ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมหลวงโยธาทิพ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
→‎พระชนม์ชีพตอนต้น: แก้ไขการสะกด
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
กรมหลวงโยธาทิพ มีพระนามเดิมว่า'''ศรีสุวรรณ'''<ref name="หาวัด"/> เป็นพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]]<ref name="หาวัด"/> และมีพระชนนีองค์เดียวกันกับ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]<ref name="กัลยาณี"/> ''[[คำให้การชาวกรุงเก่า]]'' ระบุว่าพระชนนีของสมเด็จพระนารายณ์ชื่อพระสุริยา<ref name="สุริยา">คำให้การชาวกรุงเก่า, ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 92-93</ref> ขณะที่ ''[[คำให้การขุนหลวงหาวัด]]'' ระบุพระนามว่าพระอุบลเทวี<ref name="อุบล">คำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง), ''ประชุมคำให้การกรุงศรีอยุธยา รวม 3 เรื่อง'', หน้า 339</ref> ส่วน[[หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย]] ระบุว่าพระชนนีเป็นพระราชเทวีชื่อศิริธิดา<ref name="ประวัติ">[[หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย|M.L. Manich Jumsai]] (เขียน) ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน (แปล). ''สมเด็จพระนารายณ์ และโกษาปาน''. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2531, หน้า 17</ref> ในช่วงที่สมเด็จพระนารายณ์และ[[สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา]]คิดยึดอำนาจ[[สมเด็จเจ้าฟ้าไชย]] สมเด็จพระนารายณ์ก็ทรงพาพระราชกัลยาณีหนีออกไปด้วยกัน<ref name="กัลยาณี"/> [[สมบัติ พลายน้อย]] อธิบายว่ากรมหลวงโยธาทิพน่าจะประสูติในปี พ.ศ. 2181 หย่อนพระชันษากว่าพระเชษฐา 6 ปี และมีพระชันษา 18 ปีเมื่อพระเชษฐาเสวยราชย์<ref name="กัลยาณี1"/>
 
หลังการยึดอำนาจจากสมเด็จเจ้าฟ้าไชย ในรัชกาลสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา พระเจ้าอาว์อา ทรงต้องพระทัยในรูปลักษณ์ของพระราชกัลยาณีและมีพระราชประสงค์จะเสพสังวาส พระราชกัลยาณีไหวตัวทัน ทรงบอกให้เหล่าพระสนมช่วย แล้วทรงซ่อนตัวในตู้พระสมุดแล้วให้หามไปยังพระราชวังบวรสถานมงคลที่สมเด็จพระนารายณ์ประทับอยู่ แล้วเข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ ทรงกันแสงและทูลเรื่องราวทั้งหมด เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ฟังความเช่นนั้นก็ทรงกล่าวด้วยความน้อยพระทัยว่า<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น'', หน้า 285</ref>
 
{{คำพูด|อนิจจา พระเจ้าอาเรานี้ คิดว่าสมเด็จพระบิตุราชสวรรคตแล้ว ยังแต่พระเจ้าอาก็เหมือนหนึ่งพระบรมราชบิดายังอยู่ จะได้ปกป้องพระราชวงศานุวงศ์สืบไป ควรหรือมาเป็นได้ดังนี้ พระองค์ปราศจากหิริโอตตัปปะแล้ว ไหนจะครองสมบัติเป็นยุติธรรมเล่า น่าที่จะร้อนอกสมณชีพราหมณ์อาณาประชาราษฎรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินเป็นแท้ จะละไว้มิได้ ด้วยพระองค์ก่อแล้วจำจะสานตามเถิด จะเสี่ยงเอาบารมีเป็นที่พึ่ง}}
บรรทัด 36:
หลังจากนั้นสมเด็จพระนารายณ์จึงรวมขุนนางต่อสู้ยึดอำนาจ และสามารถจับกุมสมเด็จพระศรีสุธรรมราชาได้ จึงนำไปสำเร็จโทษ ณ [[วัดโคกพระยา]]ตามโบราณราชประเพณี<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น'', หน้า 288</ref>
 
เมื่อ[[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]เสวยราชย์ พระราชกัลยาณีได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น'''กรมหลวงโยธาทิพ''' คู่กับเจ้าฟ้าสุดาวดี พระราชธิดา ที่ได้รับการสถาปนาเป็น'''[[กรมหลวงโยธาเทพ]]''' คู่กัน พระองค์คอยอุปถัมภ์ค้ำชูพระราชอนุชาทั้งสองพระองค์คือ[[เจ้าฟ้าอภัยทศ]] และ[[เจ้าฟ้าน้อย]] ทรงสามารถทูลคัดง้างคัดค้านสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในกรณีที่ทรงลงทัณฑ์เจ้าฟ้าน้อยเรื่องทำชู้กับพระสนม โดยทรงกล่าวกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราชว่า "[อย่าได้มี] พระโทสจริตโดยลงโทษเอาให้ถึงแก่ชีวิตเลย ขอเพียงให้ทรงลงทัณฑ์เสมอที่บิดาทำต่อบุตรเท่านั้นเถิด"<ref>''ออกญาวิไชเยนทร์ หรือการต่างประเทศในสมัยสมเด็จพระนารายณ์'', หน้า 225</ref>
 
===ปลายพระชนม์ ===