าง มีผ้าคล้องคอด้านในทำด้วยผ้าต่วนหรือแพรสีเหลือง มีแถบทำด้วยผ้าต่วนหรือแพรสีเทา กว้าง 8 ซม. ทาบจากขอบมุมด้านล่างเป็นแนวยาวรอบ และมีแพรสีเหลืองกว้าง 1.5 ซม. ขลิบริมขอบล่าง
- ครุยมหาบัณฑิต[73] เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่ตอนกลางแขนมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทาจำนวน 2 แถบติดเรียงกันตามขวางระยะห่างกัน 3.5 ซม.
- ครุยบัณฑิต[73] เช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต แต่ตอนกลางแขนมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทาจำนวนหนึ่งแถบติดตามขวาง
- เข็มวิทยฐานะ[73] เข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยมหาสารคามมีลักษณะเป็นรูปตรามหาวิทยาลัยซึ่งเรียกว่า "โรจนากร" ขนาดกว้าง 3.5 ซม. ยาว 4.5 ซม. ทำด้วยโลหะสีทอง มีองค์ประกอบเป็นรูปใบเสมาตรงกลางมีรูปสัญลักษณ์ขององค์พระธาตุนาดูนประดิษฐานอยู่เหนือสุริยะรังสี ด้านล่างเป็นลายขิดอีสาน มีคำขวัญเป็นภาษาบาลีว่า "พหูนํ ปณฺฑิโต ชีเว" หมายถึง "ผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน"
- ครุยประจำตำแหน่ง
- นายกสภามหาวิทยาลัย[74] ครุยทำด้วยผ้าหรือแพรสีเทาเข้ม เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ หลังจีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเหลืองกว้าง 10 ซม. ขลิบริมด้วยผ้าสีดำกว้าง 0.5 ซม. เย็บติดเป็นสาบตลอดด้านหน้าทั้งสองข้าง แขนเสื้อปลายบานยาวระดับข้อมือ ตอนกลางแขนเสื้อทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเหลืองกว้าง 4.5 ซม. ยาว 42 ซม. ปลายแขนทั้งสองข้างเป็นมุมแหลมจำนวน 4 แถบติดเรียงกันตามขวางระยะห่าง 3.5 ซม. ตัวเสื้อประดับด้วยสายสร้อยทำด้วยโลหะสีทอง มีผ้าคล้องคอด้านในมีลักษณะเช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต ด้านนอกมีพื้นเป็นผ้าต่วนหรือแพรสีเทา มีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเหลืองกว้าง 1.5 ซม. ขลิบริมขอบล่าง
- กรรมการสภามหาวิทยาลัย[74] เช่นเดียวกับนายกสภามหาวิทยาลัย แต่ตัวเสื้อไม่มีสายสร้อยประดับ
- อธิการบดี[74] เช่นเดียวกับนายกสภามหาวิทยาลัย แต่ตัวเสื้อประดับด้วยสายสร้อยทำด้วยโลหะสีเงิน
- คณาจารย์[74] ครุยทำด้วยผ้าหรือแพรสีเทาเข้ม เย็บเป็นเสื้อคลุมยาวเหนือข้อเท้าพอประมาณ หลังจีบ ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทาเข้มกว้าง 10 ซม. ขลิบริมด้วยผ้าสีเหลืองกว้าง 0.5 ซม. เย็บติดเป็นสาบตลอดด้านหน้าทั้งสองข้าง แขนเสื้อปลายบานยาวระดับข้อมือ ตอนกลางแขนเสื้อทั้งสองข้างมีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเหลืองกว้าง 4.5 ซม. ยาว 42 ซม. ปลายแถบทั้งสองข้างเป็นมุมแหลมจำนวน 3 แถบติดเรียงกันตามขวางระยะห่าง 3.5 ซม. ตัวเสื้อประดับด้วยเข็มวิทยฐานะจำนวน 2 อันในระดับหน้าอกกึ่งกลางของแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเทาเข้มด้านหน้าทั้งสองข้าง มีผ้าคล้องคอด้านในมีลักษณะเช่นเดียวกับครุยดุษฎีบัณฑิต ด้านนอกมีพื้นเป็นผ้าต่วนหรือแพรสีเทา มีแถบกำมะหยี่หรือสักหลาดสีเหลืองกว้าง 1.5 ซม. ขลิบริมขอบล่าง
การนับรุ่น
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เริ่มนับรุ่นส่วนกลางครั้งแรกในปี 2517 ครั้งเมื่อยังเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม คณะศึกษาศาสตร์ เริ่มนับรุ่นส่วนคณะของตนเองตั้งแต่ปี 2511 สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ส่วนคณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เริ่มนับรุ่นของตนรุ่นแรกในช่วงการต่อตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย
รุ่นเสือดาว เป็นรุ่นที่ถูกก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 สัญลักษณ์คือ เสือดาว ซึ่งลักษณะเด่นของเสือดาวนั้น คือ ความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว ว่องไว ตื่นตัวอยู่เสมอ ในทุก ๆ ด้าน
รุ่นจามรี เป็นรุ่นที่ถูกตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของควายป่า ซึ่งลักษณะเด่นของจามรีคือ เป็นสัตว์ที่รักขน รักความสะอาดเป็นชีวิตจิตใจ รุ่นนี้มีลักษณเด่น คือ เรียบร้อยและแข็งแกร่ง จึงใช้จามรีเป็นสัญลักษณ์เพื่อให้รักษาความสะอาดเหมือนจามรีรักขน
รุ่นภุมริน ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของผึ้ง มีลักษณะเด่นคือ มีคามสามัคคีเหมือนผึ้งที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รักที่จะทำงานเพื่อส่วนรวมเป็นหลัก
รุ่นมฤคมาศ ก่อตั้งรุ่นขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นสัญลักษณ์ของกวางทอง ลักษณะเด่นของกวางทอง คือ กวางทองเป็นสัตว์ที่ดูแลรักษาความสะอาดของตัวเองเสมอ อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม คอยช่วยเหลือกันและกัน ระวังภัยให้กันและกัน จึงเป็นสัตว์ที่มีความสะอาดเป็นเลิศ และมีความหยิ่งทะนงในความสง่างามของตัวเอง
การนับรุ่นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จะผลัดเปลี่ยนรุ่นกันทุก ๆ 4 ปี โดยไล่ตามลำดับ เสือดาว จามรี ภุมริน มฤคมาศ เมื่อครบแล้วจึงย้อนกลับมารุ่นเสือดาวตามเดิม นับแบบนี้มาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน[75]
หอพักนิสิต
แก้หอพักนิสิต มีทั้งหมด 21 หอพัก แบ่งได้เป็น
หอพักนิสิตในเมือง มีทั้งหมด 11 หอ ได้แก่ หอพักราชพฤกษ์ หอพักชัยพฤกษ์ หอพักปฐมเวศน์ หอพักการเวก หอพักการะเกด หอพักชวนชม หอพักพุทธรักษา หอพักชงโค หอพักอินทนิล หอพักเบญจมาศ และหอพักปาริชาติ[76]
หอพักนิสิตขามเรียง มีทั้งหมด 10 หอ โดยหอพักนิสิตในเขตพื้นที่ขามเรียงจะตั้งชื่อตามอำเภอในจังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ หอพักกันทรวิชัย หอพักวาปีปทุม หอพักกุดรัง หอพักยางสีสุราช หอพักบรบือ หอพักเชียงยืน หอพักพยัคฆภูมิพิสัย หอพักโกสุมพิสัย หอพักนาดูน และ หอพักชื่นชม [76]
การเดินทาง
แก้การเดินทางมามหาวิทยาลัย
แก้นิสิต นักเรียน บุคลากร และบุคคลทั่วไปสามารถเดินทางมามหาวิทยาลัยได้ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว และรถโดยสารประจำทาง โดยรถโดยสารประจำทางที่มีให้บริการในจังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน คือ รถสองแถว ในราคา 8 บาท (ถ้าหลัง 20.00 น. ราคา 10 บาท) แบ่งออกเป็นสายเส้นทาง ดังนี้
- สายสีน้ำเงินและสีฟ้า เส้นทางสายนี้จะผ่านสถานที่สำคัญ คือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดมหาสารคาม โรงเรียนผดุงนารี ที่การอำเภอเมืองมหาสารคาม โรงเรียนอนุบาลมหาสารคาม วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม เขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) คือ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เข้าเขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) โดยจะผ่านตำบลท่าขอนยาง ทางหลวงหมายเลข 2202 ผ่านพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ สวนสุขภาพ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง อาคารบรมราชกุมารี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคารราชนครินทร์ เข้าถนนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผ่านอาคารพลศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ อาคารบริการกลาง (พลาซ่า) หอใน ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตลาดน้อย อาคารปฏิบัติการกลางวิทยาศาสตร์ และสิ้นสุดที่คณะเทคโนโลยี เส้นทางสายนี้บางคันอาจจะสิ้นสุดที่ตำบลขามเรียง
- สายสีเหลือง เส้นทางสายนี้จะผ่านสถานที่สำคัญ คือ เขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) คือ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายประถม) หอใน ม.เก่า โรงอาหารกลาง คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสุทธาเวช ศูนย์บริการทางการแพทย์ ภาควิชาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ เสริมไทยคอมเพล็กซ์ มาลินพลาซ่า มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม ไทวัสดุ แม็คโคร บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เข้าเขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) โดยจะผ่านตำบลท่าขอนยาง ทางหลวงหมายเลข 2202 ผ่านพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ สวนสุขภาพ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง อาคารบรมราชกุมารี โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาคารราชนครินทร์ เข้าถนนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผ่านอาคารพลศึกษา คณะการบัญชีและการจัดการ อาคารบริการกลาง (พลาซ่า) ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม หอใน ตลาดน้อย อาคารปฏิบัติการกลางวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยี และสิ้นสุดที่ซอยลาวัลย์
การเดินทางภายในมหาวิทยาลัย
แก้มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้จัดรถบริการแก่นิสิต นักเรียน บุคลากร และบุคคลทั่วไป เพื่อให้ได้เดินทางไปยังคณะหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างทั่วถึง โดยมีรถรางไฟฟ้าที่ผ่านหน่วยงานสถานที่ที่สำคัญในเขตพื้นที่ขามเรียง (ม.ใหม่) ผู้ใช้บริการสามารถขึ้นลงได้ตามจุดจอดรถเท่านั้น โดยมีป้ายจุดจอดรถต่าง ๆ ดังนี้ จุดพักรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า จุดจอดรถหลังพลาซ่า จุดจอดรถหอชื่นชม จุดจอดรถหน้าตึกคณะการบัญชีฯ จุดจอดรถหน้าเซเว่น ข้างอาคารบริการนิสิต จุดจอดหน้าคณะวิทยาศาสตร์ (เยื้องตึกวิทยาศาสตร์) จุดจอดหน้าคณะวิทยาศาสตร์ (ป้ายรถเมล์) จุดจอดหน้าคณะสถาปัตยกรรมฯ จุดจอดรถคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ จุดจอดรถหน้าป้ายคณะการบัญชีฯ จุดจอดริมคลองป้ายรถเมล์ตรงข้ามคณะการบัญชี จุดจอดรถหน้าอาคารราชครินทร์ (คณะนิติศาสตร์) จุดจอดรถหน้าคณะมนุษยศาสตร์ฯ จุดจอดรถวิทยาลัยการเมืองการปกครอง จุดจอดรถคณะเภสัชศาสตร์ จุดจอดรถคณะสิ่งแวดล้อมฯ จุดจอดรถคณะพยาบาลศาสตร์ จุดจอดรถคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุดจอดรถคณะสาธารณสุขศาสตร์ จุดจอดสะพานคณะเทคโนโลยี จุดจอดหน้าหอพักกันทรวิชัย-ตลาดน้อย จุดจอดหน้าอาคารพลาซ่า และจะกลับมาสิ้นสุดที่จุดพักรถโดยสารพลังงานไฟฟ้า[77] ปัจจุบันยังไม่มีรถขนส่งบริการในเขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) และเขตพื้นที่นาสีนวล ส่วนในเขตพื้นที่ในเมือง (ม.เก่า) สามารถเลือกใช้บริการรถสองแถวได้
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยมหาสารคามตั้งแต่สมัยวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม สมัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม จนกระทั่งถึงสมัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีหลากหลายตั้งแต่บุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครอง นักวิชาการ ศิลปิน ข้าราชการและคณาจารย์ เช่น
-
สุดารัตน์ บุตรพรม หรือตุ๊กกี้ ชิงร้อย
- ลิขิต บุตรพรม นักแสดง/นายแบบ ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์[78]
- สุดารัตน์ บุตรพรม นักแสดง/ดาราตลก ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์[79]
- อาณัตพล ศิริชุมแสง นักแสดง/เดอะ สตาร์ 3 ศิษย์เก่าคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม[80]
- ชิงชัย มงคลธรรม หัวหน้าพรรคความหวังใหม่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์[81]
- นิสิต สินธุไพร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด พรรคเพื่อไทย ศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์[82]
- มนตรี อุดมพงษ์ นักข่าว ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- สุทิน คลังแสง นักการเมือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดมหาสารคาม ศิษย์เก่าคณะศึกษาศาสตร์
- ธนาธิป ศรีทองสุก นักร้อง/นักแสดง (สมาชิกวงElement) ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ระเบียงภาพมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
แก้-
ป้ายมหาวิทยาลัยมหาสารคาม -
โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ -
อาคารศูนย์กีฬาและนันทนาการ -
อาคารปฏิบัติการกลางทางวิทยาศาสตร์ -
สนามฟ้า สนามกีฬามหาวิทยาลัยมหาสารคาม -
ศูนย์บริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ เขตพื้นที่ขามเรียง -
อาคารบริหารธุรกิจสิรินธร -
อาคารวิทยาศาสตร์ชีวภาพ -
อาคารคณะแพทยศาสตร์ ด้านข้าง -
อาคารคณะแพทยศาสตร์ -
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 -
อาคารโรงพยาบาลสุทธาเวช -
โดม 50 ปีคณะศึกษาศาสตร์ -
อาคารคณะการบัญชีฯ ม.เก่า -
อาคารแพทย์แผนไทยประยุกต์ -
อาคารสถาบันวิจัยศิลปและวัฒนธรรมอีสาน -
อาคารคณะวัฒนธรรมศาสตร์ -
อาคารคณะศึกษาศาสตร์ -
อาคารคณะศึกษาศาสตร์ 2 -
อาคารวิทยพัฒนา -
อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ -
อาคารคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ -
อาคารคณะวิทยาการสารสนเทศ -
โรงอาหารคณะแพทยศาสตร์ -
อาคารคณะเภสัชศาสตร์ -
อาคารคณะเภสัชศาสตร์ -
อาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ -
อาคารราชนครินทร์ (RN) -
อาคารคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม -
อาคารคณะสัตวแพทยศาสตร์และโรงพยาบาลสัตว์นาสีนวน -
สถาบันขงจื้อ -
ลานคณะศึกษาศาสตร์
เชิงอรรถ
แก้- ↑ สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน เป็นสถาบันที่ทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและการศึกษาให้กับคณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
- ↑ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา เป็นหน่วยงานสนับสนุนการศึกษาด้านบรรพชีวินวิทยาและชีววิทยาให้กับภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
- ↑ ก่อตั้งครั้งแรกในชื่อ คณะวิชาการศึกษา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะศึกษาศาสตร์ ในปี 2517
- ↑ ก่อตั้งครั้งแรกในชื่อ คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ต่อมาได้ทอนชื่อเหลือเพียง คณะวิทยาศาสตร์ ในปี 2518
- ↑ ก่อตั้งครั้งแรกในชื่อ คณะวิชามนุษยธรรมศึกษาและสังคมศาสตร์ ต่อมาในปี 2517 ได้แยกหน่วยงานเป็น คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์ ก่อนที่จะถูกควบรวมกันเป็น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในปี 2537
- ↑ หลังจากยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคามแล้ว บัณฑิตวิทยาลัยถูกลดฐานะหน่วยงานลงเป็นงานบริหารบัณฑิตศึกษา สังกัดกองบริการการศึกษา ฝ่ายวิชาการ และกลับมาเป็นบัณฑิตวิทยาลัยอีกครั้งในปี 2546
- ↑ เดิมคือภาควิชาบริหารธุรกิจ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นคณะแรกที่จัดตั้งขึ้นภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ↑ ชื่อเดิมคือ คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภายหลังได้แยกสาขาสาธารณสุขศาสตร์ไปจัดตั้งคณะใหม่ และโอนย้ายสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ไปสังกัดคณะแพทยศาสตร์ จึงตัดสร้อย "และวิทยาศาสตร์สุขภาพ"ออก เหลือเพียง คณะเภสัชศาสตร์ในปี 2548
- ↑ เดิมชื่อ คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในภายหลังได้แยกภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อรวมกับภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ และจัดตั้งเป็น คณะวิทยาการสารสนเทศ จึงตัดสร้อย "และวิทยาการคอมพิวเตอร์"ออก เหลือเพียง คณะวิศวกรรมศาสตร์ในปี 2548
- ↑ เดิมคือภาควิชาทัศนศิลป์และศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ก่อตั้งเป็นคณะในปี 2545 และได้ยุบคณะวัฒนธรรมศาสตร์เข้ากับคณะศิลปกรรมศาสตร์ในปี 2563
- ↑ เกิดจากการควบรวมภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์กับภาควิชาบรรณารักศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
- ↑ แยกสาขาสาธารณสุขศาสตร์จาก คณะเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- ↑ เดิมคือภาควิชารัฐศาสตร์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ↑ เดิมคือ คณะสัตวแพทยศาสตร์และสัตวศาสตร์ ภายหลังได้โอนสาขาวิชาสัตวศาสตร์และสาขาวิชาประมง ไปสังกัดคณะเทคโนโลยี จึงตัดสร้อย "และสัตวศาสตร์"ออก เหลือเพียง คณะสัตวแพทยศาสตร์ในปี 2555
- ↑ เดิมคือสาขาวิชาดุริยางคศศาสตร์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ↑ เดิมคือสาขาวัฒนธรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และในปี 2563 ได้ถูกยุบกลับไปรวมกับคณะศิลปกรรมศาสตร์เป็น คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์
- ↑ เดิมคือสาขาวิชานิติศาสตร์ สังกัดวิทยาลัยการเมืองการปกครอง
- ↑ 18.0 18.1 18.2 18.3 18.4 18.5 18.6 คณะดำเนินการเอง
อ้างอิง
แก้- ↑ การกำหนดรหัสตัวพยัญชนะประจำกระทรวงและเลขที่หนังสือออกของ กระทรวงการอดุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม เก็บถาวร 2021-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2564
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๒๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
- ↑ (PDF). 2562 https://meeting.msu.ac.th/meetingmsu/images/documents/doc_command/2566/คำสั่ง%20โปรดเกล้านายกสภามหาวิทยาลัย.pdf. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 "เล่มรายงานประจำปี 2563 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม". กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-20. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "จำนวนนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม". กองทะเบียนและประมวลผล. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา : พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๓๗ 26 กรกฎาคม 2564.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๓๗, มาตรา เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๕๔ ก หน้า ๑ ประกาศใช้เมื่อ ๘ ธันวาคม ๒๕๓๗. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2564.
- ↑ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. ๒๕๔๑, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๖ ก หน้า ๑ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑
- ↑ 9.0 9.1 "รายงานข้อมูลพื้นฐาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปี 2562" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "msu-plan-2562" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ จำนวนหลักสูตรในมหาวิทยาลัยมหาสารคามสืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564.
- ↑ กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ (2535). แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร. p. 139.
- ↑ สมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2554). "รวบรวมครูเทพศิรินทร์ตั้งแต่อดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ (2535). แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร. p. 137.
- ↑ 14.0 14.1 ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗, มาตรา เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ประกาศใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2517. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ บัณฑิตวิทยาลัย : https://grad.msu.ac.th/th/history.php เกี่ยวกับ บว. เก็บถาวร 2021-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2564.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (9-10), [จัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน และให้มีสำนักงานเลขานุการในสถาบันดังกล่าว], มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๙๘ ประกาศใช้เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (36), ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๓๙ ประกาศใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
- ↑ 18.00 18.01 18.02 18.03 18.04 18.05 18.06 18.07 18.08 18.09 18.10 18.11 18.12 18.13 18.14 18.15 18.16 เอื้ออารีย์ ปานพิมพ์ใหญ่ (2562). "ทำเนียบอธิการบดี". สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|archivedate=
(help) - ↑ "มมส แสดงความยินดี ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช ในโอกาสดำรงตำแหน่งเลขา สกอ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ขอแสดงความยินดีกับผู้รักษาราชการแทนอธิการบดี มมส และคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์คนใหม่". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ (%E0%B8%A3%E0%B8%A8.%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C-%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%A5).PDF "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" (PDF). สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่า|url=
(help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ความหมายตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตราโรจนากร. สืบค้นเมือ 12 มิถุนายน 2563
- ↑ ต้นคูณหรือราชพฤกษ์ ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมือ 12 มิถุนายน 2563
- ↑ สีประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมือ 12 มิถุนายน 2563
- ↑ กองทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หลักสูตรปี 2564 22 กันยายน 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน่วยงานส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา. เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 10 เมษายน 2565
- ↑ Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005)
- ↑ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2549). "สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (2554). "สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-28. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ topuniversities. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
- ↑ QS Quacquarelli Symonds Limited. “Mahasarakham University.” เว็บไซต์ QS Quacquarelli Symonds . http://www.topuniversities.com/universities/mahasarakham-university#331315 (20 มิถุนายน 2563 ที่เข้าถึง).
- ↑ QS. QS World University Rankings: Methodology. September 11, 2015. http://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/world-university-rankings/qs-world-university-rankings-methodology (accessed june 29, 2016).
- ↑ QS. QS University Rankings: Asia methodology. 13 June 2016. http://www.topuniversities.com/asia-rankings/methodology (accessed 29 June 2016).
- ↑ QS Asia Ranking 2020 สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
- ↑ QS Asia Ranking 2021 สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
- ↑ การจัดอันดับโดย THE 2021
- ↑ Admission Premium : Top 10 อันดับมหาวิทยาลัยไทย 2021 โดยข้อมูลคะแนนจาก Times Higher Education World University Rankings 2021 สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564.
- ↑ กลุ่มงานกิจการต่างประเทศ. มมส ติดอันดับโลก จาก THE World University Rankings 2022. 10 เมษายน 2565.
- ↑ Webometrics (2016). "Ranking Web of Universities". สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ http://www.webometrics.info/en/detalles/msu.ac.th สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-27. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26.
- ↑ SCImago Institutions Ranking (2012). "Scimago Institutions Ranking". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ https://www.scimagoir.com/rankings.php?sector=Higher%20educ.&country=THA&year=2011
- ↑ https://www.scimagoir.com
- ↑ https://www.scimagoir.com/rankings.php?country=THA§or=Higher%20educ.
- ↑ https://www.scimagoir.com
- ↑ https://www.scimagoir.com/rankings.php?country=THA§or=Higher%20educ.
- ↑ https://www.scimagoir.com/rankings.php?country=THA§or=Higher%20educ
- ↑ Scimago Institutions Rankings 2021 : Mahasarakham University สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564.
- ↑ https://www.4icu.org/reviews/4493.htm
- ↑ University Ranking by Academic Performance (2015). "2014-2015 RANKING BY COUNTRY". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2559.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ Nature Index Ranking : 2021 tables: Institutions - academic. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564.
- ↑ Nature Index Ranking : 2021 tables: Institutions - chemistry - academic Table criteria. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564.
- ↑ Nature Index Ranking : 2021 tables: Institutions - life sciences - academic. เก็บถาวร 2021-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564.
- ↑ Nature Index Ranking : 2021 tables: Institutions - physical sciences - academic. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2564.
- ↑ 56.0 56.1 56.2 ระเบียบการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2561 (PDF). กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 28 ธันวาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-29. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน:|publisher=
(help) - ↑ 57.0 57.1 เอกสารแผ่นพับการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2561 (PDF). กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-07-13. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help); ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน:|publisher=
(help) - ↑ เว็บไซต์ผ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ↑ 59.0 59.1 บัณฑิตวิทยาลัย (2560). การรับสมัครบุคคลเพื่อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2561 (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-24. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 60.0 60.1 บัณฑิตวิทยาลัย. รายละเuอียดและคุณสมบัตเฉพาะสาขาของผู้สมัครสอบระดับปริญญาโท (PDF). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-05. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ข้อมูล อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2563.
- ↑ ศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร. ประวัติและความเป็นมาศูนย์สารนิเทศอีสานสิรินธร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565
- ↑ สาร MSU ONLINE. เด่นตระหง่านที่ขามเรียง “อาคารบรมราชกุมารี”. 12 มิถุนายน 2565.
- ↑ "ประวัติความเป็นมาฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เก็บถาวร 2020-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563
- ↑ "ความคืบหน้าการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการและโรงพยาบาลสัตว์" เก็บถาวร 2021-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, web.msu.ac.th", สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563
- ↑ "โครงการทำบุญอาคารปฏิบัติการหน่วยปศุสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์เพื่อการเรียนการสอน คณะสัตวแพทยศาสตร์ เขตพื้นนาสีนวน" เก็บถาวร 2021-01-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563
- ↑ "คณะเทคโนโลยี ร่วมพิธีลงเสาเอก อาคารเรียนรู้การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร" เก็บถาวร 2020-08-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563
- ↑ "เกี่ยวกับเราฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม" เก็บถาวร 2020-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ฟาร์มมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2563
- ↑ สนุก (ออนไลน์), นิสิต และ นักศึกษา แตกต่างกันอย่างไร แล้วใช้กับสถาบันไหน มาหาคำตอบกัน สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, คู่มือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2564, สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564.
- ↑ บายศรีสู่ขวัญน้องใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2021-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้น 4 กันยายน 2563
- ↑ ประเพณีประชุมเชียร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2021-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2563
- ↑ 73.0 73.1 73.2 73.3 "พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม พ.ศ. 2550" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 74.0 74.1 74.2 74.3 "พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551" (PDF). กองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ blog.redlinesoft.net. เสือดาว จามรี ภุมริน มฤคมาศ. 12 พฤษภาคม 2564.
- ↑ 76.0 76.1 หอพักมหาวิทยาลัย เก็บถาวร 2020-08-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
- ↑ Mahasarakham University EV-BUS เก็บถาวร 2022-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BusStop. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
- ↑ "ประวัติลิขิต บุตรพรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-05. สืบค้นเมื่อ 2020-06-05.
- ↑ ประวัติตุกกี้ ชิงร้อย สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
- ↑ ประวัติอาณัตพล สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
- ↑ ประวัติชิงชัย สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
- ↑ ประวัตินายนิสิต สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2564.
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- MSU Digital Books เก็บถาวร 2018-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สมาคมศิษย์เก่า เก็บถาวร 2014-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- สถานีวิทยุ MSU Radio เก็บถาวร 2014-05-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- กองกิจการนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เก็บถาวร 2006-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์